จะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังตกอยู่ในภาวะคั่งน้ำ?

เผยแพร่ครั้งแรก 3 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
จะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังตกอยู่ในภาวะคั่งน้ำ?

การคั่งน้ำมีแนวโน้มที่จะเกิดในคนที่เป็นโรคอ้วน คนที่ใช้ชีวิตแบบนั่งๆ นอนๆ และคนที่ทานอาหารที่มีโซเดียมสูง นอกจากนี้การคั่งน้ำยังพบได้มากในผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยทองและผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ซึ่งภาวะนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายเริ่มกักเก็บน้ำมากกว่าที่มันควรทำ อย่างไรก็ตาม การที่อาการจะอยู่ในระดับเบา หรือรุนแรงนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่คั่งภายในร่างกาย สำหรับอาการพื้นฐานที่พบได้มีดังนี้

1. บวม

  • ให้คุณลองสังเกตที่เท้าและขา เพราะเราสามารถพบการคั่งน้ำได้ที่บริเวณนี้ การมีขาที่หนักอึ้ง บวม และอ่อนล้าก็ถือเป็นสัญญาณเตือนที่ชัดเจนเช่นกัน
  • การมีข้อเท้าที่บวมถือเป็นอีกหนึ่งสัญญาณของการเกิดภาวะคั่งน้ำ ซึ่งคุณจะรู้สึกว่ารองเท้าคับขึ้น
  • หากคุณพบว่าตัวเองใช้เวลาใส่แหวน สร้อยคอมือ หรือนาฬิกานานขึ้น ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากการที่ร่างกายคั่งน้ำ
  • ถ้าเดิมทีคุณมีใบหน้าที่เรียวเล็ก แต่วันดีคืนดีคุณกลับมีแก้มที่ใหญ่หรือมีใบหน้าบวมขึ้น มันก็เป็นสัญญาณที่บอกว่ามีบางสิ่งผิดปกติ
  • หากมีการคั่งน้ำ หน้าท้องของคุณจะบวมจนสามารถสังเกตได้ คุณจะดูอ้วนหรือบวมมากกว่าเดิม

2. ปวดข้อ

ให้คุณลองสำรวจตัวเองว่าบริเวณข้อของอวัยวะต่างๆ บวม หรือรู้สึกเจ็บบริเวณนี้หรือไม่ หากคุณรู้สึกเจ็บอย่างต่อเนื่อง และรู้สึกเจ็บเมื่อยืนขึ้นหรือนั่งลงเป็นเวลานาน บางทีมันอาจเป็นสัญญาณของภาวะคั่งน้ำก็ได้ค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

3. ผิวมีรอยบุ๋ม

ถ้าคุณเห็นรอยหลังจากที่ออกแรงกดผิว หรือหลังจากที่สวมถุงเท้าหรือถุงน่องทั้งๆ ที่ไม่ได้คับจนเกินไป มันก็มีโอกาสที่ขาหรือข้อเท้าของคุณจะมีอาการบวมเช่นกัน นอกจากนี้หากคุณออกแรงกดบริเวณที่บวม และต้องใช้เวลาสักพักที่รอยบุ๋มจะหายไป มันก็อาจเป็นเพราะว่าคุณกำลังตกอยู่ในภาวะคั่งน้ำ หรือที่เรียกว่าบวมน้ำ

4. น้ำหนักขึ้น

เมื่อร่างกายกักเก็บน้ำมากเกินไป คุณก็อาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หากคุณออกกำลังกายเป็นประจำและไม่ได้ทานอาหารแปลกไปจากเดิม แต่น้ำหนักกลับดีดตัวสูงขึ้น มันก็อาจเป็นเพราะว่าร่างกายกำลังคั่งน้ำก็ได้ค่ะ ทั้งนี้ให้คุณชั่งน้ำหนักทุกวัน โดยเฉพาะตอนเช้าและตอนกลางวัน เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

 วิธีป้องกันไม่ให้เกิดภาวะคั่งน้ำ

  • ทานอาหารที่มีโซเดียมต่ำ เพราะการทานอาหารที่มีรสเค็มหรือปรุงรสมากเกินไป จะทำให้คุณมีโอกาสตกอยู่ในภาวะคั่งน้ำมากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารจั๊งค์ฟู้ด เพราะอาหารเหล่านี้มีเกลือและสารเคมีสูง
  • หลีกเลี่ยงการใช้ชีวิตแบบนั่งๆ นอนๆ และหันมาออกกำลังกาย เพราะการทำกิจกรรมทางกายจะช่วยให้ร่างกายกำจัดของเสียออกมา
  • หากคุณมีแนวโน้มว่าจะเครียดหรืออยู่ภายใต้สถานการณ์ที่กดดัน เราขอแนะนำให้คุณเพลาๆ การทำงาน เพราะสองสิ่งนี้เป็นปัจจัยที่ทำให้การคั่งน้ำรุนแรงมากขึ้น
  • คุณควรลุกขึ้นเดินทุก 30 นาที โดยเฉพาะถ้าคุณต้องนั่งทำงานที่โต๊ะ การทำเช่นนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการคั่งน้ำบริเวณขา เท้า และข้อเท้า

 หากตอนนี้คุณกำลังเผชิญกับปัญหาร่างกายคั่งน้ำหรือบวมน้ำ คุณก็ควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีรสเค็มหรือโซเดียมสูง และลองใช้วิธีที่เรากล่าวไป แต่หากมันยังไม่หาย หรือไม่มีทีท่าว่าอาการจะดีขึ้น การไปพบแพทย์ก็ถือเป็นทางเลือกที่ดีค่ะ

ที่มา: https://steptohealth.com/how-t...


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Swimming (for Kids). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/kids/swim.html)
How to Tell If Your Water Broke. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/did-my-water-break-2759025)
How to Tell If You’re Dehydrated: Signs, Skin Test, in Pregnancy,. Healthline. (https://www.healthline.com/health/how-to-tell-if-youre-dehydrated)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
3 เหตุผลที่ทำให้การพยายามทำหลายสิ่งขณะขี่จักรยานเป็นความผิดพลาด
3 เหตุผลที่ทำให้การพยายามทำหลายสิ่งขณะขี่จักรยานเป็นความผิดพลาด

การพยายามทำหลายอย่างเกินไปขณะขี่จักรยานอาจกลายเป็นผลเสียได้และนี่คือเหตุผล

อ่านเพิ่ม
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างไร?
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างไร?

ทำความรู้จักเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ หรือเครื่องวัดชีพจร และอัตราการเต้นของหัวใจในการออกกำลังกายแต่ละโซน

อ่านเพิ่ม
ค่าการเต้นของหัวใจสูงสุด - ทำความเข้าใจค่าการเต้นของหัวใจสูงสุดของคุณ
ค่าการเต้นของหัวใจสูงสุด - ทำความเข้าใจค่าการเต้นของหัวใจสูงสุดของคุณ

ค่าอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดสำคัญอย่างไร คำนวณค่าของตัวเองอย่างไร และนำไปคำนวณค่าระดับความเข้มข้นในการออกกำลังกายอย่างไร

อ่านเพิ่ม