วิธีเลือกซื้อหมอนหนุนและหมอนข้างสุขภาพ

เผยแพร่ครั้งแรก 20 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิธีเลือกซื้อหมอนหนุนและหมอนข้างสุขภาพ

การนอนหลับเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด แต่นอกเหนือจากจำนวนเวลาในการนอนแล้ว สิ่งที่จะช่วยให้การนอนหลับเต็มอิ่มและเป็นสุขก็คือเครื่องนอนนั่นเอง โดยเฉพาะหมอนที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการนอน ดังนั้นการเลือกซื้อหมอนหนุนและหมอนข้างสุขภาพ จึงควรเป็นการสนับสนุนให้เรานอนหลับสนิทได้ดีในแต่ละคืน ทั้งนี้หลักเกณฑ์ในการเลือกหมอนจะมีอย่างไรนั้น เรามาดูกันค่ะ

วัตถุประสงค์ของการใช้หมอนหนุนและหมอนข้าง

ความจำเป็นในการใช้หมอนหรือไม่จะขึ้นอยู่กับว่าบุคคลนั้นถนัดนอนท่าไหน และโดยธรรมชาติขณะนอนหลับของคนเรามักจะมีการเปลี่ยนท่านอนอยู่ตลอดคืน จึงทำให้หมอนหนุนมีความจำเป็นเพราะสามารถช่วยซับพอร์ตกระดูกคอของเรา ซึ่งประกอบไปด้วยกระดูก 7 ชิ้นเรียงต่อๆ กัน โดยมีหมอนรองกระดูกอยู่ระหว่างกระดูกแต่ละชิ้น อีกทั้งกระดูกต้นคอต้องไม่มีสภาพงอหรือโค้งอยู่ตลอดเวลา การมีหมอนหนุนจะช่วยประคองกระดูกเหล่านี้ไม่ให้เสียรูป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจการนอน Sleep Test วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,455 บาท ลดสูงสุด 50%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

    1. ชอบนอนหงาย นอนท่านี้ไม่ต้องหนุนหมอนก็ได้ แต่บางคนก็คุ้นเคยกับการใช้หมอนมาตั้งแต่เด็ก
    2. ชอบนอนตะแคง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีหมอนหนุน เนื่องจากเมื่อหัวไหล่แนบพื้น จะทำให้ศีรษะและลำคออยู่ห่างจากพื้น จึงต้องมีหมอนหนุนช่วยประคอง รวมถึงหมอนข้างที่จะช่วยจัดวางสรีระไม่ให้กดทับกันเองอีกด้วย
    3. ชอบนอนคว่ำ เป็นอีกท่าหนึ่งที่ไม่จำเป็นต้องใช้หมอนหนุน

    วิธีเลือกซื้อหมอนหนุนและหมอนข้างสุขภาพ

    ท่านอนที่เราชอบมีส่วนช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อหมอนหนุนและหมอนข้างสุขภาพ โดยมีเกณฑ์ควรพิจารณาดังต่อไปนี้

    1. ขนาดของหมอน

    โดยหลักการเลือกขนาดของหมอนนั้น ความใหญ่เล็กของหมอนอาจไม่ใช่หลักสำคัญ เพราะจะต้องพิจารณาถึงรูปร่างและวัสดุที่อยู่ภายในหมอนประกอบด้วยเช่นกัน หมอนหนุนที่รองรับศีรษะและต้นคอได้ดีต้องมีความยืดหยุ่นสูง มีความยุบยวบและเคลื่อนไปกับสภาพการเคลื่อนที่ของศีรษะและต้นคอได้ดี แม้ว่าจะเป็นใบใหญ่หรือสูงก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการหนุนนอน

    แต่โดยหลักการเลือกรวมๆ เมื่อใช้หมอนหนุนแล้วต้องไม่ทำให้ไหล่สูงกว่าพื้นที่นอน ในกรณีนอนหงาย เพราะหมอนสูงเกินไป ไหล่ยก และศีรษะอาจมีลักษณะพับงอลงมา ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดไม่สะดวกแล้วนอนหลับไม่สบาย การนอนตะแคงก็เช่นเดียวกัน เมื่อนอนแล้วระดับศีรษะกับลำคอจะต้องไม่ผิดจากธรรมชาติ

    2. รูปร่างของหมอน

    รูปร่างของหมอนหนุนที่จำหน่ายในท้องตลาดมีทั้งแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบบทรงกระบอกที่เน้นรองคอ และหมอนสุขภาพที่มีความสูงลดหลั่นสองช่วงในหมอนใบเดียวกัน การเลือกรูปร่างของหมอนจึงขึ้นอยู่กับสรีระและรูปร่าง

    สำหรับคนที่ต้องการหมอนประคองคอมักจะเลือกหมอนหนุนเพื่อสุขภาพสองแบบคือ ประเภทกลมรูปทรงกระบอกที่เหมาะกับการรับต้นคอ หรือประเภทสี่เหลี่ยมใหญ่ที่ทำเป็นสองระดับ

    3. เลือกวัสดุที่ใส่ในหมอนแบบไหนดี

    ในสมัยก่อนหมอนหนุนและหมอนข้างทุกชนิดจะยัดด้วยนุ่นจากธรรมชาติ แต่ปัจจุบันมีวิวัฒนาการและการค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติม จึงทำให้วัสดุที่ใช้ใส่ในหมอนเปลี่ยนไปตามกาลเวลา

    • หมอนที่ยัดไส้ในด้วยวัสดุสังเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็นใยสังเคราะห์ โฟม หรือยางพารา มีความยืดหยุ่นที่เหมาะสำหรับการพักผ่อน แต่จะมีประสิทธิภาพดีเพียงใดขึ้นอยู่กับคุณภาพของวัตถุดิบอีกด้วย
    • หมอนที่ยัดไส้ในด้วยวัสดุจากธรรมชาติ อย่างเช่นขนเป็ดกับขนห่าน ซึ่งมีความนุ่มพิเศษและมีความยืดหยุ่นดี แม้ว่าจะยุบก็คืนตัวได้เหมือนเดิม แต่มีจุดอ่อนตรงที่หากดูแลไม่ดีจะมีปัญหาเรื่องฝุ่นหรือคนที่แพ้ขนสัตว์ใช้ไม่ได้ หรืออาจจะใช้วัสดุธรรมชาติจากพืชต่างๆ เช่น เปลือกบัควีท เปลือกถั่วงอก หรือเมล็ดชาเขียว โดยจุดเด่นของหมอนหนุนประเภทนี้คือสามารถรองรับศีรษะได้ดี มีความยืดหยุ่นสูง และสามารถเคลื่อนที่เพื่อการรองรับต้นคอได้ 100% และมีข้อดีในการช่วยผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับได้ดี

    4. เลือกความแข็งความนิ่มของหมอน

    ขึ้นอยู่กับสุขภาพของแต่ละคน เพราะหมอนหนุนชนิดแข็งอาจจะเหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ชอบให้ศีรษะได้รับการนวดขณะนอนหลับนั่นเอง


    8 แหล่งข้อมูล
    กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
    Is Your Pillow Giving You a Stiff Neck? 7 Tips. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/is-your-pillow-hurting-your-neck-7-tips-for-better-sleep/)
    Sleeping Without a Pillow: Benefits and Effects on Spine and Posture. Healthline. (https://www.healthline.com/health/sleeping-without-a-pillow)

    บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

    ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

    ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
    (1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

    บทความต่อไป