การคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน และการเกิดลิ่มเลือด

การคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน เช่น การรับประทานยาคุมกำเนิดแบบเม็ดชนิดผสม การใช้แผ่นแปะ และวงแหวนคุมกำเนิด อาจมีผลทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดได้
เผยแพร่ครั้งแรก 4 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน และการเกิดลิ่มเลือด

ด้วยความสงสัยว่าปริมาณของ Estrogen และชนิดของ Progestin ในวิธีคุมกำเนิด อาจเป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดขึ้น ทำให้ตั้งแต่ปี 1970 จนถึงปัจจุบัน ได้มีการปรับสูตรยาของยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนหลายครั้ง จึงมีการศึกษาหลากหลายช่วงเวลากับหลากหลายกลุ่มประชากรเกิดขึ้นมาเป็นผลพลอยได้ ซึ่งแต่ละการศึกษาก็ได้ให้ผลลัพธ์ที่ต่างกันออกไป

ส่วนมากแล้วนักวิจัยพบว่า การคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน เช่น การใช้ยาคุมกำเนิด จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน Estrogen ที่มีทั้งยาเม็ดคุมกำเนิด วงแหวนคุมกำเนิด และแผ่นแปะฮอร์โมนคุมกำเนิด จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ใช้วิธีคุมกำเนิดประเภทนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ลิ่มเลือด คืออะไร?

เลือดคือสิ่งที่ไหลเวียนไปทั่วร่างกายผ่านท่อที่แตกแขนงออก เรียกว่าหลอดเลือด (Blood Vessels) เมื่อเลือดไหลออกห่างจากหัวใจ หลอดเลือดที่เรียกว่าหลอดเลือดแดง (Arteries) จะนำเลือดที่อุดมไปด้วยออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงร่างกาย เมื่อเลือดชนิดนี้ไปถึงเป้าหมายแล้ว การแลกเปลี่ยนก๊าซจะเกิดขึ้นไปตลอดหลอดเลือดฝอย (Capillaries) เพื่อนำเลือดที่ดีไปเลี้ยงเนื้อเยื่อโดยรอบ และหลังจากนั้นเลือดที่มีออกซิเจนน้อยจะไหลกลับไปยังหัวใจผ่านทางหลอดเลือดดำ (Veins)

ในร่างกายของคนที่มีสุขภาพดี เลือดจะคงอยู่ภายในหลอดเลือดและไม่ไหลซึมเข้าไปใต้ชั้นผิวหนัง แต่หากเกิดการบาดเจ็บหรือรั่วไหลของหลอดเลือด ร่างกายจะมีกระบวนการเพื่อที่จะอุดรูรั่วไหลของเลือดอย่างรวดเร็ว ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่าการก่อลิ่มเลือด (Clotting) เกิดจากโปรตีนที่อยู่ในกระแสเลือดที่จะถูกกระตุ้นและเกาะตัวกันกลายเป็นจุกอุดแผล ซึ่งลิ่มเลือดนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในหลอดเลือดดำและแดง

บางครั้งลิ่มเลือดก็อาจเกิดขึ้นในตำแหน่งที่ไม่ควรจะเกิด และสร้างความเสียหายขึ้นมา เช่น

การเกิดภาวะดังกล่าว อาจทำให้ลิ่มเลือดสามารถเคลื่อนตัวไปยังสมองหรือหัวใจ ส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดสมองหรือหัวใจวาย ซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดผสม กับการเกิดภาวะลิ่มเลือด

ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดผสม ประกอบด้วย Estrogen และ Progestin จากการศึกษาพบว่า ผู้ใช้ยาคุมชนิดนี้ที่อยู่ในช่วงก่อนหมดประจำเดือน (Premenopausal People) จะมีโอกาสประสบกับภาวะ VTE มากกว่ากลุ่มผู้หญิงก่อนหมดประจำเดือนที่ไม่ได้ใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน

ปริมาณและชนิดของฮอร์โมนในยาเม็ดก็ส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดมากกว่ากลุ่มอื่น เมื่อมีปริมาณ Estrogen ในยาเพิ่มขึ้น จะทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดทุกชนิดเพิ่มขึ้นด้วย ขณะเดียวกันความเสี่ยงต่อลิ่มเลือด อาจขึ้นอยู่กับชนิดของ Progestin ได้เช่นกัน โดยยาเม็ดที่ประกอบด้วย Progestin Levonorgestrel มักจะมีความเสี่ยงต่อ VTE น้อยลง เมื่อเทียบกับยาเม็ดที่มี Progestins Desogestrel, Gestodene, Drospirenone หรือ Cyproterone Acetate

การคุมกำเนิดรูปแบบอื่นๆ สามารถทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดได้หรือไม่

แผ่นแปะคุมกำเนิด และวงแหวนสอดช่องคลอดคุมกำเนิด จัดอยู่ในกลุ่มของวิธีการคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมนแบบผสม โดยรูปแบบของการคุมกำเนิดเหล่านี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด VTE และภาวะหลอดเลือดสมองมากกว่าการใช้ยาเม็ดอีกด้วย

ส่วนการคุมกำเนิดด้วย Progestin เพียงอย่างเดียว ซึ่งมีทั้งรูปแบบการฉีด การใช้ห่วงคุมกำเนิดฮอร์โมน (hormonal intrauterine device (IUD)) การฝังคุมกำเนิด (The Contraceptive Implant) และยาเม็ดที่มีเพียง Progestin มีผลปรากฎว่าไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดใดๆ ทั้งสิ้น

ที่มาของข้อมูล

Maegan Boutot, Nicole Telfer, Hormonal birth control and blood clots (https://helloclue.com/articles/sex/hormonal-birth-control-and-blood-clots), 23 มกราคม 2019


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
DVT and Birth Control Pills Risks, Symptoms, Causes, and Options. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/dvt_and_birth_control_pills_oral_contraceptives/article.htm)
Hormonal contraception and thrombosis. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/27678035/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป