การเป็นโรคซึมเศร้าส่งผลต่อร่างกายอย่างไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 6 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การเป็นโรคซึมเศร้าส่งผลต่อร่างกายอย่างไร?

โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้มากในปัจจุบัน แต่นอกจากมันจะส่งผลต่ออารมณ์และสุขภาพจิตของผู้ป่วยแล้ว การเป็นโรคนี้ยังส่งผลต่อสุขภาพกายอีกด้วย แต่ก่อนที่เราจะไปดูว่ามันส่งผลต่อร่างกายอย่างไร เราลองมารู้จักกับโรคซึมเศร้าให้มากขึ้นกันก่อนดีกว่า

โรคซึมเศร้าคืออะไร?

โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตที่มีความซับซ้อน ซึ่งทำให้คนอารมณ์ไม่ดี และอาจรู้สึกเศร้าหรือสิ้นหวังตลอดเวลา นอกจากนี้อาการซึมเศร้าสามารถเกิดขึ้นชั่วคราว โดยเป็นการตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่น่าเศร้าหรือความชอกช้ำทางใจ แต่หากอาการเกิดขึ้นนานกว่า 2 สัปดาห์ มันก็สามารถเป็นสัญญาณของโรคซึมเศร้าระดับรุนแรง ทั้งนี้ Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders ได้ระบุอาการของโรคซึมเศร้าไว้ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • มีอารมณ์เศร้าเกือบทุกวัน ซึ่งประกอบไปด้วยความรู้สึกเศร้าหรือรู้สึกว่างเปล่า
  • นอนน้อยหรือมากเกินไปเกือบทุกวัน
  • น้ำหนักลดหรือเพิ่มโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือความเจริญอาหารเปลี่ยนไป
  • กระสับกระส่ายหรือรู้สึกเฉื่อยชา
  • ไม่มีแรงหรืออ่อนแอ
  • รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่าหรือรู้สึกผิด
  • มีปัญหากับสมาธิหรือการตัดสินใจ
  • คิดฆ่าตัวตาย

อย่างไรก็ตาม อาการของแต่ละคนก็จะแตกต่างกัน และอาจเปลี่ยนเมื่อเวลาผ่านไป การที่แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้านั้น คนจะต้องมีอาการ 5 ข้อตามที่เรากล่าวไปหรือมากกว่านี้ และอาการจะต้องเกิดขึ้นในช่วง 2 อาทิตย์

อาการทางกายของโรคซึมเศร้า

มีงานวิจัยพบว่าโรคซึมเศร้าสามารถส่งผลต่อสุขภาพกายดังนี้

1.น้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลง

คนที่เป็นโรคซึมเศร้าอาจพบว่าความเจริญอาหารของตัวเองเปลี่ยนไป ซึ่งสามารถทำให้น้ำหนักตัวลดลงหรือเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ได้เชื่อมโยงการมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากผิดปกติกับหลายปัญหาสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ฯลฯ ในขณะที่การมีน้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐานสามารถทำร้ายหัวใจ ส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ และทำให้อ่อนเพลีย

2.เจ็บเรื้อรัง

คนที่เป็นโรคซึมเศร้าอาจมีอาการเจ็บหรือปวดที่ไม่รู้ว่าเกิดจากสาเหตุใด  ซึ่งประกอบไปด้วยการเจ็บข้อต่อหรือกล้ามเนื้อ เจ็บเต้านม และปวดศีรษะ อย่างไรก็ตาม อาการของคนที่เป็นโรคซึมเศร้าสามารถแย่ลงจากการเจ็บเรื้อรัง

3.โรคหัวใจ

โรคซึมเศร้าสามารถทำให้คนขาดแรงกระตุ้นที่จะใช้ชีวิตที่ทำให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ โอกาสในการเกิดโรคหัวใจจะเพิ่มขึ้นเมื่อพวกเขาทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพและใช้ชีวิตแบบนั่งๆ นอนๆ ทั้งนี้โรคซึมเศร้าอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงในการมีปัญหากับสุขภาพหัวใจ อย่างไรก็ดี มีงานวิจัยเมื่อปี ค.ศ.2015 พบว่า คน 1 ใน 5 ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นโรคซึมเศร้า

4.การอักเสบ

มีงานวิจัยระบุว่า โรคเครียดเรื้อรังและโรคซึมเศร้ามีความเชื่อมโยงกับการอักเสบ และอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเปลี่ยนไป ในขณะที่งานวิจัยชิ้นอื่นพบว่า โรคซึมเศร้าอาจเกิดจากการอักเสบเรื้อรัง ทั้งนี้คนที่เป็นโรคซึมเศร้ามีแนวโน้มที่จะเป็นโรคที่เกิดการอักเสบ หรือโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง เช่น โรคลำไส้แปรปรวน โรคเบาหวานประเภท 2 และโรคไขข้ออักเสบ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการค้นพบที่ชัดเจนว่าโรคซึมเศร้าทำให้เกิดการอักเสบ หรือการอักเสบเรื้อรังทำให้คนเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งเรายังต้องรองานวิจัยชิ้นอื่นๆ เพื่อยืนยันเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

5.มีปัญหาเกี่ยวกับเซ็กส์

คนที่เป็นโรคซึมเศร้าอาจมีความต้องการทางเพศลดลง มีปัญหากับการปลุกเร้า ไปไม่ถึงจุดสุดยอด หรือมีความสุขกับออกัสซึมลดลง นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายมีปัญหากับความสัมพันธ์ ซึ่งสามารถส่งผลต่อกิจกรรมทางเพศได้นั่นเอง

6.ทำให้ปัญหาสุขภาพเรื้อรังแย่ลง

คนที่มีปัญหาสุขภาพเรื้อรังอาจพบว่าตัวเองมีอาการแย่ลงเมื่อเป็นโรคซึมเศร้า การเจ็บป่วยเรื้อรังก็อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกโดดเดี่ยวหรือเครียดเป็นทุนเดิม ซึ่งการเป็นโรคซึมเศร้าอาจทำให้ความรู้สึกเหล่านี้รุนแรงมากขึ้น อย่างไรก็ดี คนที่เป็นทั้งโรคซึมเศร้าและโรคเรื้อรังอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการรักษาโรคเหล่านี้ ซึ่งการรักษาสุขภาพจิตให้ดีอาจช่วยให้สุขภาพกายดีขึ้น และทำให้เราสามารถจัดการกับโรคเรื้อรังได้ง่ายขึ้น

7.มีปัญหากับการนอน

คนที่เป็นโรคซึมเศร้าอาจพบว่าตัวเองเป็นโรคนอนไม่หลับหรือมีปัญหากับการนอน ซึ่งสามารถทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อยมาก ส่งผลให้ยากต่อการจัดการกับสุขภาพกายและสุขภาพจิต อย่างไรก็ดี แพทย์พบว่าการนอนไม่เพียงพอเชื่อมโยงกับปัญหาสุขภาพ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่เชื่อมโยงการนอนไม่เพียงพอในระยะยาวกับการมีความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนัก และโรคมะเร็งบางชนิด

8.มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

คนที่เป็นโรคซึมเศร้ามักมีปัญหากับกระเพาะอาหารหรือระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย อาเจียน คลื่นไส้ หรือท้องผูก นอกจากนี้คนที่เป็นโรคซึมเศร้าบางคนอาจเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคลำไส้แปรปรวน อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยเมื่อปี ค.ศ.2016 พบว่า ผู้ป่วยมักพบปัญหาข้างต้นเพราะการเป็นโรคซึมเศร้าสามารถเปลี่ยนการตอบสนองของสมองที่มีต่อความเครียด โดยไปยับยั้งกิจกรรมในสมองส่วนไฮโปทาลามัส ต่อมใต้สมอง และต่อมหมวกไต

การรู้ว่าโรคซึมเศร้าก็ส่งผลต่อสุขภาพกายนั้นสามารถช่วยให้ผู้ป่วยหาวิธีรักษาและเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ เพื่อให้จัดการกับอาการได้สำเร็จ ทั้งนี้โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่สามารถรักษาได้ ซึ่งแพทย์มักแนะนำให้รักษาแบบผสมผสานโดยใช้ยา การบำบัด และการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์

ที่มา: https://www.medicalnewstoday.c...322395.php

 


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Physical Effects of Depression. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/physical-effects-of-depression-1066890)
The effects of depression on the body and physical health. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322395)
Physical Effects & Symptoms of Depression. WebMD. (https://www.webmd.com/depression/how-depression-affects-your-body)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป