กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ภาวะคอเลสเตอรอลสูง - สาเหตุ และการวินิจฉัย

เผยแพร่ครั้งแรก 24 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
ภาวะคอเลสเตอรอลสูง - สาเหตุ และการวินิจฉัย

ปัจจัยต่าง ๆ สามารถส่งผลต่อการเกิดภาวะคอเลสเตอรอลสูงได้ โดยเฉพาะวิถีชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพ สภาวะทางการแพทย์ รวมไปถึงประวัติครอบครัวซึ่งเป็นปัจจัยคงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเองได้

สาเหตุของภาวะคอเลสเตอรอลสูง

ปัจจัยหลายอย่างสามารถส่งผลต่อระดับคอเลสเตอรอลในเลือดให้สูงขึ้นได้ ทั้งปัจจัยด้านวิถีชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ การทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และขาดการออกกำลังกาย ตลอดจนภาวะทางการแพทย์ของคนแต่ละคน เช่น ความดันโลหิตสูงหรือโรคเบาหวาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ปัจจัยด้านวิถีชีวิต

ไลฟ์สไตล์ที่ไม่เหมาะสมของคุณสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูงได้มากมาย ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่:

  • อาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ - การทานอาหารบางอย่าง เช่น เครื่องในสัตว์ ตับ ไต และไข่จะมีคอเลสเตอรอลอยู่ปริมาณหนึ่ง แต่สิ่งนี้มีผลเพียงเล็กน้อยต่อระดับคอเลสเตอรอลในเลือด สิ่งที่ควรคำนึงถึงมากกว่านั้น คือ ปริมาณไขมันอิ่มตัวทั้งหมดในอาหารเหล่านั้นมากกว่าซึ่งสามารถส่งผลให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูงตามมาได้
  • ขาดการออกกำลังกาย หรือไม่ได้ออกแรงเลย - สิ่งนี้จะทำให้เกิดไขมันเลว (LDL) ในร่างกายของคุณมากขึ้น
  • โรคอ้วน - หากคุณมีน้ำหนักเกิน เป็นไปได้ว่าคุณจะมีระดับคอเลสเตอรอล และไขมันไตรกลีเซอไรด์ในระดับที่สูงกว่าคนอื่นๆ รวมถึงไขมันดี (HDL) น้อยกว่าคนทั่วไป
  • การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินพอดี - การได้รับแอลกอฮอล์เป็นปริมาณมากสามารถเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลและไขมันไตรกลีเซอไรด์ได้
  • การสูบบุหรี่ - สารเคมีในบุหรี่ซึ่งเรียกว่า สาร acrolein จะยับยั้งไขมันดี (HDL) ไม่ให้ขนส่งคอเลสเตอรอลจากบริเวณสะสมไขมันไปยังตับ นำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็งได้

ปัจจัยสภาวะทางการแพทย์

คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมักจะมีภาวะคอเลสเตอรอลสูงร่วมด้วยอยู่เสมอ

บางภาวะทางสุขภาพอื่น ๆ ที่อาจทำให้ระดับคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น ได้แก่ :

  • โรคไต
  • โรคตับ
  • โรคไฮโปไทรอยด์ หรือภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ (hypothyroidism)

การรักษาโรคเหล่าสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้อีกด้วย

ปัจจัยอื่น ๆ

มีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะคอเลสเตอรอลสูงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมอง แพทย์มักจะเรียกกลุ่มปัจจัยนี้ว่า "ปัจจัยคงที่" (Fixed factors)

ปัจจัยคงที่ของภาวะคอเลสเตอรอลสูงได้แก่:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ประวัติครอบครัวเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary heart disease) หรือโรคหลอดเลือดสมอง - คุณมีแนวโน้มที่จะมีภาวะคอเลสเตอรอลสูงถ้าคุณมีญาติผู้ชายสายตรง (เช่น พ่อหรือพี่ชาย) อายุต่ำกว่า 55 ปี หรือญาติผู้หญิงสายตรง (เช่น แม่หรือพี่สาว) อายุต่ำกว่า 65 ปี เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมองอยู่แล้ว
  • ประวัติครอบครัวเกี่ยวกับภาวะที่เกี่ยวกับคอเลสเตอรอล เช่น การมีพ่อ แม่ พี่ชายหรือน้องสาว ภาวะไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรมซึ่งเป็นภาวะที่ส่งต่อกันในครอบครัว
  • อายุ - ยิ่งมีอายุมากเท่าใด โอกาสที่หลอดเลือดของคุณจะแคบลงยิ่งมากเท่านั้น
  • เชื้อชาติ - คนที่มีเชื้อสายอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ และศรีลังกามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจวายสูงขึ้น
  • เพศ - เพศชายมีแนวโน้มเกิดโรคหัวใจวายมากกว่าเพศหญิง

