กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การรักษานิ่วในถุงน้ำดีระหว่างการตั้งครรภ์

ต้องทำอะไรเมื่อเป็นนิ่วในถุงน้ำดีระหว่างการตั้งครรภ์
เผยแพร่ครั้งแรก 15 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การรักษานิ่วในถุงน้ำดีระหว่างการตั้งครรภ์

นิ่วในถุงน้ำดี คือก้อนของน้ำดี ซึ่งเกิดจากน้ำ ไขมัน cholesterol, bilirubin และเกลือ โดยปกติแล้วน้ำดีจะถูกปล่อยลงลำไส้เล็กเพื่อช่วยย่อยไขมัน แต่บางครั้งน้ำดีก็อาจเกิดการรวมตัวกันและทำให้เกิดนิ่วได้ หากเป็นนิ่วในถุงน้ำดีและไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดการติดเชื้อหรือถุงน้ำดีแตกได้

โดยทั่วไปแล้ว ผู้หญิงมีโอกาสเกิดนิ่วสูงกว่าผู้ชายประมาณ 2 เท่า และมีโอกาสเกิดเพิ่มขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ เนื่องจากระหว่างการตั้งครรภ์จะมีการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งจะทำให้มี Cholesterol ในน้ำดีสูงขึ้น เป็นผลให้ผู้หญิงประมาณ 5-6% จะมีนิ่วในถุงน้ำดีระหว่างการตั้งครรภ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิธีการรักษานิ่วในถุงน้ำดีที่ใช้บ่อยที่สุดระหว่างการตั้งครรภ์ก็คือการใช้ยา แต่พบว่าภาวะนี้จัดเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการผ่าตัดที่ไม่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์เป็นอันดับที่ 2 มีผู้หญิงประมาณ 1 ใน 1600 ที่มีการผ่าตัดถุงน้ำดีออกเนื่องจากมีนิ่วระหว่างการตั้งครรภ์ นิ่วในถุงน้ำดียังเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ที่อ้วนและน้ำหนักเพิ่มหรือลดอย่างรวดเร็ว และในผู้ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์อีกด้วย

อาการของนิ่วในถุงน้ำดีคืออะไร?

นิ่วในถุงน้ำดีอาจทำให้เกิดอาการชัดเจนเหล่านี้บางครั้งแต่ไม่เสมอไป ประกอบด้วย

  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ปวดบริเวณท้องด้านบนขวาอย่างฉับพลัน (ตำแหน่งอาจเปลี่ยนได้ตามระยะการตั้งครรภ์)
  • อาจมีไข้ได้

แต่ไม่ใช่ว่าผู้หญิงทุกคนจะมีอาการของนิ่วในถุงน้ำดีระหว่างการตั้งครรภ์ หากคุณมีอาการและสงสัยว่าเกิดจากนิ่ว อาจต้องใช้การตรวจเพิ่มเติม การตรวจเลือดอาจไม่ให้ผลที่ดีมากนักในหญิงตั้งครรภ์เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายระหว่างการตั้งครรภ์ แต่สามารถใช้การตรวจ ultrasound เพื่อตรวจหานิ่วในถุงน้ำดีระหว่างการตั้งครรภ์ในผู้ป่วยส่วนมากได้

จะรักษานิ่วในถุงน้ำดีระหว่างการตั้งครรภ์ได้อย่างไร?

แพทย์จะทำการแนะนำการรักษาด้วยการผ่าตัดหรือการรอให้อาการสงบลงจากการดูอาการและการตรวจอื่น ๆ คุณสามารถทำอะไรได้บ้างนอกจากรอการผ่าตัด? คุณอาจลองปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร โดยลดปริมาณการรับประทานของทอดและของมัน คุณอาจจะได้รับยาเพื่อบรรเทาอาการปวด แพทย์บางคนอาจแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดเลย เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเป็นซ้ำสูงขึ้นและอาจรุนแรงมากขึ้นได้

ไตรมาสที่ 1

มักไม่แนะนำให้ทำการผ่าตัดในช่วงนี้ยกเว้นในรายที่มีอาการรุนแรง เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเกิดการแท้งสูงกว่า นอกจากนั้นยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติแต่กำเนิดสูงขึ้นจากการใช้ยาที่จำเป็นในการผ่าตัด ดังนั้น หากสามารถทำได้ มักจะรอจนเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 หรือหลังจากการคลอดบุตรจึงจะทำการผ่าตัด

ไตรมาสที่ 2

การผ่าตัดในช่วงนี้เป็นระยะที่ปลอดภัยที่สุด

นอกจากนั้นไตรมาสนี้ยังเป็นช่วงเวลาที่ง่ายที่สุดสำหรับการทำหัตถการเช่นการผ่าตัดส่องกล้องแทนการผ่าตัดเปิดทางหน้าท้องซึ่งจะมีแผลใหญ่กว่าและใช้เวลาฟื้นตัวนานกว่า

ไตรมาสที่ 3

หากเข้าสู่ระยะนี้ แพทย์อาจแนะนำให้รอ เนื่องจากมดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นทำให้การผ่าตัดด้วยการส่องกล้องเป็นไปได้ยากขึ้น และอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด โดยอาจะแนะนำให้ทำการตัดถุงน้ำดีในช่วงหลังคลอดบุตรแทน


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
healthline.com, Treatment of gallstones in the gallbladder during pregnancy (https://www.healthline.com/health/pregnancy/gallbladder), August 10, 2016
verywellfamily.com, Treatment of gallstones in the gallbladder during pregnancy (https://www.verywellfamily.com/gall-stones-in-pregnancy-2758579)
everydayhealth.com, Treatment of gallstones in the gallbladder during pregnancy (https://www.everydayhealth.com/gallbladder/gallstones-and-pregnancy.aspx)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม