วิธีการดูแลสิวที่ก้น สาเหตุ วิธีการรักษา และวิธีการป้องกัน

เผยแพร่ครั้งแรก 14 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิธีการดูแลสิวที่ก้น สาเหตุ วิธีการรักษา และวิธีการป้องกัน

โรคผิวหนังที่เกี่ยวกับสิวนั้นมีหลายชนิด แต่ในกรณีเป็น “สิวที่ก้น” บางครั้งก็อาจจะไม่ใช่สิวเสมอไป ทำให้ผิวหนังที่ก้นมีลักษณะเป็นตุ่มนูนแดง ส่งผลให้สาวๆ จำนวนไม่น้อยรู้สึกขาดความมั่นใจในตัวเอง เวลาที่สวมใส่ชุดว่ายน้ำหรือแม้แต่ชุดชั้นในแบบเซ็กซี่ที่ต้องโชว์ผิวบริเวณนี้

 สิวที่ก้นเกิดจากอะไร

จากการสอบถามแพทย์ผิวหนังพบว่า สิวที่ก้นส่วนใหญ่นั้นไม่ใช่สิว แต่เกิดจากรูขุมขนมีอาการอักเสบจนทำให้บวมนูนและมีสีแดงคล้ายสิว ซึ่งเกิดจากสาเหตุได้หลายประการอย่างเช่นความอับชื้น สารเคมีที่ตกค้างในกางเกงใน เนื้อผ้าของกางเกงในหรือกางเกงชั้นนอกที่ระบายอากาศได้ไม่ดี รวมถึงการไม่รักษาความสะอาดในร่มผ้า เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

 วิธีการรักษาสิวที่ก้น

  • ทำความสะอาดด้วยน้ำเกลือ ใช้น้ำเกลือสำหรับล้างแผลที่เรียกว่า “นอร์มอลซาไลน์” นำมาเช็ดผิวหนังที่ก้น เพราะสามารถช่วยทำความสะอาดสิ่งสกปรกและขจัดเชื้อโรคได้ดีกว่าน้ำประปาที่ใช้อาบตามปกติ จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ให้แห้งก่อนสวมเสื้อผ้า
  • ฟอกสบู่อย่างพิถีพิถัน เราควรทำความสะอาดผิวหนังที่ก้นด้วยการฟอกสบู่ให้เหมือนกับการฟอกผิวกายและล้างให้สะอาด เพื่อขจัดคราบเหงื่อ ความมัน และสิ่งสกปรกที่หมักหมมให้เกลี้ยง จะช่วยป้องกันการอุดตันของรูขุมขนได้มากขึ้น
  • แต้มยารักษาสิว โดยใช้ยารักษาสิวชนิดเดียวกับที่แต้มหัวสิวบนผิวหน้าหรือผิวกาย นำมาทาสิวที่ก้นได้เหมือนกัน หรือใช้สมุนไพรประเภทผงขมิ้นชันผสมน้ำพอข้น พอกแล้วขัดเบาๆ จึงค่อยล้างออก จะช่วยให้สิวที่ก้นหายเร็วขึ้นแบบไม่ทิ้งรอยดำเอาไว้
  • หมักด้วยสมุนไพร ใช้น้ำมะนาวคั้นสดหรือแอปเปิลไซเดอร์นำมาทาผิวที่ก้น แล้วทิ้งไว้ก่อนอาบน้ำประมาณ 30 นาที จะช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวที่ก้น

 วิธีป้องกันไม่ให้เกิดสิวที่ก้น

การป้องกันไม่ให้เกิดสิวที่ก้นสามารถปฏิบัติได้หลายวิธี แต่ควรใช้วิธีเหล่านี้ร่วมกันจึงจะทำให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันได้ดีที่สุด และควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอทุกวันอีกด้วย

  • รักษาสุขอนามัย เป็นวิธีป้องกันสิวที่ก้นอันดับแรกที่ควรปฏิบัติให้เป็นนิสัย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความอับชื้นหรือสิ่งสกปรกที่หมักหมม โดยเฉพาะช่วงหลังจากออกกำลังกายหรือผู้ที่มีเหงื่อออกเยอะ ควรใช้สบู่ฟอกทำความสะอาดอย่างหมดจดแล้วซับผิวให้แห้งทุกครั้ง
  • เลือกกางเกงในเนื้อบางเบา ควรสวมใส่กางเกงในที่ทำจากผ้าฝ้ายหรือเนื้อผ้าที่บางเบา และต้องมีคุณสมบัติในการระบายอากาศได้ดี เพื่อช่วยป้องกันความอับชื้นและการเกิดเหงื่อไคลสะสม
  • สครับผิวด้วยสมุนไพร เพียงใช้สมุนไพรสำหรับขัดผิวกายนำมาขัดผิวที่ก้นอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง เพื่อช่วยขจัดสิ่งสกปรกที่อุดตันในรูขุมขน เป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดสิวที่ก้นได้อีกทางหนึ่ง
  • เปลี่ยนผงซักฟอกหรือน้ำยาปรับผ้านุ่ม สิวที่ก้นในบางกรณีเกิดจากอาการแพ้สารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของผงซักฟอกและน้ำยาปรับผ้านุ่ม หรืออาจเกิดจากการล้างน้ำไม่สะอาดจนทำให้มีสารเคมีตกค้างที่เนื้อผ้า เพราะฉะนั้นจึงควรล้างหลายๆ น้ำ และเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่สบายตัว หลีกเลี่ยงการสวมใส่กางเกงในและกางเกงนอกที่มีลักษณะรัดแน่น แต่ควรเลือกชุดที่สวมใส่สบายพอดีตัว สามารถระบายอากาศได้ดี เพื่อลดความอับชื้นที่จะเกิดขึ้น
  • ไม่นั่งนานจนเกินไป เพราะจะทำให้ก้นมีการเสียดสีจนก่อให้เกิดความระคายเคืองของผิวหนังที่ก้น โดยหมั่นเปลี่ยนอิริยาบถด้วยการลุกเดินไปมา จะช่วยป้องกันการอักเสบของสิวได้พอสมควร

 นอกจากนี้การป้องกันไม่ให้เกิดสิวที่ก้นยังสามารถกระทำได้ด้วยอาหาร โดยหลีกเลี่ยงหรือลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และหมั่นดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนัง เพียงเท่านี้ก็จะทำให้เรามีผิวที่ก้นเรียบเนียนน่าสัมผัสได้แล้วค่ะ


33 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hard Anus: Causes, Symptoms, and Treatment. Healthline. (https://www.healthline.com/health/hard-anus)
Hard lump in anus: Causes, diagnosis, and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/326725)
Bump on the anus: 7 causes and their treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/327459)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)