กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

การตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านมคืออะไร ป้องกันโรคอะไรได้บ้าง ราคา วิธีการเตรียมตัว และวิธีการดูแลตัวเองหลังการตรวจ

มะเร็งเต้านมภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้หญิงมากเป็นอันดับต้นๆ อย่านิ่งนอนใจ ขอให้หมั่นสังเกต และตรวจหาเป็นประจำ
เผยแพร่ครั้งแรก 12 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 9 พ.ย. 2023 ตรวจสอบความถูกต้อง 16 ก.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านมคืออะไร ป้องกันโรคอะไรได้บ้าง ราคา วิธีการเตรียมตัว และวิธีการดูแลตัวเองหลังการตรวจ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การตรวจอัลตราซาวด์เต้านม เป็นการตรวจหาความผิดปกติของเต้านมด้วยคลื่นเสียงที่มีความถี่สูง ควรตรวจควบคู่กับการตรวจแมมโมแกรมเพื่อเพิ่มความถูกต้องและแม่นยำ ซึ่งจะเป็นผลดีกับผู้ที่ได้รับการตรวจมากยิ่งขึ้น
  • วิธีนี้เหมาะกับเต้านมที่มีความหนาแน่นมาก หรือผู้ที่มีอายุน้อย แต่ยังไม่สามารถตรวจหาหินปูนได้เหมือนการตรวจแมมโมแกรม โดยจะเป็นการช่วยทำให้แพทย์เห็นเนื้อเยื่อบริเวณเต้านม
  • ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมปีละ 1 ครั้ง และผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ควรตรวจปีละ 2 ครั้ง แต่หากตรวจแล้วพบความผิดปกติ แพทย์จะทำการนัดตรวจเป็นประจำทุกๆ 3–6 เดือน
  • การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจอัลตราซาวด์เต้านม ไม่ต้องงดน้ำ หรืออาหารใดๆ แต่ไม่ควรทาแป้ง ครีมถนอมผิว และสเปรย์ระงับกลิ่นกายที่บริเวณเต้านม หรือรักแร้ 
  • แพทย์มักทำอัลตราซาวด์เต้านมควบคู่ไปกับตรวจแมมโมแกรม ดังนั้นราคาจึงเป็นการตรวจทั้งสองอย่าง ถ้าเป็นโรงพยาบาลเอกชนจะอยู่ที่ประมาณ 2,500 – 4,000 บาท ส่วนโรงพยาบาลรัฐบาลราคาจะอยู่ที่ประมาณ 1,500 – 2,500 บาท
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิง

นอกจากการตรวจหาโรคมะเร็งเต้านมจะสามารถตรวจได้ตนเอง ด้วยการสังเกต การคลำหาก้อนเนื้อแล้ว ยังมีการตรวจด้วยรังสี 2 ชนิด คือ การตรวจแมมโมแกรมกับอัลตร้าซาวด์ ซึ่งการตรวจด้วยรังสีในแต่ละแบบจะมีผลดีของการตรวจที่แตกต่างกันออกไป 

ทั้งนี้การตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านมนับว่า เป็นวิธีที่นิยมกันอย่างมากเพราะไม่ยุ่งยาก ไม่มีอาการเจ็บและให้ผลแม่นยำ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิงวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 บาท ลดสูงสุด 79%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านมคืออะไร?

เป็นการตรวจหาความผิดปกติของเต้านมด้วยคลื่นเสียงที่มีความถี่สูง เมื่อคลื่นเสียงกระทบกับเนื่อเยื่อต่างๆ จะสะท้อนผลกลับมาแสดงที่เครื่องตรวจ ผลที่ได้จะบอกถึงเนื้อเยื่อที่อยู่ในเต้านมนั้นว่า มีความน่าจะเป็นว่า เป็นถุงน้ำหรือเสี่ยงที่จะเป็นก้อนเนื้อหรือไม่ 

หากพบว่า เป็นถุงน้ำก็ยังไม่ถือว่าผิดปกติ แต่ถ้าพบว่าเป็นก้อนเนื้อจะต้องตรวจเพิ่มเติมอีกครั้งว่า เป็นเนื้อดี หรือเนื้อร้าย

วิธีนี้เหมาะกับเต้านมที่มีความหนาแน่นมาก หรือผู้ที่มีอายุน้อย แต่ยังไม่สามารถตรวจหาหินปูนได้เหมือนการตรวจแมมโมแกรม โดยจะเป็นการช่วยทำให้แพทย์เห็นเนื้อเยื่อบริเวณเต้านม 

อย่างไรก็ตาม ควรตรวจอัลตร้าซาวด์ควบคู่ไปกับการตรวจแมมโมแกรมเพื่อเพิ่มความถูกต้องและแม่นยำ ซึ่งจะเป็นผลดีกับผู้ที่ได้รับการตรวจมากยิ่งขึ้น

อ่านเพิ่มเติม: การตรวจเต้านมแบบแมมโมแกรมกับอัลตราซาวด์เหมาะสำหรับใคร ตรวจแบบไหนดี

อัลตราซาวด์เต้านม 1 บาท

การตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านมป้องกันโรคอะไรได้บ้าง?

การตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านมเป็นการตรวจแค่เพียงภายนอกที่ไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ ก่อนตรวจแพทย์จะทาเจลอัลตราซาวนด์หล่อลื่นไปที่บริเวณเต้านมเพื่อให้หัวตรวจสามารถเคลื่อนไปมาบนผิวหนังได้สะดวกขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

และทำให้คลื่นอัลตราซาวนด์ลงไปได้ดี เพื่อให้ได้ภาพที่เหมาะสม จากนั้นจะเลื่อนหัวตรวจเคลื่อนไปทั่วบริเวณเต้านมทั้งสองเพื่อดูความผิดปกติของเนื้อเยื่อ

ขณะอัลตร้าซาวด์เราจะรู้สึกเย็นๆ ที่บริเวณผิวเต้านมเท่านั้น ส่วนคลื่นที่ใช้ก็ยังไม่เคยพบว่า มีผลข้างเคียง หรือทำให้เจ็บปวดและก่อให้เกิดอันตรายใดๆ แต่เป็นการใช้ตรวจเพื่อดูความผิดปกติที่อาจจะก่อให้เกิดโรคเท่านั้น ทำให้สามารถใช้กับหญิงตั้งครรภ์ได้

วิธีเตรียมตัวก่อนการตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านม

วิธีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจอัลตราซาวด์ มีดังนี้

  1. ไม่ต้องอดอาหารและสามารถดื่มน้ำได้ตามปกติ
  2. ไม่ทาโลชั่น ครีมถนอมผิว แป้ง หรือครีมระงับกลิ่นกายต่างๆ ที่บริเวณรักแร้และเต้านม
  3. ผลัดเปลี่ยนใส่เสื้อผ้าตามที่สถานพยาบาลกำหนด โดยปกติจะเป็นเสื้อแบบหลวมๆ ใส่สบาย ซึ่งเอื้อต่อการตรวจเต้านมให้ง่ายขึ้น
  4. หากมีความผิดปกติใดๆ เช่น คลำพบก้อนเนื้อ หรือผ่านการเสริมหน้าอกมาก่อน ควรแจ้งแพทย์ก่อนเข้ารับการตรวจ
  5. ปัจจุบันยังไม่พบข้อจำกัดว่า หญิงตั้งครรภ์ห้ามตรวจมะเร็งเต้านมด้วยวิธีอัลตร้าซาวด์ เพียงแต่ห้ามตรวจด้วยวิธีแมมโมแกรม

วิธีการดูแลตัวเองหลังการตรวจ

การตรวจอัลตราซาวนด์เต้านมใช้เวลาในการตรวจเพียง 15 – 30 นาทีเท่านั้น หลังตรวจเสร็จเรียบร้อยสามารถกลับบ้านได้ทันที ไม่มีข้อดูแลตนเองแบบพิเศษแต่อย่างใด 

ราคาของการตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านม

เนื่องจากการตรวจอัลตร้าซาวด์นั้น แพทย์จะตรวจควบคู่ไปกับวิธีแมมโมแกรม ดังนั้นการคิดค่าบริการก็มักจะคิดรวมทั้งสองอย่าง 

สำหรับราคาตรวจแมมโมแกรมและการตรวจอัลตร้าซาวด์ หากเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลราคาจะอยู่ที่ประมาณ 1,500 – 2,500 บาท สำหรับโรงพยาบาลเอกชนราคาจะอยู่ที่ประมาณ 2,000 – 4,000 บาท

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ทั้งนี้ราคาที่กล่าวมายังคงเป็นราคาประมาณซึ่งขึ้นอยู่กับวัน เวลา สถานที่ที่ให้บริการ รวมทั้งการจัดโปรโมชั่นของแต่ละที่อีกด้วย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตรวจอัลตราซาวด์เต้านม

หากเสริมหน้าอกมา สามารถตรวจเต้านมด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ (Ultrasound) ได้หรือไม่? 
คำตอบ: 
หากลูกค้าเสริมหน้าอกมานานแล้ว และไม่มีแผล สามารถตรวจได้

การรักษาโรคมะเร็งทุกชนิดจะขึ้นอยู่กับช่วงเวลาการตรวจพบ ถ้าเป็นการตรวจพบในระยะแรกๆ จะเป็นผลดีกับผู้ป่วยอย่างมาก เพราะการรักษาในระยะนี้จะสามารถควบคุมเซลล์มะเร็งไม่ให้เจริญเติบโตและมีโอกาสหายจากโรคได้ ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะปลอดภัยและมีชีวิตรอดสูง 

ดังนั้นผู้หญิงทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปจึงควรฝึกตรวจคลำเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากถ้าพบความผิดปกติก็จะเข้ารับการตรวจทั้งวิธีอัลตร้าซาวด์และการตรวจแมมโมแกรมซึ่งดีต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว อัลตราซาวด์ช่องคลอด ตรวจภาวะมีบุตรยาก สำหรับผู้หญิง ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 | HDmall
รีวิว ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบนและส่วนล่าง ที่ รพ.พญาไท 2 | HDmall

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
อัลตราซาวด์เต้านม ทำอย่างไร?, (https://hdmall.co.th/c/breast-cancer-ultrasound).
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์เต้านม, (https://ww2.bangkokhospital.com/wattanosoth/web/th/site/all_about_cancer/view/59)
กรมสุขภาพจิต, BDMS แนะตรวจ “เต้านม” ด้วยตัวเอง คัดกรองมะเร็งเบื้องต้นได้ (https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=27795), 9 เมษายน 2561

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป