วิตามินมีหน่วยวัดอย่างไรบ้าง

เผยแพร่ครั้งแรก 12 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิตามินมีหน่วยวัดอย่างไรบ้าง

อ่านข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับหน่วยวัดวิตามิน ทั้งหน่วยเมตริก หน่วยอะวัวร์ดูปัวส์ (Avoirdupois) หรือหน่วยตวงแบบอังกฤษ ตารางเปลี่ยนหน่วย การตวงของเหลว หน่วยที่ใช้กันภายในบ้าน ตลอดจนคำย่อที่พบได้ในการวัด หากคุณสนใจสามารถอ่านต่อได้ที่นี่ แล้วคุณจะพบว่าการวัดวิตามินไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

 คํานิยามในการวัดประสิทธิภาพของวิตามินต่างๆ ไม่ชวนให้สับสนอย่างที่ คุณคิดวิตามินที่ละลายในไขมัน (เอ ดี อี และเค) มักมีหน่วยวัดเป็นไอย (IU: International Units) แต่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ จากองค์การอาหารและยา (เอฟเอโอ) และองค์การอนามัยโลก ได้ตัดสินใจ เปลี่ยนหน่วยวัดสําหรับวิตามินเอ แทนที่จะใช้เป็นไอยแบบเดิม พวกเขาเสนอ ให้ใช้เป็นหน่วยใหม่คืออาร์อี (RE: Retinol Equivalents) ซึ่งเป็นค่าที่เทียบเท่า กับน้ำหนักของเรตินอลที่ถูกดูดซึมและเปลี่ยนรูป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาร์อีจะเทียบเท่ากับประมาณหนึ่งในห้าของค่าไอยู ปริมาณวิตามินเอ ที่แนะนําให้รับประทานในผู้ชายอายุระหว่าง 23-50 ปี คือ 5,000 ไอยู จะมีค่า เท่ากับ 1,000 อาร์อี และ 4,000 ไอยู สําหรับผู้หญิงกลุ่มอายุเดียวกัน จะมีค่า เท่ากับ 800 อาร์อี

วิตามินและแร่ธาตุอื่นเกือบทั้งหมดจะมีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัม (มก.) และ ไมโครกรัม (มอก.) หากคุณทราบว่า 1 กรัมมีค่าเท่ากับ 0.035 ออนซ์ และ 28.35 กรัม จะเท่ากับ 1 ออนซ์ (และของเหลว 1 ออนซ์ เท่ากับ 2 ช้อนโต๊ะ)

คุณจะเข้าใจได้มากขึ้นว่าต้องใช้ปริมาณมากแค่ไหนหรือน้อยเพียงใดที่จะเพียงพอให้มันทํางาน ตารางต่อไปนี้เป็นคู่มือที่คุณจะหยิบยกมาอ้างอิงได้

 อะไรเป็นอะไรในการชั่งตวงวัด

วิตามินกับหน่วยเมตริก

  • 1 กิโลกรัม เท่ากับ 1,000 กรัม
  • 1 กรัม เท่ากับ 1,000 มิลลิกรัม
  • 1 มิลลิกรัม เท่ากับ 10 ส่วนของ 1 กรัม
  • 1 ไมโครกรัม เท่ากับ 100 ส่วนของ 1 มิลลิกรัม
  • 1 แกมมา เท่ากับ 1 ไมโครกรัม

 วิตามินกับหน่วยอะวัวร์ดูปัวส์ (Avoirdupois) หรือหน่วยตวงแบบอังกฤษ

  • 16 ออนซ์ เท่ากับ 1 ปอนด์
  • 7,000 เกรน เท่ากับ 1 ปอนด์
  • 453.6 กรัม เท่ากับ 1 ปอนด์
  • 1 ออนซ์ (โดยเฉลี่ย) เท่ากับ 437.5 เกรน
  • 1 ออนซ์ (โดยเฉลี่ย) เท่ากับ 28.35 กรัม

 วิตามินกับตารางเปลี่ยนหน่วย

  • 1 กรัม เท่ากับ 15.4 เกรน
  • 1 เกรน เท่ากับ 0.085 กรัม (85 มิลลิกรัม)
  • 1 อะโพเทคารีออนซ์ เท่ากับ 31.1 กรัม
  • 1 ออนซ์ของเหลว เท่ากับ 29.8 ซีซี
  • 1 ออนซ์ของเหลว เท่ากับ 480 มินิม (minim)

 การตวงของเหลว

  • 1 หยด เท่ากับ 1 มินิม
  • 1 มินิม เท่ากับ 0.06 ซีซี
  • 15 มินิม เท่ากับ 1.0 ซีซี
  • 4 ซีซี เท่ากับ 1 แดรมของเหลว
  • 30 ซีซี เท่ากับ 1 ออนซ์ของเหลว

 หน่วยที่ใช้กันภายในบ้าน

  • 1 ช้อนชา เท่ากับ 4 ซีซี เท่ากับ 1 แดรมของเหลว
  • 1 ช้อนโต๊ะ เท่ากับ 15 ซีซี เท่ากับ 3 ออนซ์ของเหลว
  • 1 ไพนต์ เท่ากับ 240 ซีซี เท่ากับ 8 ออนซ์ของเหลว

 คําย่อ

  • เอเอ็มดีอาร์ (AMDR: Adult Minimum Daily Requirement) – ปริมาณขั้นต่ำที่ผู้ใหญ่ต้องการ
  • หน่วยยูเอสพี (USP Unit: United Pharmacopeia Unit) - หน่วยวัด ปริมาณยาซึ่งกําหนดโดยองค์การเภสัชกรรมของสหรัฐอเมริกา
  • ไอยู (IU: International Unit) - หน่วยสากล
  • เอ็มดีอาร์ (MDR: Minimum Daily Requirement) – ปริมาณขั้นต่ำที่ต้องการในแต่ละวัน
  • มก. (mg.: milligram)-มิลลิกรัม
  • มคก. (mcgmicrogram) - ไมโครกรัม
  • ก. (g.: Gram) กรัม

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุน ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) ได้โดยการซื้อหนังสือวิตามินไบเบิล

 


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vitamins and minerals. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/vitamins-and-minerals/)
8 Common Signs of Vitamin Deficiency, Plus How to Address Them. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/vitamin-deficiency)
Vitamins and Minerals: How Much Should You Take?. WebMD. (https://www.webmd.com/vitamins-and-supplements/vitamins-minerals-how-much-should-you-take#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป