การเลื่อนประจำเดือน

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การเลื่อนประจำเดือน

บางครั้งเราอาจมีธุระบางอย่างที่ตรงกับระยะที่มีประจำเดือนทำให้ไม่สะดวกต่อหน้าที่การทำงาน นอกจากนั้นในช่วงที่มีประจำเดือนยังอาจมีอาการไม่สบายต่างๆ เช่น อ่อนเพลีย ปวดท้องน้อย เครียด หงุดหงิด เจ็บคัดเต้านม หน้าท้องบวม ท้องอืดหรือท้องเดินจนทำให้รบกวนชีวิตประจำวันหรือการทำงานในระยะนั้น เราสามารถแก้ไขได้โดยการเลื่อนประจำเดือนออกไปไม่ให้ตรงกับระยะที่ไม่สะดวกในการมีประจำเดือนโดยการใช้ฮอร์โมนเพื่อเลื่อนประจำเดือน

เราสามารถเลื่อนประจำเดือนได้ 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1 ใช้ปรีโมลุท เอ็น (Primolut N) ปรีโมลุท เอ็น (Primolut N

ประกอบด้วยโปรเจสเตอโรน ชื่อ นอร์เอทิสเตอโรน 5 มก./เม็ด ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่นิยมนำมาใช้เลื่อนประจำเดือนกันมาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีรับประทานเพื่อเลื่อนประจำเดือนในกรณีที่ใช้ ปรีโมลุท เอ็น คือ เริ่มรับประทานล่วงหน้า 3 วันก่อนมีประจำเดือน รับประทาน ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้า-เย็น รับประทานต่อเนื่องทุกวัน เมื่อหยุดยาประจำเดือนจะมาภายใน 2-4 วัน ดังนั้นเมื่อต้องการให้มาวันไหนก็หยุดล่วงหน้า 3 วัน ไม่จำเป็นต้องรับประทานจนถึงวันที่ต้องการให้มา การเลื่อนแต่ละครั้ง ไม่ควรเลื่อนนานติดต่อกันเกิน 10 วัน

นางสาว ก. มีกำหนดเดินทางต่างจังหวัด ระหว่างวันที่ 5-8 ธันวาคม ประจำเดือนกำหนดจะมาวันที่ 4-8 ธันวาคม ต้องการเลื่อนการมีประจำเดือนออกไปในช่วงที่อยู่ต่างจังหวัด ต้องรับประทานปรีโมลุท เอ็น (Primolut N) อย่างไร

วิธีรับประทานปรีโมลุท เอ็น

1.   เริ่มรับประทานล่วงหน้าก่อนมีประจำเดือน 3 วัน คือ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม เป็นวันแรก รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร เช้า-เย็น ต่อเนื่องทุกวัน ตั้งแต่วันที่ 1,        2, 3, 4, 5 และ 6 ธันวาคม

2.   สามารถหยุดรับประทานได้ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม โดยประจำเดือนจะมาวันที่ 9 หรือ 10 ธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่กลับจากต่างจังหวัดพอดี (ต้องการให้มีประจำเดือนวันไหนให้            หยุดล่วงหน้า 3 วัน) ไม่ควรเลื่อนประจำเดือนติดต่อกันนานกว่า 10 วัน

วิธีที่ 2 การเลื่อนประจำเดือนโดยใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด 

วิธีนี้ให้นำมาใช้กับหญิงที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดอยู่แล้วโดยเราสามารถใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดในการเลื่อนประจำเดือนได้เช่นกัน

วิธีรับประทาน คือ ให้รับประทานเม็ดที่เป็นฮอร์โมนต่อเนื่องไปได้เลยไม่ต้องเว้นหรือไม่ต้องรับประทานเม็ดแป้ง ซึ่งในระหว่างที่รับประทานเม็ดที่เป็นฮอร์โมนจะไม่มีประจำเดือน เมื่อต้องการให้มาวันไหนก็หยุดรับประทานล่วงหน้า 3 วัน เช่นเดียวกับการใช้ปรีโมลุท เอ็น (Primolut N)

กรณีที่หญิงนั้นไม่ได้รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด แต่ต้องการเลื่อนประจำเดือนโดยใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ก็สามารถทำได้โดยต้องรับประทานล่วงหน้าก่อนมีประจำเดือน 10 วัน รับประทานเม็ดที่เป็นฮอร์โมนครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ทุกวัน เมื่อต้องการให้มาวันไหนก็หยุดรับประทานล่วงหน้า 3 วัน เช่นเดียวกัน แต่วิธีนี้ไม่ค่อยนิยมเนื่องจากอาการข้างเคียงสูง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น

การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดเพื่อยับยั้งการหลั่งน้ำนม

ในกรณีหญิงหลังคลอดบุตรที่มีน้ำนมหลั่งมากเกินไป เราสามารถใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดเพื่อยับยั้งการหลั่งน้ำนมหรือทำให้น้ำนมลดน้อยลง โดยรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีเอทินิล เอสตราดิออล ในปริมาณครั้งละ 100 ไมโครกรัม (0.1 มก.) วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร (สามารถใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีเอทินิลเอสตราดิออล เม็ดละ 0.030 หรือ 0.035 มก. ครั้งละ 3 เม็ด) ติดต่อกัน 3 วัน และลดลงเหลือครั้งละ 50 ไมโครกรัม (0.05 มก.) (สามารถใช้เอทินิล เอสตราดิออล เม็ดละ 0.030 มก. ครั้งละ 2 เม็ด) วันละ 2


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Can High Doses of Ibuprofen Delay or Halt Your Period?. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/can-high-doses-of-ibuprofen-delay-or-halt-your-period/)
Delaying your period with hormonal birth control. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/birth-control/in-depth/womens-health/art-20044044)
How can I delay my period?. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/common-health-questions/travel-health/how-can-i-delay-my-period/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ประจำเดือนไม่มา มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง
ประจำเดือนไม่มา มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง

ไม่ใช่แค่เครียด แต่อาจมีความผิดปกติร้ายแรงเกิดขึ้นภายในร่างกายคุณ ต้องหมั่นตรวจเช็ก

อ่านเพิ่ม
คู่มือเตรียมพร้อมก่อนประจำเดือนมาครั้งแรก
คู่มือเตรียมพร้อมก่อนประจำเดือนมาครั้งแรก

รู้ทุกเรื่องเบื้องต้นเกี่ยวกับประจำเดือน ตั้งแต่สัญญาณบอกว่าประจำเดือนจะมา การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และเคลียร์คำถามที่มักพบบ่อย

อ่านเพิ่ม