Home Remedy for Burns: 11 Home Remedies to Soothe 11 วิธีรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก

เผยแพร่ครั้งแรก 13 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
Home Remedy for Burns: 11 Home Remedies to Soothe 11 วิธีรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก

11 วิธีการรักษาต่อไปนี้เป็นวิธีการรักษาด้วยสิ่งที่ทุกบ้านมีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นยาสีฟันหรือน้ำผึ้ง ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อนและรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกให้หายเร็วขึ้นได้

1. ห้ามใช้น้ำแข็งประคบเป็นอันขาด!

เนื่องจากน้ำแข็งจะไปหยุดการไหลเวียนของเลือดในบริเวณผิวที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก นอกจากนี้ยังทำให้เนื้อเยื่อเสียหายได้ แต่วิธีการต่อไปนี้จะเป็นวิธีการรักษาที่ถูกต้อง หลังจากที่ผิวของคุณโดนไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ให้รีบนำผิวบริเวณนั้นรองน้ำเย็นให้น้ำไหลผ่านประมาณ 20 นาที จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดลงได้ นอกจากนี้อาจลองใช้ว่านหางจระเข้เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าว่านหางจระเข้เป็นยารักษาแผลไฟไหม้ได้ โดยว่านหางจระเข้จะช่วยยับยั้งอาการปวด การติดเชื้อ ลดอาการบวม และช่วยกระตุ้นการฟื้นคืนสภาพและการซ่อมแซมผิว

2. ยาสีฟันเปปเปอร์มินต์

การใช้ยาสีฟันเปปเปอร์มิ้นต์เป็นวิธีที่ง่ายมากวิธีหนึ่ง หากผิวของคุณบังเอิญไปสัมผัสกับความร้อนหรือโดนน้ำร้อนลวก แนะนำให้หายาสีฟันเปปเปอร์มินต์ติดครัวเอาไว้ วิธีการคือ ให้นำผิวบริเวณที่โดนความร้อนล้างผ่านน้ำเย็นเสียก่อน จากนั้นเช็ดเบาๆ ให้แห้งแล้วจึงทายาสีฟันลงไปบนแผล

3. วานิลลาสกัด

วานิลลาสกัดสามารถรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกได้ เนื่องจากวานิลลาสกัดมีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์สามารถช่วยลดอาการปวดร้อนได้ วิธีการคือ ใช้สำลีชุบวานิลลาสกัดแล้วเช็ดบริเวณแผล

4. ถุงชาดำ

เนื่องจากชาดำมีส่วนประกอบของกรดแทนนิคที่สามารถดูดซับความร้อนจากแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกได้ และช่วยให้อาการปวดร้อนน้อยลง วิธีการคือ ใช้ถุงชาดำที่ชงแล้วและปล่อยให้เย็นลง 2-3 ถุง วางลงบนแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก พันด้วยผ้าก๊อซทิ้งไว้สักพักจะช่วยลดอาการปวดร้อนได้

5. น้ำส้มสายชู

เนื่องจากน้ำส้มสายชูมีส่วนประกอบของกรดอะซิติก ซึ่งเป็นส่วนประกอบของแอสไพรินที่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวด คัน และอาการอักเสบได้ นอกจากนี้ยังเป็นเหมือนน้ำยาฆ่าเชื้อและยาสมานแผล ที่จะช่วยป้องกันแผลจากการติดเชื้อและดูดซับความร้อนจากการถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกได้ 

วิธีการคือ ชุบผ้าขนหนูหรือสำลีด้วยน้ำส้มสายชูที่เจือจางแล้วทาลงบนแผลเบาๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

6. น้ำผึ้ง

เป็นที่ทราบกันดีว่าน้ำผึ้งถือเป็นยารักษาอาการเจ็บคอได้อย่างดีเพราะน้ำผึ้งสามารถยับยั้งการติดเชื้อ ซึ่งสามารถป้องกันแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกไม่ให้ติดเชื้อได้ด้วยเช่นกัน 

โดยน้ำผึ้งจะช่วยปรับสมดุลค่าความเป็นกรดด่างของผิวทำให้เชื้อแบคทีเรียไม่สามารถแพร่กระจายได้ และการทาน้ำผึ้งลงบนแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกจะช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียหรือการติดเชื้อภายใต้ชั้นผิวหนัง นอกจากนี้ น้ำผึ้งยังมีคุณสมบัติช่วยดูดซับความร้อน บรรเทาอาการปวด และรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น

7. นม

ไขมันและโปรตีนในนมจะช่วยบรรเทาอาการปวดร้อนและรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น วิธีการคือ แช่ผิวที่โดนความร้อนกับนมประมาณ 15 นาที นอกจากนี้ โยเกิร์ตธรรมชาติก็สามารถช่วยดูดซับความร้อนและเพิ่มความชื้นให้กับผิวที่เป็นแผลได้เช่นกัน

8. ข้าวโอ๊ต

ด้วยคุณสมบัติของข้าวโอ๊ตที่สามารถลดอาการอักเสบได้ ข้าวโอ๊ตจึงถูกนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกโดยเฉพาะเมื่อแผลเริ่มแห้งและตกสะเก็ดแล้วเกิดอาการคันทำให้คุณอาจเผลอแกะเกาที่แผล 

วิธีการคือ ในกรณีที่มีแผลขนาดใหญ่ ให้ใส่ข้าวโอ๊ตลงในอ่างหรือกะละมังน้ำที่จะใช้อาบปริมาณ 1 ถ้วยตวง แช่ผิวบริเวณที่โดนความร้อนทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แต่หากแผลมีขนาดเล็ก เทข้าวโอ๊ตลงในชามหรือกะละมังที่มีน้ำ แช่ผิวบริเวณที่โดนความร้อนทิ้งไว้ จากนั้นปล่อยให้ผิวแห้งเองโดยไม่ต้องเช็ดน้ำออก 

น้ำข้าวโอ๊ตจะช่วยรักษาอาการคันที่เกิดจากสะเก็ดแผลได้ นอกจากนี้ คุณสามารถเติมเบกกิ้งโซดาลงไปในน้ำข้าวโอ๊ตได้ด้วยเพื่อช่วยยับยั้งการติดเชื้อของแผลที่เกิดขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

9. น้ำมันมะพร้าว

เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวนั้นอุดมไปด้วยวิตามินอีที่สามารถบำรุงผิวได้อย่างดีเยี่ยมและยังมีกรดไขมันที่ช่วยป้องกันเชื้อราและต้านเชื้อแบคทีเรีย โดยไม่ทำให้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกของคุณเกิดการติดเชื้อ 

อย่างไรก็ตามแผลที่เกิดขึ้นอาจทิ้งรอยอันไม่สวยงามไว้กับผิวของคุณ แต่มีวิธีการแก้ไขดังนี้ ผสมน้ำมะนาวกับน้ำมันมะพร้าวแล้วนวดลงบนรอยแผลที่แห้งแล้ว กรดในน้ำมะนาวจะช่วยให้แผลเป็นที่เกิดขึ้นจางลง ในขณะที่น้ำมันมะพร้าวจะช่วยรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น

10. น้ำมันดอกลาเวนเดอร์

ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 นักเคมีชาวฝรั่งเศสได้ค้นพบพลังบำบัดของน้ำมันดอกลาเวนเดอร์ เมื่อมือของเขาถูกไฟไหม้อย่างรุนแรงระหว่างทำการทดลองในห้องแล็ปและเขาได้จุ่มมือลงไปในโถน้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์ 

เขาพบว่าอาการปวดร้อนและแผลจากการถูกเผานั้นหายลงอย่างรวดเร็ว วิธีการคือ ผสมน้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์บริสุทธิ์ 1 ช้อนชา กับน้ำเปล่าประมาณ 60 มล.ในขวดสเปรย์ เวลาใช้ให้เขย่าขวดและพ่นลงบนผิวที่มีอาการได้บ่อยเท่าที่ต้องการ 

นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้ทีทรีออยล์หรือน้ำมันดอกวิชฮาเซลแทนน้ำมันดอกลากเวนเดอร์ได้ด้วย ซึ่งน้ำมันดังกล่าวมีคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกัน

11. วิตามินซีและอี

เรามักคิดว่าวิตามินซีนั้นจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อเป็นหวัดเท่านั้น แต่คุณรู้หรือไม่ว่าจริงๆ แล้ววิตามินซีมีประโยชน์มากมายตั้งแต่การรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบไปจนถึงการบำรุงรักษาผิวหนังเลยทีเดียว 

พบว่าวิตามินซีนั้นสามารถรักษาแผลตามผิวหนังและยังกระตุ้นให้เกิดการผลิตคอลลาเจนภายใต้ผิวหนังซึ่งจะช่วยให้เกิดการผลิตผิวหนังทดแทนผิวที่เสียไปได้ ส่วนวิตามินอีนั้นมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยซ่อมแซมและรักษาผิว เพื่อให้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกของคุณหายเร็วขึ้น 

แนะนำให้ทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซีและอี หรือทานวิตามินซีเสริมในปริมาณ 2,000 มก. และวิตามินอีในปริมาณ 1,000UI ต่อสัปดาห์ อีกวิธีหนึ่งคือ หากวิตามินอีมาในรูปแบบของแคปซูล คุณสามารถแกะแคปซูลออกแล้วใช้ผงวิตามินทาลงบริเวณแผลก็จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นและป้องกันการเกิดแผลเป็นได้เช่นกัน


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How To Treat A Burn: First Aid Treatment for Thermal Burns. WebMD. (https://www.webmd.com/first-aid/thermal-heat-or-fire-burns-treatment)
Natural Burn Remedies and Ointments. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/burn-remedies-89945)
9 home remedies for burns and scalds. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/319768)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป