กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

12 คำแนะนำเพื่อหน้าใสไร้สิว

แนะนำสิ่งที่ควรทำและควรหลีกเลี่ยง เพื่อให้แลดูหน้าใสไร้สิวอย่างได้ผล
เผยแพร่ครั้งแรก 2 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
12 คำแนะนำเพื่อหน้าใสไร้สิว

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การดูแลผิวหน้าด้านความสะอาด ได้แก่ เช็ดเครื่องสำอางออกจากใบหน้าหลังกลับถึงบ้าน ล้างหน้าก่อนนอนทุกครั้งโดยใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับคนเป็นสิว และหมั่นเปลี่ยนปลอกหมอนเป็นประจำเพื่อลดจำนวนไรฝุ่น
  • การดูแลผิวหน้าด้านการบำรุง ได้แก่ ใช้มอยซ์เจอไรเซอร์ที่ไม่อุดตันรูขุมขน สัมผัสผิวอย่างอ่อนโยนเสมอ ใช้สารผลัดเซลล์ผิวเป็นระยะ เช่น Beta hydroxy acid หรือ Polyhydroxy acid 
  • การดูแลผิวหน้าเมื่อต้องสัมผัส ความจริงแล้วควรสัมผัสใบหน้าให้น้อยที่สุดเพราะมืออาจมีเชื้อโรค ล้างแปรงแต่งหน้าเป็นระยะ ทำความสะอาดมือถือก่อนที่จะนำมาสัมผัสใบหน้า และหากหลีกเลี่ยงได้อาจเปลี่ยนทรงผมอื่นนอกจากหน้าม้าบ้าง
  • ดูแพ็กเกจรักษาสิว ลดรอยสิวได้ที่นี่

แทบทุกคนคงอยากมีผิวสะอาดเกลี้ยงเกลา หรือที่พูดกันโดยรวมว่า “หน้าใสไร้สิว” แต่จะทำวิธีใดจึงจะช่วยให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นผล HD มีคำตอบ กับ 12 คำแนะนำเพื่อหน้าใสไร้สิว

1. ล้างหน้าให้สะอาดก่อนนอนทุกครั้ง

การไม่ล้างหน้าก่อนนอนทำให้เกิดการสะสมสิ่งสกปรกไปทั้งคืน ก่อให้เกิดสิวอุดตันได้ง่าย

2. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าสำหรับคนเป็นสิว

สารเคมีบางชนิด เช่น โซเดียมลอรีลซัลเฟต (Sodium Lauryl Sulfate: SLS) หรือสารก่อให้เกิดฟอง สารกันเสียจำพวกพาราเบน (Paraben) น้ำหอม (Fragrance) กระตุ้นให้เกิดสิวได้มากยิ่งขึ้น ฉะนั้นหากเป็นผู้เกิดสิวง่าย จำเป็นต้องเลือกผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับผิวหน้า และหลีกเลี่ยงสารเคมีเหล่านี้

3. กลับมาบ้านแล้วรีบล้างเครื่องสำอางออกจากใบหน้าให้เร็วที่สุด

สิ่งที่เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ที่ทำให้เกิดสิวอุดตันคือ การแต่งหน้าและการล้างเครื่องสำอางออกไม่สะอาด ดังนั้นเมื่อเลิกจากการทำงานหรือกิจกรรมใดๆ แล้ว ควรรีบล้างเครื่องสำอางออกให้หมด เพื่อลดโอกาสการอุดตันรูขุมขนให้ได้เร็วที่สุด

4. เลือกมอยซ์เจอไรเซอร์ให้เหมาะกับผิวที่เป็นสิว

คนเป็นสิวก็จำเป็นจำต้องใช้ครีมบำรุงผิวที่ให้ความชุ่มชื้นเช่นเดียวกัน โดยแนะนำให้ใช้มอยซ์เจอไรเซอร์ (Moisturizer) ที่ไม่อุดตันรูขุมขน และมีบางชนิดช่วยดูดซับความมันส่วนเกินบนใบหน้าได้อีกด้วย

5. หากต้องสัมผัสผิว พยายามทำอย่างอ่อนโยน

หลีกเลี่ยงการขัดหรือถูผิวหน้าแรงๆ เพราะจะก่อให้เกิดการระคายเคืองผิว ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดสิวขึ้นมาอีกได้ คนเป็นสิวไม่ควรใช้สครับ (Scrub) ที่บาดผิวหน้า และไม่ควรขัดถูแรงจนเกินไป

6. อย่าลืมการผลัดเซลล์ผิว

สารผลัดเซลล์ผิวจะช่วยกระตุ้นการหลุดลอกของเซลล์ผิวเก่า และช่วยเผยเซลล์ผิวใหม่ที่กระจ่างใสกว่าเดิม นอกจากนี้สารบางชนิดยังช่วยลดการอุดตันของบริเวณรูขุมขน เช่น  Beta hydroxy acid (BHA) หรือ Polyhydroxy acid (PHA) เป็นต้น

7. นึกไว้เสมอว่า โทรศัพท์ก็เป็นแหล่งสะสมของสิ่งสกปรก

หากมีสิวขึ้นบริเวณแก้ม บริเวณใกล้หู หรือกรอบหน้าด้านใดด้านหนึ่ง อาจเกิดจากการสัมผัสโทรศัพท์มือถือที่สกปรกก็เป็นได้ ดังนั้นจึงควรทำความสะอาดโทรศัพท์มือถือ โดยเช็ดด้วยแอลกอฮอล์บ้าง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง

8. เลิกจับใบหน้าตัวเอง

ฝ่ามือก็เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคจำนวนมากด้วยเช่นกัน หากนำมือไปสัมผัสใบหน้าบ่อยครั้งเข้าสามารถก่อให้เกิดความสกปรกสะสม และมีสิวขึ้นบริเวณที่คุณสัมผัสเป็นประจำได้

9. หมั่นเปลี่ยนปลอกหมอนเป็นประจำ

ปลอกหมอนเป็นแหล่งรวบรวมของสิ่งสกปรก โดยเฉพาะไรฝุ่น ซึ่งไรฝุ่นนั้นนอกจากก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้แล้ว ยังมีความสกปรก ทำให้เกิดสิวได้อีก

10. เปลี่ยนทรงจากผมหน้าม้าบ้าง

การไว้ผมหน้าม้าทำให้ผิวหน้าบริเวณหน้าผากไม่สามารถระบายความร้อนและก่อให้เกิดความมันสะสมได้ คนที่ไว้ผมหน้าม้าจึงมีโอกาสที่สิวจะขึ้นบริเวณหน้าผากได้ตลอดเวลา

11. ล้างแปรงแต่งหน้าเป็นระยะ

แปรงที่ใช้แต่งหน้าก็เป็นสาเหตุของการเกิดสิวได้เช่นกัน เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่สัมผัสกับเครื่องสำอางตลอดเวลา และยังนำมาใช้บนใบหน้าที่อาจเป็นสิวได้ ฉะนั้นควรล้างแปรงแต่งหน้าอย่างสม่ำเสมอ ขั้นต่ำคือล้างทุกหนึ่งสัปดาห์

12. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอส่งผลให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการอับเสบของผิวหนังและกระตุ้นการเกิดสิวได้ง่ายยิ่งขึ้น หากเรานอนหลับพักผ่อนได้อย่างเพียงพอแล้ว ฮอร์โมนคอร์ติซอลมักจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ   ทำให้ปัจจัยเสี่ยงนี้ลดน้อยลงไปได้ 

ดูแพ็กเกจรักษาสิว ลดรอยสิว เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Andrea L. Zaenglein, MD. Guidelines of care for the management of acne vulgaris J Am Acad Dermatol http://dx.doi.org/10.1016/ j.jaad.2015.12.037.)
John Kraft, MD and Anatoli Freiman, MD. Management of acne CMAJ. 2011 Apr 19; 183(7): E430–E435.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป