กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ความต้องการพลังงานต่อวัน

เผยแพร่ครั้งแรก 12 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 26 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความต้องการพลังงานต่อวัน

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • แคลอรี่ คือหน่วยวัดพลังงาน โดย 1 แคลอรี่ คือพลังงานที่ทำให้น้ำ 1 กิโลกรัมร้อนขึ้น 1 องศาเซลเซียส พลังงานนั้นอยู่ได้ในหลากหลายแหล่ง รวมไปถึง “อาหารที่เรากิน”
  • แคลอรี่เหมาะสมต่อวัน สามารถคำนวณได้คร่าวๆ จากปัจจัยของร่างกาย คือ ความสูง น้ำหนัก อายุ และ กิจกรรมต่อวัน
  • พลังงานที่ต้องการในแต่ละวัน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความถี่ในการออกกำลังกาย ปริมาณไขมัน กล้ามเนื้อ และ ประสิทธิภาพการทำงานร่างกาย
  • การฝึกนับแคลอรี่เป็นเรื่องที่ดีมากๆ หากคุณต้องการลดน้ำหนักหรือเพิ่มกล้ามเนื้อ
  • ลองลดน้ำหนักมาหลายวิธีแต่ยังไม่สำเร็จ ดูแพ็กเกจลดน้ำหนัก ออกกำลังกายได้ที่นี่

เคยมีข้อสงสัยกันหรือไม่ว่าในหนึ่งวันนั้นเราควรบริโภคอาหารเท่าไร ถึงจะเรียกว่าเพียงพอ และทำให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ ซึ่งทุก 1 กิโลกรัมของน้ำหนักตัว ร่างกายต้องใช้พลังงานเผาผลาญ 30 กิโลแคลอรี่ 

สูตรการคำนวณพลังงานที่ควรบริโภคต่อวัน

ดังนั้น หากเราหนัก 60 กิโลกรัม เราจำเป็นต้องบริโภคให้ได้ 60 x 30 = 1,800 กิโลแคลอรี่ ใน 1 วัน ถึงเพียงพอให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ

ความต้องการพลังงานต่อวัน

การรับประทานอาหารที่มากเกินจำนวนแคลอรี่ที่ร่างกายต้องการ เป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดโรคอ้วน ซึ่งร่างกายแต่ละคนนั้นมีความต้องการพลังงานที่แตกต่างกันไป คำนวณได้จากสมการ ความต้องการพลังงาน = น้ำหนัก(กิโลกรัม) x 30 ในคนที่มีกิจกรรมปกติหรือคนทั่วๆไป

แต่หากเป็นบุคคลที่นั่งเฉยๆ ไม่มีการเคลื่อนไหวจะมีความต้องการพลังงานน้อยกว่า จึงต้องใช้ค่า 20-25 เป็นตัวคุณกับน้ำหนักตัว และในทางกลับกันหากเป็นบุคคลที่ออกกำลังกายอย่างหักโหม ร่างกายจะต้องการพลังงานมากกว่า ให้ใช้ 35 เป็นตัวคูณกับน้ำหนักตัว

เพื่อควบคุมน้ำหนัก เราจึงไม่ควรรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่โดยรวมเข้าไปเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ ยกเว้นว่าจะมีการออกกำลังกาย เพื่อชดเชยจำนวนแคลอรี่ที่รับเข้ามาอย่างเพียงพอ

น้ำหนักตัว
Kg
 
กรุณากรอกข้อมูลทุกช่อง
ค่าที่ได้ 
= N/A Kcal/วัน
ในปัจจุบันมีการคำนวณอัตราการเผาผลาญพลังงานอย่างละเอียดมากขึ้น ซึ่งจะช่วยบอกพลังงานที่ต้องการในแต่ละวัน โดยมีสูตรดังนี้

สำหรับผู้ชาย = 66.5 + (13.75 × น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม) + (5.003 × ส่วนสูงเป็นซม.) - (6.775 × อายุ)

สำหรับผู้หญิง = 655.1 + (9.563 × น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม) + (1.850 × ส่วนสูงเป็นซม.) - (4.676 × อายุ)

จากสูตรด้านบน แสดงให้เห็นว่า น้ำหนัก ส่วนสูงและอายุมีผลต่อการเผาผลาญพลังงาน เมื่อหาค่าอัตราการเผาผลาญพลังงานมาได้แล้ว ก็จะสามารถนำมาคำนวณการเผาผลาญพลังงานของร่างกายในแต่ละวันได้ โดยนำมาคูณตัวแปรด้านล่าง

  • นั่งอยู่กับที่เกือบทั้งวัน แทบไม่ได้ขยับตัว ให้นำอัตราการเผาผลาญพลังงาน x 1.2
  • ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเล็กน้อย 1-3 วันต่อสัปดาห์ ให้นำอัตราการเผาผลาญพลังงาน x 1.375
  • ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาปานกลาง 3-5 วันต่อสัปดาห์ ให้นำอัตราการเผาผลาญพลังงาน x 1.55
  • ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาอย่างหนัก 6-7 วันต่อสัปดาห์ ให้นำอัตราการเผาผลาญพลังงาน x  1.725 
  • ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาอย่างหักโหม สองครั้งต่อวัน ให้นำอัตราการเผาผลาญพลังงาน x 1.9

พลังงานที่ทุกคนต้องการไม่เท่ากัน

พลังงานที่ต้องการสำหรับแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ดังนั้น การทราบค่าพลังงานที่ร่างกายเราต้องการจึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการช่วยควบคุมน้ำหนัก นอกจากการกินแล้ว การออกกำลังกายก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะการออกกำลังกายคือการใช้พลังงานออกไป และช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ สุขภาพ และอารมณ์ให้ดียิ่งขึ้นด้วย



2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Peggy S. Stanfield, Peggy Stanfield, Y. H. Hu, Nutrition and Diet Therapy: Self-Instructional Approaches (https://books.google.co.th/boo...)
Lee-lynn Chen MD, esting Energy Expenditure (https://www.sciencedirect.com/...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างไร?
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างไร?

ทำความรู้จักเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ หรือเครื่องวัดชีพจร และอัตราการเต้นของหัวใจในการออกกำลังกายแต่ละโซน

อ่านเพิ่ม
ค่าการเต้นของหัวใจสูงสุด - ทำความเข้าใจค่าการเต้นของหัวใจสูงสุดของคุณ
ค่าการเต้นของหัวใจสูงสุด - ทำความเข้าใจค่าการเต้นของหัวใจสูงสุดของคุณ

ค่าอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดสำคัญอย่างไร คำนวณค่าของตัวเองอย่างไร และนำไปคำนวณค่าระดับความเข้มข้นในการออกกำลังกายอย่างไร

อ่านเพิ่ม