กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ฝากครรภ์ตอนอายุครรภ์กี่สัปดาห์ ผลกระทบของการฝากครรภ์ช้าไปหรือเร็วไป

อายุครรภ์ที่เหมาะสมสำหรับการไปฝากครรภ์ สิ่งที่ตรวจระหว่างการฝากครรภ์สำหรับคุณแม่มือใหม่ทุกคน
เผยแพร่ครั้งแรก 3 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 2 ธ.ค. 2022 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ฝากครรภ์ตอนอายุครรภ์กี่สัปดาห์ ผลกระทบของการฝากครรภ์ช้าไปหรือเร็วไป

เป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ แต่คุณแม่มือใหม่หลายคนมักไม่ทราบว่าต้องตั้งครรภ์กี่สัปดาห์ถึงจะเริ่มไปฝากครรภ์ แล้วไปฝากครรภ์ต้องทำอะไรบ้าง เนื่องจากการตั้งครรภ์เป็นเรื่องสำคัญสำหรับแม่ทุกคน จึงควรทำความเข้าใจข้อมูลดังต่อไปนี้

ควรฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี?

คุณแม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ควรควรไปฝากครรภ์ทันที อย่าปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปเป็นอันขาด ช่วงของการตั้งครรภ์เป็นช่วงที่สำคัญตลอดทั้ง 9 เดือน คุณแม่ต้องไปฝากครรภ์ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยแพทย์จะนัดเป็นระยะจนกระทั่งคลอด 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ว่า หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับการตรวจครรภ์อย่าง น้อย 5 ครั้ง ตลอดระยะการตั้งครรภ์จึงจะเป็นไปตามเกณฑ์การฝากครรภ์ดังนี้

  • ครั้งที่ 1 ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
  • ครั้งที่ 2 เมื่ออายุครรภ์ 18 สัปดาห์
  • ครั้งที่ 3 เมื่ออายุครรภ์ 26 สัปดาห์
  • ครั้งที่ 4 เมื่ออายุครรภ์ 32 สัปดาห์
  • ครั้งที่ 5 เมื่ออายุครรภ์ 38 สัปดาห์

การฝากครรภ์ครั้งแรกควรตรวจภายใน 12 สัปดาห์หรือรีบมาพบแพทย์ทันทีหากสงสัยว่าตั้งครรภ์ ส่วนการฝากครรภ์ในครั้งถัดไปนั้นแพทย์จะนัดให้มาตามอายุครรภ์ข้างต้น คุณแม่อาจมามาก่อนหรือหลังนัดได้ บวกลบไม่เกิน 2 สัปดาห์

ความถี่การนัดตรวจครรภ์ตามคลีนิกหรือสถานพยาบาลนั้น ในช่วงอายุครรภ์ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จะนัดห่าง ๆ จนกระทั่งช่วงสัอายุครรภ์ระหว่าง 28-36 สัปดาห์ จะนัดถี่ขึ้นเป็นทุก 2 สัปดาห์ และเมื่อใกล้คลอดอายุครรภ์ตั้งแต่ 37 สัปดาห์ ขึ้นไปจะนัดทุก 1 สัปดาห์

หมอตรวจอะไรบ้างเมื่อฝากครรภ์?

สำหรับการฝากครรภ์กับแพทย์ จะมีการจตรวจร่างกายในหมวดต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เพื่อเป็นข้อมูลในการบอกถึงขนาดเชิงกราน ซึ่งจะมีผลในการคลอด ถ้าคุณแม่ตัวเล็กอาจทำให้คลอดยากได้ แพทย์จะแนะนำการบำรุงครรภ์ในลำดับต่อไป การชั่งน้ำหนักนั้นยังมีประโยชน์สำคัญในการติดตามการเติบโตของครรภ์ น้ำหนักที่เพิ่มมากไปหรือน้อยไปต่างก็ไม่ดีทั้งนั้น แพทย์จึงต้องชั่งน้ำหนักคุณแม่เอาไว้และตรวจติดตามการเติบโต ปรับการทานอาหารของคุณแม่เป็นระยะ

  • ตรวจเลือด เพื่อตรวจดูความเข้มข้นของเลือด ส่วนประกอบของเลือด กรุ๊ปเลือดโรคเลือดธาลาสซีเมีย และตรวจหาโรคติดเชื้อบางอย่าง เช่น ไวรัสตับอักเสบซิฟิลิส หัดเยอรมัน และเอดส์

  • วัดความดันโลหิต จะมีการวัดความดันโลหิตทุกครั้งที่มาฝากครรภ์ เพื่อตรวจสอบโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัวดัน ความดันปกติจะราว 120/70 มิลลิเมตรปรอท (เป็นค่าตัวเลข 2 ค่า) หากวัดได้ต่ำกว่า 120/70 มิลลิเมตรปรอท หมายถึงมีความดันต่ำ และหากวัดได้เกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอทจะถือว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง

  • ตรวจปัสสาวะ ปัสสาวะจะบอกค่าน้ำตาลในร่างกายได้ จึงต้องทำการตรวจปัสสาวะเพื่อให้แน่ใจว่าคุณแม่ไม่ได้เป็นเบาหวานแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ และถ้าหากปัสสาวะมีส่วนของโปรตีนร่วมด้วยจะบ่งว่าไตทำงานไม่ปกติ ยิ่งถ้าหากพบร่วมกับอาการความดันโลหิตสูง แสดงว่ามีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะมีอาการครรภ์เป็นพิษ

  • ตรวจหน้าท้อง เพื่อดูท่าของทารก การหมุนตัวของทารกว่าอยู่ท่าใด ใช้ศีรษะเป็นส่วนนำในการหมุนตัวหรือไม่ รวมถึงเป็นการตรวจวัดขนาดและน้ำหนักของทารกในครรภ์

  • ตรวจอัลตร้าซาวด์ เพื่อเช็คสภาพการเจริญเติบโตและความแข็งแรงของลูกที่อยู่ในครรภ์ การตรวจอัลตราซาวด์ไม่จำเป็นต้องตรวจทุกครั้งที่ไปฝากครรภ์ วัตถุประสงค์คือเพื่อตรวจเช็คสุขภาพของคุณแม่ ที่สำคัญที่สุดคือตรวจสอบว่าลูกเติบโตอย่างต่อเนื่องหรือไม่ เอาหัวขึ้นหรือไม่ วัดความยาวและขนาดของตำแหน่งต่าง ๆ ดูเพศ และหากเป็นลูกแฝดก็สามารถเห็นได้จากการอัลตร้าซาวด์

ประโยชน์ของการฝากครรภ์

การฝากครรภ์ไม่ใช่แค่การไปตรวจอายุครรภ์หรือสุขภาพของแม่เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีประโยชน์อีกมากมาย ดังต่อไปนี้

  • คุณแม่จะได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวระหว่างตั้งครรภ์ที่ถูกต้อง หากมีคำถามหรือข้อสงสัยต่าง ๆ ระหว่างตั้งครรภ์ก็สามารถสอบถามจากแพทย์ได้ คุณแม่ก็จะสามารถดูแลร่างกายและจิตใจให้มีสุขภาพสมบูรณ์ที่สุด

  • ตรวจสอบว่าการตั้งครรภ์ดำเนินไปโดยปกติหรือไม่ คุณหมอจะช่วยวินิจฉัยโรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อแม่และลูก เช่น โลหิตจาง ซิฟิลิส ครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น เพื่อดำเนินการป้องกัน แก้ไข และช่วยเหลืออย่างทันท่วงที

  • ป้องกันหรือลดอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อให้การตั้งครรภ์ดำเนินไปอย่างปกติที่สุด จนกระทั่งถึงกำหนดคลอด ซึ่งเป็นสิ่งที่อาจเกิดได้ง่าย

  • ช่วยลดอัตราการแท้ง การคลอดก่อนกำหนด ลูกเสียชีวิตในท้อง หรือคลอดแล้วเสียชีวิต ป้องกันการอักเสบติดเชื้อในตัวลูกน้อย

  • ช่วยดูแลทารกในครรภ์ ทำให้ลูกน้อยเติบโต สมบูรณ์แข็งแรง มีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม

ฝากครรภ์เร็วไป ดีหรือไม่?

สำหรับการฝากครรภ์ครั้งแรกนั้นสามารถฝากได้ทันทีเมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ ถึงแม้ตรวจพบว่าเพิ่งตั้งครรภ์ได้เพียง 1 หรือ 2 สัปดาห์ก็ฝากได้เลย ยิ่งเร็วยิ่งดี เพื่อให้แพทย์ได้ดูแลตั้งแต่เนิ่น ๆ 

แต่สำหรับการนัดฝากครรภ์ในครั้งถัดไปนั้น คุณแม่สามารถมาพบแพทย์ได้ตามนัดหรืออาจจะเร็วกว่าปกติ 2 สัปดาห์ การมาฝากครรภ์เร็วไม่ได้มีผลเสียอะไรเพียงแต่คุณแม่อาจต้องมาบ่อยขึ้นและเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นเท่านั้นเอง

ฝากครรภ์ช้าเกินไป ดีหรือไม่?

แต่สำหรับการฝากครรภ์ช้าไปนั้นมีความเสี่ยงและอันตรายมาก การฝากครรภ์ช้าอาจทำให้เราไม่ทราบถึงความผิดปกติของลูกน้อยในครรภ์ หากเกิดความผิดปกติอาจไม่ได้รับรักษาทันท่วงที ลูกจะไม่ได้รับการบำรุงได้เต็มที่ ขาดแคลเซียม ตัวเหลือง ไม่แข็ง และอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรครวมถึงความพิการต่าง ๆ ได้


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ฝากครรภ์ ต้องไปพบแพทย์กี่ครั้ง? แต่ละครั้งทำอะไรบ้าง?, (https://hdmall.co.th/c/how-often-do-you-need-prenatal-visits).
ฝากครรภ์กี่เดือน? ควรฝากตอนไหน?, (https://hdmall.co.th/c/what-you-need-to-know-about-antenatal-care).
ต้องเริ่มฝากครรภ์เมื่อท้องกี่สัปดาห์ กี่เดือน ช้าที่สุดที่จะฝากครรภ์ได้คือกี่เดือน?, (https://hdmall.co.th/c/when-should-antenatal-care-be-better).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การฝากครรภ์
การฝากครรภ์

การฝากครรภ์แม้ไม่ได้ดอกเบี้ย แต่ได้ความปลอดภัยของแม่และลูก เรื่องสำคัญที่คุณแม่มือใหม่ต้องอ่าน!

อ่านเพิ่ม