ดื่มกาแฟกี่แก้วต่อวันถึงไม่เป็นอันตราย? ที่นี่มีคำตอบ

เผยแพร่ครั้งแรก 20 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ดื่มกาแฟกี่แก้วต่อวันถึงไม่เป็นอันตราย? ที่นี่มีคำตอบ

กาแฟถือเป็นเครื่องดื่มสุดโปรดของใครหลายคน เพราะมันสามารถทำให้เราหายง่วง และทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในประเทศสเปน คนโดยเฉลี่ยดื่มกาแฟปีละมากถึง 4.5 กิโลกรัม แม้ว่าสารคาเฟอีนในร่างกายจะมีประโยชน์ แต่การดื่มกาแฟมากเกินไปอาจทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายแทนค่ะ ซึ่งมันสามารถทำให้ผู้ดื่มเป็นโรคนอนไม่หลับ กล้ามเนื้อสั่น และหัวใจเต้นผิดจังหวะ

กาแฟหนึ่งแก้วมีคาเฟอีนเท่าไร ?

มีการประมาณไว้ว่า กาแฟเพียงแค่ 1 แก้ว สามารถมีคาเฟอีนได้ตั้งแต่ 50-400 มิลลิกรัม ซึ่งปริมาณของคาเฟอีนนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณของกาแฟ และน้ำในแต่ละแก้ว ทั้งนี้เราต่างก็รู้ว่าคาเฟอีน 10 กรัม สามารถเป็นอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

น้ำหนักและปริมาณของคาเฟอีน

อย่างไรก็ตาม ปริมาณของคาเฟอีนที่เหมาะสมกับร่างกายของเรานั้นขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของแต่ละคน

  • ตัวอย่างเช่น คนที่มีน้ำหนักไม่เกิน 50 กิโลกรัม สามารถมีปัญหาร้ายแรงถ้าเขาทานคาเฟอีน 7.5 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอที่ทำให้เสี่ยงต่อการเสี่ยงเสียชีวิต
  • สำหรับคนที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า 78 กิโลกรัมที่ทานคาเฟอีน 12 กรัม ก็มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตเช่นกัน

ทั้งนี้เด็กจำเป็นต้องระวังในเรื่องของการทานคาเฟอีนให้มากเป็นพิเศษ เพราะพวกเขามีระบบเผาผลาญที่เร็วกว่าผู้ใหญ่ สำหรับเด็ก การได้รับคาเฟอีน 35 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม ก็เพียงพอที่จะทำให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรงจากการได้รับคาเฟอีนเกินขนาด

ปริมาณที่เหมาะสมของกาแฟ

ณ ตอนนี้เชื่อกันว่า เราไม่ควรดื่มกาแฟมากกว่า 4 แก้วต่อวัน ซึ่งถือเป็นจำนวนการบริโภคที่เหมาะสม แต่ก็อาจมีบางคนที่ทานเกินกว่านี้ แต่เราก็ควรสันนิษฐานว่า ความทนทานต่อสารของร่างกายแต่ละคนนั้นมีความเฉพาะตัว และไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ การทานคาเฟอีนเกินขีดความสามารถที่ร่างกายรับได้สามารถทำให้เกิดอาการบางอย่าง ตัวอย่างเช่น นอนหลับยาก เวียนศีรษะ ปวดท้อง หงุดหงิด ชีพจรเต้นไว ฯลฯ

ทางเลือกทดแทนอื่นๆ

ถ้าคุณอยากทำงานมีประสิทธิภาพ หรือตาสว่าง มันยังมีอีกหลายทางเลือกที่สามารถทดแทนกาแฟได้ ตัวอย่างเช่น ช็อกโกแลตสามารถเติมพลัง และกระตุ้นให้ฮอร์โมนเอนโดรฟิน และฟีนิลเอทิลเอมีนหลั่งออกมา ซึ่งล้วนแต่มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกมีความสุข นอกจากนี้การดื่มชาก็สามารถช่วยกระตุ้น และทำให้เรามีสมาธิมากขึ้น เพราะมันก็มีคาเฟอีนเช่นกัน แต่มีปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม คาเฟอีนถือเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่งที่ถูกกฎหมาย ทำให้ผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำสามารถเกิดอาการเสพติด และหากไม่ได้ดื่มกาแฟภายใน 24 ชั่วโมง พวกเขามักประสบภาวะถอนคาเฟอีน (Caffeine Withdrawal) โดยจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ รู้สึกเหนื่อย และมีปัญหากับสมาธิ ดังนั้นอาการเฉื่อยชาและขาดสมาธิที่เรารู้สึกเมื่อไม่ได้ทานคาเฟอีนอย่างเพียงพอสามารถเป็นผลมาจากการดื่มกาแฟเป็นประจำ ทั้งนี้การดื่มกาแฟไม่ทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายถ้าเราดื่มในปริมาณปานกลาง แต่การดื่มมากเกินไปกลับให้ผลลัพธ์ตรงกันข้ามแทนค่ะ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรจำกัดการดื่มให้เหมาะสม เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากกาแฟค่ะ

ที่มา : https://steptohealth.com/much-...

 


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Should I limit caffeine during pregnancy?. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/common-health-questions/pregnancy/should-i-limit-caffeine-during-pregnancy/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีดื่มกาแฟที่ถูกต้อง ป้องกันการเกิดโทษ
วิธีดื่มกาแฟที่ถูกต้อง ป้องกันการเกิดโทษ

รวบรวม 10 วิธีดื่มกาแฟอย่างมีคุณภาพ ให้ได้รับประโยชน์สูงสุด ทั้งข้อควรปฏิบัติและข้อควรระวัง

อ่านเพิ่ม
ทำความรู้จักกับคาเฟอีน (Caffeine)
ทำความรู้จักกับคาเฟอีน (Caffeine)

แม้ว่าการดื่มคาเฟอีนจะช่วยกระตุ้นสมองให้ตื่นตัว ร่างกายกระปรี้กระเปร่า แต่หากดื่มมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายได้

อ่านเพิ่ม