กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

15 เคล็ดลับบรรเทาอาการคัดจมูก

เป็นหวัด คัดจมูก รักษาอย่างไรได้บ้างนอกจากรับประทานยา
เผยแพร่ครั้งแรก 16 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 17 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
15 เคล็ดลับบรรเทาอาการคัดจมูก

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการคัดจมูกสามารถรักษาได้ด้วยสมุนไพรหลายชนิด เช่น หัวแรดิชทะเล ขิง กระเทียม ใบไทม์ ใบสะระแหน่ น้ำมันยูคาลิปตัส
  • การดื่มน้ำให้มากๆ โดยเฉพาะการจิบน้ำอุ่นอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดเสมหะและบรรเทาอาการคัดจมูกได้ หรืออาจลองเลือกชาบางชนิดมาดื่ม เช่น ชาเขียวร้อน ชาดำร้อน ชาขิง ชาเปบเปอร์มินต์
  • การรับประทานอาหารประเภทที่มีแร่ธาตุสังกะสีและโปรตีนมากๆ จะช่วยให้กระบวนการทำงานของเซลล์ในร่างกายมีประสิทธิภาพมากขึ้น และ ออกกำลังกายให้เหงื่อออกวันละ 15 นาที จะช่วยให้ร่างกายขับของเสียออกมาในรูปแบบเหงื่อ ทำให้อาการไข้หวัดบรรเทาลง
  • เพื่อป้องกันอาการไข้หวัดที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ควรเข้ารับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ และป่วยเป็นโรคชนิดนี้ 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

คุณอาจไม่รู้ว่า อาการของโรคไข้หวัดไม่จำเป็นต้องบรรเทาได้ด้วยยาต้านไวรัส หรือยาปฏิชีวนะเท่านั้น แต่การรู้จักเคล็ดลับการดูแลตนเองบางอย่าง ก็สามารถบรรเทาอาการแสนน่ารำคาญของโรคนี้ลงได้ โดยเฉพาะอาการคัดจมูกน้ำมูกไหล

คุณสามารถลองทำคำแนะนำต่อไปนี้ เพื่อบรรเทาอาการของโรคไข้หวัดให้ดีขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. รับประทานหัวแรดิชทะเล หรือฮอร์สแรดิช

แรดิชทะเล หรือฮอร์สแรดิช (Radish หรือ Horseradish) เป็นพืชชนิดหนึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกันกับมัสตาร์ดและวาซาบิ เป็นชนิดของสมุนไพรที่ใช้สำหรับอาการไซนัส และขับน้ำมูกเวลาเป็นโรคไข้หวัดได้ 

วิธีใช้หัวแรดิชทะเลในการบรรเทาไข้หวัดคือ หั่นหัวแรดิชทะเลแล้วใส่เพิ่มไปในแซนวิชมื้อเช้า หรือลองผสมแรดิชบด 1 ช้อนโต๊ะ กับน้ำมันมะกอก 1 ช้อนชา และน้ำมะนาว 1 ช้อนชา แล้วทาลงบนขนมปังแครกเกอร์ 

นอกจากนี้คุณอาจลองหั่นหัวแรดิชใส่ลงในหม้อขณะหุงข้าว หรือใส่ไปกับมันฝรั่งบด หากอาการไข้หวัดของคุณค่อนข้างหนักและเรื้อรัง ให้รับประทานหัวแรดิชตั้งแต่เริ่มมีอาการ จะทำให้ร่างกายขับน้ำมูกออกมาได้เร็วขึ้น 

2. รับประทานขิง

หั่นขิงเป็นแผ่นขนาดประมาณ 3 นิ้ว แล้วต้มขิงในน้ำร้อน 2 ถ้วยตวง ปิดฝาหม้อไว้ประมาณ 20 นาที จากนั้นปิดเตา และจุ่มผ้าสะอาดลงในน้ำขิงต้ม คุณต้องแน่ใจด้วยว่า ผ้าที่ชุบน้ำขิงนั้นจะไม่ร้อนเกินไปสำหรับผิวหน้าของคุณ 

จากนั้นใช้ผ้าประคบไว้บริเวณหน้าโดยเน้นที่บริเวณจมูกประมาณ 15 นาที โดยท่านอนของคุณควรอยู่ในท่าที่ศีรษะสูงขึ้นมาเล็กน้อยเพื่อให้น้ำมูกไหลแห้งเร็วขึ้น 

นอกจากนี้การดื่มน้ำขิงร้อนๆ ก็จะช่วยบรรเทาอาการหวัดคัดจมูกได้เช่นกัน เนื่องจากขิงมีคุณสมบัติในการป้องกันอาการอักเสบได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

3. อบด้วยสมุนไพรเพื่อระงับเชื้อ

ใช้ใบไทม์ (Thyme) อบแห้ง 3 ช้อนชา และใบสะระแหน่แห้ง 3 ช้อนชา (หรือใช้ชาเปปเปอร์มิน 3 ซอง) ใส่ลงในชามแล้วเติมน้ำร้อน เอนศีรษะให้ใบหน้าอยู่เหนือชามประมาณ 8-10 นิ้ว แล้วคลุมศรีษะและชามด้วยผ้าขนหนู 

จากนั้นให้คุณอบและสูดดมกลิ่นสมุนไพรประมาณ 10 นาที ทำเช่นนี้ 2-3 ครั้งต่อวัน หรือตามที่ต้องการจนกว่าคุณจะรู้สึกโล่งจมูกและสบายขึ้น เพราะสมุนไพรไทม์มีคุณสมบัติที่สามารถต้านเชื้อแบคทีเรียได้ ส่วนสารเมนทอลธรรมชาติในสะระแหน่จะช่วยลดอาการคัดจมูก ทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น

4. นวดกดจุดด้วยตนเอง

วิธีการนวดกดจุดด้วยตนเองคือ ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือซ้ายและนิ้วชี้ซ้ายกดบริเวณระหว่างคิ้ว ตรงบริเวณหัวจมูก ขณะเดียวกันให้ใช้นิ้วมือและอุ้งมืออีกข้างกดบีบกล้ามเนื้อบริเวณท้ายทอย กดทั้ง 4 จุด ประมาณ 1 นาที จะรู้สึกว่า อาการคัดจมูกดีขึ้น

นอกจากนี้ให้นวดศีรษะให้ตนเองด้วยการใช้นิ้วโป้งทั้ง 2 ข้าง นวดบริเวณขมับไล่ไปจนถึงระหว่างคิ้วนานประมาณ 5 นาที หรือไปนวดผ่อนคลายอย่างน้อยเดือนละครั้ง 

เพราะการนวดเป็นการกระตุ้นเลือดลมในร่างกายให้ไหลเวียนดีและทำให้ร่างกายสามารถผลิตออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์เม็ดเลือดแดงได้อย่างเพียงพอ ส่งผลให้คุณมีสุขภาพดีขึ้น

5. อบด้วยน้ำมันยูคาลิปตัส

น้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่า สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียหลายสายพันธุ์ได้ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและเป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อเป็นไซนัสได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิธีการคือ ผสมน้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัส 5 หยด ลงในชามน้ำร้อนประมาณ 1 ลิตร เอนศีรษะให้ใบหน้าอยู่เหนือชามแล้วคลุมศรีษะกับชามด้วยผ้าขนหนู อบและสูดดมกลิ่นสมุนไพรประมาณ 10-15 นาที ทำเช่นนี้ 3-4 ครั้งต่อวันในขณะที่คุณมีอาการคัดจมูก

6. จิบน้ำส้มสายชูแอปเปิ้ลไซเดอร์

ลองหยิบน้ำส้มสายชูแอปเปิ้ลไซเดอร์จากห้องครัวของคุณมาใช้ประโยชน์ดู เนื่องจากน้ำส้มสายชูแอปเปิ้ลไซเดอร์มีส่วนประกอบของโพแทสเซียมที่จะช่วยลดเสมหะและกรดอะซิติก (Acetic Acid) ซึ่งช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่อาจเป็นสาเหตุของอาการคัดจมูก 

ลองผสมน้ำส้มสายชูแอปเปิ้ลไซเดอร์ 1 ช้อนชา กับน้ำเปล่า 1 แก้วแล้วดื่มเพื่อบรรเทาอาการ

7. เครื่องพ่นไอน้ำช่วยได้

อาการคัดจมูก หรือภาวะไซนัส มักเกิดขึ้นเมื่ออากาศที่หายใจเข้าไปนั้นแห้งมากเกินไปจนทำให้เรารู้สึกหายใจอึดอัด เครื่องพ่นไอน้ำจะช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศ ช่วยบรรเทาอาการอักเสบของไซนัส และช่วยระบายอาการคัดจมูกที่เกิดขึ้นได้

8. ดื่มน้ำให้มาก

การดื่มน้ำให้มาก หรือจิบน้ำอุ่นอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดเสมหะ ช่วยให้จมูกแห้งเร็วขึ้น และบรรเทาอาการคัดจมูกได้ ดังนั้นคุณควรจิบน้ำบ่อยๆ หรือดื่มชาอุ่นๆ เช่น ชาขิง และชาเปปเปอร์มินต์ ซึ่งถือเป็นตัวเลือกที่ดีในการช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกได้

นอกเหนือจากชาทั้งสองชนิดด้านบนแล้ว ยังมีชาเขียวร้อน หรือชาดำร้อน ที่จะช่วยกระตุ้นให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น หรือหากมีอาการเจ็บคอ คัดจมูกร่วมด้วยก็ควรเพิ่มน้ำมะนาว และน้ำผึ้งลงไป 

โดยน้ำมะนาวจะช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย ลดน้ำมูก และเสมหะ ส่วนน้ำผึ้งจะทำให้ชุ่มคอ และอาการเจ็บคอก็จะดีขึ้น