หากคุณพบว่าคุณมีปัจจัยเสี่ยงคงที่ตัวหนึ่งหรือหลายตัว สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ ควรดูแลวิถีการดำเนินชีวิตและสภาวะทางการแพทย์ที่จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อโรคต่างๆได้อีก

ภาวะไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรม (Familial hypercholesterolaemia)

ภาวะไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรม เป็นคำเรียกทางการแพทย์สำหรับภาวะคอเลสเตอรอลสูงที่ส่งต่อกันในครอบครัวซึ่งเกิดจากการกลายพันธุ์ หรือการเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรม (ยีน) แล้วสืบทอดต่อมาจากพ่อแม่แทนที่จะเกิดจากวิถีชีวิตที่ไม่เหมาะสม

คนที่เป็นภาวะไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรมจะทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นกว่าคนทั่วไปตั้งแต่แรกเกิดซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดปัญหาหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็งและโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น

ความชุกของโรคทางพันธุกรรมนี้ส่งผลต่อประมาณ 1 ใน 500 คน

และมีโอกาสครึ่งหนึ่ง (50%) ที่ลูก หรือน้องชาย หรือน้องสาวของคนที่เป็นภาวะไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรมจะเกิดมามีโรคทางพันธุกรรมนี้เช่นเดียวกัน

การวินิจฉัยโรค

ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดวัดได้โดยตรงจากการตรวจเลือดแบบง่าย ๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การตรวจระดับคอเรสเตอรอล

เลือดที่ถูกเจาะไปนั้นจะนำไปวิเคราะห์หาค่าระดับไขมันเลว (LDL) ระดับไขมันดี (HDL) และสารไขมันอื่น ๆ เช่น ไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดของคุณ

คุณอาจถูกขอให้งดน้ำและอาหารต่าง ๆ 10-12 ชั่วโมงก่อนการตรวจเลือดเพื่อวัดระดับคอเลสเตอรอล ซึ่งเวลานี้จะรวมช่วงเวลาที่คุณนอนหลับตอนกลางคืนไปด้วย เพื่อให้มั่นใจได้ว่าอาหารที่คุณทานทุกอย่างถูกย่อยแล้วโดยสิ้นเชิง และจะไม่ส่งผลต่อผลลัพธ์ของการตรวจ

แพทย์หรือพยาบาลประจำตัวของคุณสามารถทำการเจาะเลือดเพื่อตรวจระดับคอเลสเตอรอลและจะนำตัวอย่างเลือดมาใช้โดยการใช้เข็มร่วมกับกระบอกฉีดยาหรือจิ้มที่ปลายนิ้วของคุณ

ปัจจุบัน มีการใช้การทดสอบชนิดใหม่ที่ใช้วัดสารลิโพโปรตีนกลุ่มที่ไม่ใช่ความหนาแน่นสูง (non-HDL) ซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากเป็นวิธีที่แม่นยำกว่าในการประเมินความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าการวัดเพียงค่าของไขมันเลว หรือสารลิโพโปรตีนความหนาแน่นต่ำ (LDL) ตามปกติ

สารลิโพโปรตีนกลุ่มที่ไม่ใช่ความหนาแน่นสูง (non-HDL) นั้นหมายถึง ระดับคอเลสเตอรอลทั้งหมดที่มีในเลือดลบด้วยค่าระดับไขมันดี (HDL) นอกจากนี้ การตรวจนี้ยังไม่จำเป็นต้องอดอาหารระยะเวลานานก่อนมาตรวจจึงทำให้สะดวกต่อผู้ป่วยยิ่งขึ้น

ใครควรได้รับการตรวจเลือดบ้าง?

แพทย์ของคุณอาจแนะนำให้คุณตรวจหาระดับคอเลสเตอรอลในเลือด หากคุณ:

  • ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ หรือโรค โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน
  • อายุเกิน 40 ปี - ผู้ที่มีอายุเกินกว่า 40 ปี ควรได้รับการประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอย่างสม่ำเสมอ
  • มีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ตัวอย่างเช่น ถ้าพ่อหรือพี่ชายของคุณเป็นโรคหัวใจ หรือมีอาการหัวใจวาย หรือเป็นโรคหลอดเลือดสมองก่อนอายุ 55 ปี หรือถ้าคุณแม่หรือน้องสาวของคุณมีอาการเหล่านี้ก่อนอายุ 65 ปี
  • มีสมาชิกในครอบครัวสายตรงมีอาการเกี่ยวกับคอเลสเตอรอล เช่น การมีภาวะไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรม
  • มีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน
  • เป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือโรคเบาหวาน
  • มีภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ เช่น โรคไต โรคฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ หรือตับอ่อนอักเสบ (pancreatitis) ภาวะเหล่านี้อาจทำให้ระดับคอเลสเตอรอลหรือไขมันไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้น

ผลการตรวจ

หลังจากการเจาะเลือด และการวิเคราะห์ผลเลือด แพทย์หรือพยาบาลของคุณจะอธิบายผลลัพธ์ที่ได้ของคุณ และประเมินว่าคุณมีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่ อย่างไรในช่วง 10 ปีข้างหน้า

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการอ่านค่าระดับคอเลสเตอรอลในเลือดของคุณเท่านั้น แพทย์ยังจะคำนึงถึง:

  • ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ของคุณ - ซึ่งวัดน้ำหนักของคุณเปรียบเทียบกับความสูงของคุณว่ามีความเหมาะสมหรือไม่
  • ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถรักษาได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และภาวะทางการแพทย์อื่น
  • อายุ เพศ ประวัติครอบครัว และเชื้อชาติของคุณ

อ้างอิงจากผลการตรวจดังกล่าว แพทย์ของคุณจะแนะนำขั้นตอนที่คุณสามารถทำได้เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรืออุดตัน

ขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้อาจรวมถึงคำแนะนำเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต เช่น การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น การทานอาหารที่เพิ่มปริมาณกรดไขมันโอเมก้า 3 หรือการออกกำลังกายให้มากขึ้นและสม่ำเสมอ

นอกจากนี้ แพทย์อาจแนะนำให้คุณใช้ยาลดระดับคอเลสเตอรอล เช่น ยา Statins

ภาวะไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรม (Familial hypercholesterolaemia)

ผู้ที่เป็นภาวะไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรม หรือมีคอเลสเตอรอลสูงแต่กำเนิดมีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน

ซึ่งผลของโรคทางพันธุกรรมนี้ทำให้ความเสี่ยงในการพัฒนาโรคหัวใจ และอาจนำไปสู่ภาวะที่ร้ายแรงต่อชีวิต จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่ผู้ที่อาจมีภาวะไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรมต้องได้รับการวินิจฉัยให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และได้รับการรักษาที่เหมาะสมก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว

สถาบันแห่งชาติเพื่อการดูแลสุขภาพและความเป็นเลิศของสหราชอาณาจักรนั้นแนะนำว่าผู้ใหญ่ที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูงกว่า 290 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ควรได้รับการประเมินภาวะไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรมก่อนได้รับการรักษาใดๆ

หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรม คุณจะได้รับการแนะนำให้ทำการประเมินต่อโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งอาจรวมถึงการตรวจดีเอ็นเอ (สารพันธุกรรมที่อยู่ภายในเซลล์) เพื่อยืนยันการวินิจฉัยดังกล่าวต่อไป

คุณได้รับการแนะนำการรักษาที่เหมาะสม และสมาชิกในครอบครัวของคุณที่อาจได้รับผลกระทบควรได้รับการตรวจด้วยเช่นกัน

คุณจะได้รับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และควรได้รับการตรวจซ้ำอย่างละเอียดอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อตรวจสอบว่าการรักษาที่ให้กับคุณนั้นทำงานได้ดีเพียงใด และประเมินอาการใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้น

ภาวะไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรมในเด็ก

เด็กที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรม จะได้รับการตรวจตามกำหนด คือเวลาที่พวกเขามีอายุครบ 10 ปี

นี่เป็นเพราะอาการใด ๆ ของโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น การหนาตัวของผนังหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจจะสามารถตรวจพบได้ที่ระดับอายุนี้เช่นเดียวกัน

การประเมินจะทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความชำนาญในเรื่องภาวะไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรมในเด็กและเยาวชน

การวินิจฉัยโรคไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรมแต่เนิ่น ๆ  จะทำให้คุณสามารถทำการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต และรับวิธีการรักษาที่เหมาะสมอื่น ๆ เพื่อลดปัญหาระยะยาวที่เกี่ยวข้องกับภาวะคอเลสเตอรอลสูง และช่วยให้สุขภาพและคุณภาพชีวิตต่อไปในระยะยาวดีขึ้นได้

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/blood-and-lymph/high-cholesterol#diagnosis

บทความที่เกี่ยวข้อง
การตรวจไขมันในเลือด บอกโรคได้ !


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
healthline.com, High cholesterol (https://www.healthline.com/health/high-cholesterol), January 10, 2018
familydoctor.org, High cholesterol (https://familydoctor.org/condition/cholesterol/)
medicalnewstoday.com, High cholesterol (https://www.medicalnewstoday.com/articles/9152.php), January 16, 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เราควรบริโภคน้ำตาลมากแค่ไหน?
เราควรบริโภคน้ำตาลมากแค่ไหน?

สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญกล่าว

อ่านเพิ่ม
รู้จักไข่ไก่ ประโยชน์ และวิธีกินให้ดี คอเลสเตอรอลไม่เกิน
รู้จักไข่ไก่ ประโยชน์ และวิธีกินให้ดี คอเลสเตอรอลไม่เกิน

รู้จักแหล่งโปรตีนราคาถูกที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ เพียงแต่ต้องรับประทานให้ถูกหลักและเหมาะสม

อ่านเพิ่ม