การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน (Hormone replacement therapy, HRT)

เผยแพร่ครั้งแรก 29 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 9 นาที
การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน (Hormone replacement therapy, HRT)

บทนำ

การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน (Hormone replacement therapy, HRT) คือการบำบัดรักษาอาการต่างๆ ในสตรีวัยหมดประจำเดือน (Menopause) ซึ่งเกิดมาจากฮอร์โมนเพศหญิงลดต่ำลงเมื่ออายุมากขึ้น

วัยหมดประจำเดือน เกิดจากการที่รังไข่หยุดสร้างไข่ทุกๆ 4 สัปดาห์ นั่นหมายถึงประจำเดือนจะหมดไปและไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ตามธรรมชาติอีกต่อไป วัยหมดประจำเดือนจะเริ่มขึ้นเมื่ออายุประมาณ 50 ปี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจระดับฮอร์โมนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 382 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ฮอร์โมน เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน เป็นฮอร์โมนสำคัญในเพศหญิงเนื่องจากเป็นตัวควบคุมสภาพร่างกายและอารมณ์ การลดลงของฮอร์โมนเหล่านี้จึงส่งผลกระทบต่อสตรีวัยหมดประจำเดือนได้ เช่น มีอาการร้อนวูบวาบ อารมณ์แปรปรวน และช่องคลอดแห้ง ดังนั้นเป้าหมายของการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนคือการลดอาหารเหล่านี้ลงในหญิงวัยหมดประจำเดือน

ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Oestrogen)

ฮอร์โมนเอสโตรเจน จะมีหน้าที่เร่งการตกไข่ แบะเป็นตัวควบคุมรอบเดือนในเพศหญิงและส่งเสริมการตั้งครรภ์ และเอสโตรเจนยังมีบทบาทควบคุมในด้านอื่นเช่นกัน ดังเช่น ระดับความหนาแน่นของกระดูก อุณหภูมิของผิวหนัง และ ความชุ่มชื่นของช่องคลอด ดังนั้นการลดลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจึงส่งผลสัมพันธ์กับอาการหมดประจำเดือนดังนี้

  • ร้อนวูบวาบ (hot flushes)
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน
  • ช่องคลอดแห้ง
  • ความต้องการทางเพศลดน้อยลง
  • กลั้นปัสสาวะไม่ได้ เช่น มีปัสสาวะเล็ดในขณะไอหรือจาม เป็นต้น
  • กระดูกบางลง ซึ่งอาจเกิดภาวะกระดูกพรุน หรือกระดูกหักได้ในอนาคต

อาการเหล่านี้ส่วนใหญ่จะหายไปภายใน 2-5 ปี แต่อาการช่องคลอดแห้งอาจจะแย่ลงหากไม่ได้รับการรักษา และภาวะกระดูกพรุนอาจเกิดขึ้นได้เมื่ออายุมากขึ้นเช่นกัน

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone)

บทบาทสำคัญของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนคือการเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ และช่วยปกป้องเยื่อบุโพรงมดลูกสำหรับการตั้งครรภ์

ดังนั้นการลดลงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจึงไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกายได้มากเท่ากับเอสโตรเจน แต่อย่างไรก็ตาม การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนโดยใช้เพียงฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างเดียวนั้น จะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเยื่อบุมดลูกได้ (endometrial cancer) จึงมีการใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสังเคราะห์ร่วมกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในการบำบัดรักษาเพื่อลดความเสี่ยงนี้ แต่ในรายที่มีการตัดมดลูกออกแล้ว (hysterectomy) ผู้ป่วยสามารถใช้เพียงเอสโตรเจนเพียงอย่างเดียวได้ 

ฮอร์โมนทดแทนเข้าสู่ร่างกายได้โดยวิธีใดบ้าง  

ฮอร์โมนทดแทนมีทั้งรูปแบบเม็ด แผ่นแปะ หรือแบบฝัง โดยจะให้เมื่อผู้ป่วยมีอาการของสตรีวัยทอง เช่น ร้อนวูบวาบ และมีการพิจารณาถึงความเหมาะสมและประโยชน์ของการใช้ฮอร์โมนแล้วเท่านั้นซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำในการรับการรักษา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

มีฮอร์โมนรูปแบบผสมมีมากมายหลายชนิดดังนี้

  • รูปแบบเม็ด ใช้ได้ง่าย
  • รูปแบบแผ่นแปะ จะใช้วิธีการติดลงบนผิวหนังของผู้ป่วย
  • รูปแบบฝัง จะเป็นการให้ยาชาและฝังแท่งฮอร์โมนลงในผิวหนัง บริเวณหน้าท้อง ต้นขา หรือสะโพก
  • รูปแบบเจล ใช้ทาลงบนผิวและรอให้ฮอร์โมนดูดซึมสู่ผิวหนัง
  • การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเฉพาะที่ในการรักษาอาการช่องคลอดแห้ง หากผู้ป่วยมีเพียงปัญหาเดียวคือช่องคลอดแห้ง ผู้ป่วยสามารถใช้เพียงฮอร์โมนเอสโตรเจนเฉพาะที่ โดยใช้บริเวณช่องคลอดได้ ซึ่งมีรูปแบบครีม หรือแบบวงแหวนสอดในช่องคลอดก็ได้ โดยรูปแบบเฉพาะที่นั้นจะมีผลข้างเคียงน้อยกว่ารูปแบบที่รับเข้าสู่ร่างกายโดยตรง

ควรหยุดการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนเมื่อใด

ส่วนมากจะหยุดเมื่ออาการของการหมดประจำเดือนหมดไป ซึ่งประมาณ 2-5 ปีหลังจากเริ่มบำบัด ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้ค่อยๆลดขนาดการใช้ฮอร์โมนลงมากกว่าการหยุดใช้ทันที ผู้ป่วยอาจมีอาการหมดประจำเดือนได้หลังจากหยุดการบำบัดแต่อาการเหล่านั้นจะหายไปในเวลาประมาณ 2-3 เดือน แต่หากอาการเหล่านั้นไม่หายไปหรืออาการรุนแรงมาก ควรปรึกษาแพทย์ทันที

การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนเหมาะกับใคร

การบำบัดด้วยฮอร์โมนอาจไม่เหมาะสมกับผู้ที่ตั้งครรภ์ หรือมีเงื่อนไขดังนี้

  • มีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูกหรือมะเร็งรังไข่
  • มีประวัติการเป็นลิ่มเลือดอุดตัน
  • มีประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือเส้นเลือดในสมองแตก
  • เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ยังควบคุมไม่ได้
  • เป็นโรคตับ
  • มีประจำเดือนผิดปกติ ต้องได้รับการวินิจฉัยก่อนที่จะเริ่มการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน

ผลข้างเคียงของการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน

ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นในระหว่างการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนอาจมีได้ดังนี้

ข้อดีและความเสี่ยงของการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน

ข้อดีหลักของการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนคือสามารถควบคุมอาการของวัยหมดประจำเดือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้อย่างดี การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนยังสามารถลดความเสี่ยงของการเป็นโรคกระดูกพรุนและมะเร็งลำไส้ได้ในหญิงวัยหมดประจำเดือน  แต่อย่างไรก็ตามไม่แนะนำให้บำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนติดต่อกันเป็นเวลานาน และมวลกระดูกอาจลดลงอย่างรวดเร็วได้หลังจากหยุดการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน

การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนชนิดฮอร์โมนสองชนิดร่วมกันอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก มะเร็งรังไข่ หรือเส้นเลือดในสมองแตกได้เล็กน้อย การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนยังอาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน (Deep Vein Thrombosis) และโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary Embolism) ได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจระดับฮอร์โมนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 382 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำให้ใช้การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนนั้นเพียงระยะสั้นคือน้อยกว่า 5 ปี ซึ่งจะได้รับผลประโยชน์มากกว่าผลเสียที่จะได้รับ

หากต้องใช้การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนนานกว่า 10 ปี ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้หรือต้องผ่านการตรวจสุขภาพทุกปี

ประเภทของการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน

การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน คือการใช้ฮอร์โมนเพื่อทดแทนฮอร์โมนเพศหญิงที่หมดไปเนื่องจากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ซึ่งฮอร์โมนเพศหญิงประกอบด้วย เอสโตรเจน (oestrogen) สกัดได้จากพืชบางชนิดหรือจากปัสสาวะของม้าที่ตั้งครรภ์ และโปรเจสเตอโรน (progesterone) ซึ่งมาจากการสังเคราะห์จะเรียกว่า โปรเจสโตรเจน (progestogen) ซึ่งจะเป็นรูปแบบที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ง่ายกว่า

วิธีการเลือกการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนให้เหมาะสม

การเลือกวิธีการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีความยุ่งยากและมีเงื่อนไขมากมาย ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับข้อวินิจฉัยของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยมีรายละเอียดคร่าวๆ ดังนี้

การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนในขนาดฮอร์โมนต่ำ จะถูกแนะนำให้กับผู้เริ่มต้นการรักษา ควรเริ่มจากขนาดที่ต่ำที่สุดที่มีฤทธิ์ในการรักษา เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงให้ต่ำที่สุด และค่อยเพิ่มขนาดขึ้นได้หากจำเป็นต้องเพิ่มในอนาคต

ควรรอผลการใช้การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน 2-3 เดือนเพื่อประเมินว่ารูปแบบการรักษานี้เหมาะสมกับตัวผู้ป่วยหรือไม่ ถ้ายังไม่เหมาะสมจึงค่อยปรับเปลี่ยนต่อไป

การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนนั้นมีหลากหลายประเภท โดยประเภทหลัก 3 ประเภทที่นิยมใช้มีดังนี้

1.การบำบัดด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างเดียว (Oestrogen-only HRT) จะแนะนำให้ใช้ในสตรีที่ผ่านการตัดมดลูกแล้ว เนื่องจะจะไม่มีความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งมดลูกหรือรังไข่ในอนาคต

2.การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนแบบเป็นรอบ (Cyclical HRT) รูปแบบนี้จะเหมาะสมกับสตรีที่มีอาการของการหมดประจำเดือน แต่ผู้ป่วยยังมีรอบเดือนอยู่ ซึ่งแบ่งเป็น 2 แบบดังนี้

  • แบบรอบละ 1 เดือน หมายถึง การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทุกวันและใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอเจนในช่วงท้ายของเดือนประมาณ 12-14 วัน แนะนำให้ใช้ในหญิงที่มีประจำเดือนปกติ
  • แบบรอบละ 3 เดือน หมายถึง ใช้เอสโตรเจนทุกวันและใช้โปรเจสเตอโรนเป็นเวลา 12-14 วัน ทุก 13 สัปดาห์ ซึ่งรูปแบบนี้จะเหมาะกับหญิงที่ประจำเดือนมาไม่ปกติแต่ละรอบเดือน

3.การบำบัดด้วยฮอร์โมนรวมแบบต่อเนื่อง (Continuous combined HRT) รูปแบบนี้จะถูกแนะนำให้ใช้ในสตรีวัยหลังหมดประจำเดือน  (Postmenopausal) คือหมดประจำเดือนมาเป็นเวลามากกว่า 1 ปี โดยเป็นการใช้ฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดคือเอสโตรเจนและโปรเจสโตรเจนร่วมกันต่อเนื่องทุกวัน

การคุมกำเนิด การตั้งครรภ์ และการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน

ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ใช้ในการบำบัดนั้นแตกต่างจากเอสโตรเจนที่ใช้ในยาคุมกำเนิด โดยจะมีขนาดต่ำกว่า ดังนั้นการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนนั้นจึงไม่มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด สตรีวัยหมดประจำเดือนยังสามารถตั้งครรภ์ได้หลังจากหมดประจำเดือนได้ถึง 2 ปี หากยังมีอายุต่ำกว่า 50 ปี ดังนั้นจึงควรใช้การคุมกำเนิดร่วมด้วยโดยวิธีคุมกำเนิดนั้นต้องไม่มีฮอร์โมนเป็นส่วนประกอบ เช่น ถุงยางอนามัย เป็นต้น

การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนเหมาะกับใคร

ผู้ป่วยสามารถใช้การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนทันทีที่เริ่มมีอาการของการหมดประจำเดือน โดยอายุเฉลี่ยของหญิงที่หมดประจำเดือนนั้นอยู่ที่ 51 ปี แต่ถึงกระนั้น บางรายอาจมีอาการของการหมดประจำเดือนเร็วหรือช้ากว่าปกติก็ได้ อาจเป็นช่วงอายุ 30 40 หรือ 60 ได้ ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

ในรายที่มีอาการของการหมดประจำเดือน เช่น ช่องคลอดแห้ง และร้อนวูบวาบ เป็นเวลาประมาณ 3-4 ปีก่อนที่จะหมดประจำเดือน เรียกว่า วัยใกล้หมดประจำเดือน (peri-menopause) อาจเกิดได้จากฮอร์โมนเพศหญิงลดลงและยังมีจำนวนไข่เหลืออยู่ ส่งผลให้อาจมีอาการของการหมดประจำเดือนทั้งที่ยังมีประจำเดือนอยู่ได้

การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนไม่เหมาะสมกับใคร

การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนไม่เหมาะกับผู้ที่มีเงื่อนไขดังนี้

  • เคยมีประวัติมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งมดลูก
  • มีประวัติในเรื่องลิ่มเลือดอุดตัน
  • มีประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือ เส้นเลือดในสมองแตก
  • เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ยังควบคุมไม่ได้
  • เป็นโรคตับ
  • ตั้งครรภ์

ผลข้างเคียงของการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน

ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนต่างมีผลข้างเคียง โดยผลข้างเคียงจะลดน้อยลงเมื่อใช้เป็นเวลานานขึ้น ดังนั้นจึงควรเริ่มใช้ไประยะหนึ่งก่อน หรือประมาณ 3 เดือน จึงค่อยประเมินถึงผลข้างเคียงและปรับเปลี่ยนรูปแบบฮอร์โมนต่างๆ อาจเปลี่ยนเป็นรูปแบบแผ่นแปะ หรือรูปแบบอื่น ลดหรือเพิ่มขนาดฮอร์โมน เป็นต้น

  • ผลข้างเคียงของฮอร์โมนเอสโตรเจน มีดังนี้ ของเหลวคั่งในร่างกาย ท้องอืด คัดตึงเต้านม คลื่นไส้อาเจียนปวดศีรษะ เหน็บชาบริเวณขา อาหารไม่ย่อย เป็นต้น บางอาการอาจแก้ไขได้ เช่น การรับประทานฮอร์โมนพร้อมหรือหลังอาหารจะลดอาการคลื่นไส้ได้ การรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ไขมันต่ำ จะลดอาการท้องอืดได้ และการออกกำลังกาย ยืดกล้ามเนื้อจะลดอาการเหน็บชาบริเวณขาได้ เป็นต้น
  • ผลข้างเคียงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน มีดังนี้ ของเหลวคั่งในร่างกาย คัดตึงเต้านม ปวดศีรษะ ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน เป็นสิว ปวดหลัง น้ำหนักเพิ่ม
  • การมีความเข้าใจถึงผลข้างเคียงต่างๆของการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก และความเสี่ยงต่างๆนั้นมีโอกาสเกิดน้อย และความเสี่ยงต่างๆก็ลดลงหลังจากหยุดใช้ฮอร์โมนทดแทนเช่นกัน
  • 3.ความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านม มีการศึกษาพบว่าการใช้ฮอร์โมนทดแทนนั้นเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมได้ โดยฮอร์โมนรูปแบบผสมนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงมากกว่าการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างเดียว ซึ่งสตรีที่ใช้ฮอร์โมนทดแทนนั้นมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร้งเต้านมได้สูงกว่าหญิงปกติ 2 เท่า และความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นหากใช้ฮอร์โมนเป็นระยะเวลานานขึ้น แต่ความเสี่ยงจะหมดไปเช่นกันหลังจากหยุดใช้ฮอร์โมนเป็นเวลา 5 ปี ดังนั้นการตรวจหามะเร็งเต้านมทุกปีจึงมีความสำคัญ
  • ความเสี่ยงการเกิดมะเร็งรังไข่ มีการศึกษาพบว่าความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งรังไข่จะสูงขึ้นหาก ใช้ฮอร์โมนเป็นระยะเวลานาน แต่ความเสี่ยงจะหมดไปเช่นกันหลังจากหยุดใช้ฮอร์โมนเป็นเวลา 2-3 ปี
  • ความเสี่ยงการเกิดมะเร็งมดลูก หากใช้ฮอร์โมนชนิดโปรเจสโตรเจนเป็นรอบที่ถูกต้องตามแพทย์สั่ง ก็จะไม่มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งมดลูกหรือเยื่อบุมดลูกเกิดขึ้น เนื่องจากความเสี่ยงจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างเดียว ดังนั้นการใช้ฮอร์โมนรวมจะลดความเสี่ยงลงได้
  • ความเสี่ยงเส้นเลือดในสมองแตกและโรคหัวใจ ความเสี่ยงเหล่านี้จะเพิ่มมากขึ้นในสตรีที่ใช้ฮอร์โมนทดทนและสูบบุหรี่ หรือมีน้ำหนักเกิน จะมีความเสี่ยงในการเกิดเส้นเลือดในสมองแตกสูงขึ้น ส่วนรายที่เริ่มใช้ฮอร์โมนทดแทนในอายุน้อยกว่า 60 ปีนั้นจะไม่มีความเสี่ยงในการเกิดเส้นเลือดในสมองแตก ซึ่งในรายที่มีประวัติการเป็นโรคหัวใจหรือเส้นเลือดในสมองแตกก็ไม่แนะนำให้ใช้ฮอร์โมนทดแทนอยู่แล้ว

ทางเลือกอื่นแทนการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน

หากท่านยังไม่แน่ใจหรือไม่เหมาะสมในการใช้วิธีการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนนั้น ก็ยังมีทางเลือกอื่นให้เลือกดังนี้ เพื่อลดอาการของการหมดประจำเดือนได้

  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ดังเช่น การออกกำลังกาย หมั่นทำกิจกรรมและขยับตัว จะสามารถลดอาการร้อนวูบวาบและช่วยการนอนหลับได้ ทั้งนี้ยังสามารถช่วยปรับอารมณ์ ช่วยอาการซึมเศร้าได้เช่นกัน การสวนเสื้อผ้าที่หลวมหรือเนื้อผ้าบางเบาจะช่วยลดความร้อน และช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น นอนหลับในห้องที่มีอากาศถ่ายเทจะช่วยลดอาการร้อนวูบวาบและเหงื่อออกตอนกลางคืนได้ และควรงดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ หรืออาหารรสจัด ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจกระตุ้นการเกิดอาการร้อนวูบวาบได้ เลิกสูบบุหรี่จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งและเส้นเลือดในสมองแตกได้
  •  ทิโบโลน หรือ Tibolone เป็นยาฮอร์โมนที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นเพื่่อใช้ในการรักษาอาการของวัยหมดประจำเดือน ซึ่งเป็นสารที่ประกอบด้วยทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนผสมกันใน 1 เม็ด ดังนั้นผู้ที่ไม่สามารถใช้วิธีการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนได้เนื่องจากมีประวัติมะเร็งต่างๆ ก็ไม่สามารถใช้ยาทิโบโลนได้เช่นกัน
  • ยารักษาอาการซึมเศร้า (Antidepressants) ยาในกลุ่มนี้บางชนิดสามารถลดอาการร้อนวูบวาบได้ เช่น เวนลาฟาซีน (venlafaxine) และ ซิตาโลแพรม (citalopram) แต่ยากลุ่มนี้อาจมีผลข้างเคียงคือ ปากแห้งคอแห้ง คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ ได้ บางชนิดอาจลดความต้องการทางเพศของผู้ใช้ลง แต่อาการข้างเคียงเหล่านี้จะลดลงเมื่อใช้ไปเป็นเวลานาน
  • คลอนิดีน (Clonidine) เป็นยาที่มีข้อบ่งใช้ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง แต่ในบางการศึกษาพบว่าคลอนิดีน สามารถช่วยบรรเทาอาการร้อนวูบวาบและเหงื่อออกตอนกลางคืนได้ แต่คลอนิดีนก็มีผลข้างเคียง ดังเช่น ปากแห้งคอแห้ง ง่วงนอน วิงเวียนศีรษะ ซึมเศร้า ท้องผูกและของเหลวคั่งในร่างกาย ได้ โดยควรใช้คลอนิดีน 2-4 สัปดาห์เพื่อเป็นการทดสอบว่ายาช่วยลดอาการร้อนวูบวาบและเหงื่อออกตอนกลางคืนได้หรือไม่ในผู้ป่วยแต่ละราย
  • การแพทย์ทางเลือก (Complementary therapies) อาจใช้สมุนไพรบางชนิด เช่น น้ำมันจากอีฟนิ่งพริมโรส (evening primrose oil) แบล็ค โคฮอช (black cohosh) ตังกุย และโสม เป็นต้น สมุนไพรบางชนิดอาจเกิดปฏิกิริยากับยาที่ท่านใช้อยู่เป็นประจำ ดังนั้นจึงควรสอบถามเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนใช้สมุนไพรเสมอ นอกจากสมุนไพร อาจมีการแพทย์ทางเลือกชนิดอื่น เช่น โยคะ  สุคนธบำบัด (Aromatherapy) การนวดกดจุดสะท้อนเท้า (Reflexology) เป็นต้น แต่ยังไม่มีหลักฐาน หรือการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่รองรับชัดเจน

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hormone Replacement Therapy | HRT | Menopause. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/hormonereplacementtherapy.html)
Hormone replacement therapy (HRT). NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/hormone-replacement-therapy-hrt/)
Hormone replacement therapy: Uses, types, and alternatives. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/181726)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)