9. จิบชาเปปเปอร์มินต์

สารเมนทอลในสะระแหน่สามารถช่วยลดเสมหะ และช่วยให้หายใจโล่งขึ้นได้ เพราะความร้อนของชาและสารเมนทอลจะบรรเทา และฟื้นฟูระบบทางเดินหายใจให้เป็นปกติ

10. กระเทียม

กระเทียมมีสารประกอบที่สามารถต้านเชื้อแบคทีเรียได้ดี ในแต่ละมื้ออาหารให้ใส่กระเทียมสดลงไปในเมนูโปรด หรือลองต้มดื่มเป็นชา โดยการหั่นกระเทียมและต้มกับน้ำร้อนจะช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น

11. พริกคาเยนป่นช่วยได้

สารแคปไซซินในพริกคาเยน (Cayenne Pepper) ป่นสามารถช่วยลดเสมหะ และทำให้หายใจสะดวกขึ้น นอกจากนี้ พริกคาเยนยังมีส่วนประกอบของสารต้านการอักเสบ และช่วยลดอาการคัดจมูกน้ำมูกไหลได้ 

คุณสามารถโรยพริกคาเยนป่นลงไปในอาหารจานโปรด หรือจิบเป็นชา โดยใช้ผงพริกคาเยน ¼ ช้อนชา ชงกับน้ำร้อน

12. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

หากรู้ตัวว่า กำลังเป็นไข้หวัด คุณควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไว้ก่อน เพราะนอกจากจะช่วยให้ร่างกายหายช้าลงแล้ว แอลกอฮอล์ในเครื่องดื่มยังมีผลต่อการสูบฉีดเลือดลมให้ไหลเวียนภายในร่างกายมากกว่าปกติ รวมถึงทำให้หัวใจจะเต้นเร็ว และอาจทำให้คุณนอนไม่หลับได้

13. บำรุงด้วยธาตุสังกะสี

เพราะในช่วงที่ป่วยเป็นไข้หวัด คุณจะเผชิญกับอาการอ่อนเพลียง่าย ไม่มีแรง จึงควรรับประทานอาหารประเภทโปรตีน และแร่ธาตุสังกะสีให้เพียงพอ เพราะสารอาหารสำคัญทั้ง 2 ชนิดนี้จะช่วยให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคมากขึ้น 

นอกจากนี้โปรตีนกับสังกะสียังช่วยให้กระบวนการทำงานของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายกลับมาทำหน้าที่ตามปกติด้วย สำหรับอาหารประเภทนี้ ได้แก่ อาหารจำพวกปลา ไข่ไก่ และโยเกิร์ต ส่วนอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสีสูง ได้แก่ ถั่วชนิดต่าง ๆ เนื้อสัตว์ ไข่แดง และนม 

14. ออกกำลังกายให้เหงื่อออก

สำหรับผู้ที่มีอาการไข้สูงควรนอนพักผ่อนให้ร่างกายได้พักฟื้น หากมีอาการไอ คัดจมูก น้ำมูกไหล แต่ยังมีเรี่ยวแรงพอออกกำลังกายได้ ก็ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 15 นาทีต่อวัน ร่างกายจะได้อุ่นขึ้น และขับของเสียออกมาในรูปของเหงื่อ 

หากทำแบบนี้ทุกวันก็จะช่วยบรรเทาอาการหวัดได้

15. พักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนหลับตอนกลางคืนเป็นช่วงที่ร่างกายได้พักผ่อน และฟื้นฟูตัวเองได้ดี ดังนั้นการนอนจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยปกติแล้วคุณควรนอนวันละ 7-8 ชั่วโมง แต่สำหรับคนป่วยสามารถนอนได้มากกว่า 1-2 ชั่วโมง 

อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรนอนติดเตียงทั้งวัน แต่ควรลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวร่างกายให้ระบบของร่างกายมีการเผาผลาญ เลือดลมมีการไหลเวียนบ้าง และที่สำคัญที่สุดคือการล้างมือสม่ำเสมอเพื่อลดการแพร่กระจายไปยังคนอื่น

หากอาการดีขึ้นจากโรคไข้หวัดด้วยเคล็ดลับเหล่านี้ อย่าลืมไปบอกต่อคนรอบตัวให้ลองปฏิบัติตามดูบ้าง เพราะการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รวมถึงฟื้นฟูร่างกายจากอาการป่วยในหลายครั้งๆ ก็สามารถทำได้ด้วยตนเอง หรืออาศัยวัตถุดิบทางธรมมชาติใกล้ตัวนี่เอง ไม่ต้องไปพบแพทย์

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Everyday Health, 7 Natural Remedies for Congestion Relief and Stuffy Nose (https://www.everydayhealth.com/cold-flu/treatment/natural-congestion-remedies/), 28 May 2020.
WebMD , 12 Home Remedies for the Cold: Nasal Spray, Steam, & More (https://www.webmd.com/cold-and-flu/cold-guide/cold-remedies#1), 28 May 2020.
Healthline, 8 Ways to Clear a Stuffy Nose: Breathe Better (https://www.healthline.com/health/stuffy-nose-relief), 27 May 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป