กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ภาวะคอเลสเตอรอลสูง (High cholesterol)

เผยแพร่ครั้งแรก 24 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ภาวะคอเลสเตอรอลสูง (High cholesterol)

หนึ่งในภาวะทางการแพทย์ที่คุ้นหูกันดี ภาวะคอเลสเตอรอลสูงนี้สามารถนำไปสู่โรคร้ายแรงที่คร่าชีวิตผู้ป่วยหลายล้านคนต่อปี ทั้ง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง

บทนำ

คอเลสเตอรอลเป็นสารไขมันที่เรียกเป็นทางการว่ากลุ่มลิพิด (lipid) และมีความสำคัญต่อการทำงานในชีวิตประจำวันของร่างกาย คอเลสเตอรอลถูกสร้างขึ้นส่วนใหญ่ที่ตับ แต่ยังสามารถพบได้ในอาหารหลายชนิดที่คุณทานเข้าไปทุกวัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ภาวะปริมาณไขมันในเลือดสูงเกินไปอย่างมาก (hyperlipidemia) นั้นอาจมีผลต่อสุขภาพของคุณ

ภาวะคอเลสเตอรอลสูงเองมักไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ โดยตรง แต่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพของคุณและนำไปสู่โรคหรือภาวะอันตรายต่าง ๆ ทางการแพทย์ได้

คอเลสเตอรอลคืออะไร

ปกติแล้ว คอเลสเตอรอลจะอยู่ในเลือดของคุณร่วมกับสารกลุ่มโปรตีน เมื่อทั้งสองสารรวมตัวกันจะถูกเรียกว่า สารลิโพโปรตีน (lipoproteins)

สารลิโพโปรตีนแบ่งออกเป็นสองชนิดหลัก ๆ คือ

  • สารลิโพโปรตีนความหนาแน่นสูง (high-density lipoprotein: HDL) - ทำหน้าที่ขนคอเลสเตอรอลออกจากเซลล์ และพากลับไปที่ตับเพื่อย่อยสลาย หรือขับออกจากร่างกายในรูปแบบของเสีย ด้วยเหตุนี้จึงเรียก HDL หรือสารลิโพโปรตีนความหนาแน่นสูงนี้ว่า "ไขมันดี” และยิ่งมีมากก็ยิ่งดีต่อสุขภาพ
  • สารลิโพโปรตีนความหนาแน่นต่ำ (low-density lipoprotein: LDL) - ทำหน้าที่ขนคอเลสเตอรอลไปยังเซลล์ที่ต้องการ แต่ถ้ามีคอเลสเตอรอลมากเกินไปเกินความต้องการของเซลล์ สารนี้ก็สามารถสร้างคราบไขมันในผนังหลอดเลือดแดงได้ และนำไปสู่โรคของหลอดเลือดแดงหลายชนิด ด้วยเหตุนี้จึงเรียก LDL หรือ สารลิโพโปรตีนความหนาแน่นต่ำว่า "ไขมันเลว"

ปริมาณของคอเลสเตอรอลในเลือด - ทั้งสองชนิด คือ ไขมันดี และไขมันเลว - สามารถวัดได้จากการเจาะตรวจเลือด

ระดับคอเลสเตอรอลที่เหมาะสมในเลือดของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน  ขึ้นอยู่กับว่ามีความเสี่ยงสูงหรือต่ำในการเป็นโรคหลอดเลือดแดงของคนคนนั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ทำไมฉันจึงควรลดคอเลสเตอรอล?

มีหลักฐานมากมายแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ระดับคอเลสเตอรอลสูงสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด:

  • โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis)
  • โรคหัวใจวาย (heart attack)
  • โรคหลอดเลือดสมอง (stroke)
  • ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ (transient ischaemic attack: TIA)
  • โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (peripheral arterial disease: PAD)

เนื่องจากคอเลสเตอรอลสามารถฝังและอุดตันตามผนังหลอดเลือดได้ ทำให้จำกัดการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจ สมอง และส่วนที่เหลือของร่างกาย นอกจากนี้ ยังเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดภายในร่างกายของคุณ

ความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจจะเพิ่มขึ้นตามระดับคอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้น โรคนี้จะทำให้เกิดความเจ็บปวดในทรวงอก หรือตามแขนของคุณในช่วงที่มีความเครียดหรือออกแรง เรียกว่า ภาวะเจ็บแน่นหน้าอก (angina)

คอเลสเตอรอลสูงจากอะไร

มีปัจจัยหลายอย่างที่สามารถเพิ่มโอกาสของการมีปัญหาหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมอง ถ้าคุณมีภาวะคอเลสเตอรอลสูง

ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ได้แก่:

  • อาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ - โดยเฉพาะการทานไขมันชนิดอิ่มตัวสูง (Saturated fat) ในปริมาณมาก
  • การสูบบุหรี่ - สารเคมีที่พบในบุหรี่ที่เรียกว่า acrolein จะยับยั้งไขมันดี (HDL) ไม่ให้ขนคอเลสเตอรอลจากบริเวณสะสมไขมันไปยังตับ นำไปสู่โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis
  • มีประวัติโรคเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง
  • มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคหัวใจ

นอกจากนี้ยังมีสภาวะหนึ่งที่สืบทอดผ่านทางพันธุกรรมซึ่งเรียกว่า โรคไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรม (hypercholesterolaemia) ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะคอเลสเตอรอลสูงได้แม้จะรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ควรเข้ารับการตรวจระดับคอเลสเตอรอลเมื่อใด

แพทย์ประจำตัวของคุณอาจแนะนำให้คุณตรวจเลือดหาระดับคอเลสเตอรอลหากคุณ:

  • เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ หรือโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน
  • มีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตั้งแต่อายุน้อย ๆ
  • มีญาติสายตรงซึ่งมีอาการเกี่ยวกับภาวะคอเลสเตอรอลในเลือด
  • น้ำหนักเกิน
  • เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือภาวะทางสุขภาพที่ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของระดับคอเลสเตอรอลในเลือด

ระดับคอเลสเตอรอลของฉันควรมีค่าเท่าใด

คอเลสเตอรอลในเลือดวัดออกมาเป็นหน่วยที่เรียกว่า มิลลิโมลต่อลิตร หรือในประเทศไทยนิยมหน่วยวัดเป็น มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL) ซึ่งคุณอาจเคยเห็นในใบตรวจเลือดของคุณ

โดยทั่วไป ระดับคอเลสเตอรอลทั้งหมด (total cholesterol) ที่เหมาะสมควรเท่ากับ:

  • 193 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรหรือน้อยกว่า สำหรับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี
  • 154 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรหรือน้อยกว่า สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง

โดยทั่วไป ระดับไขมันเลว (LDL) ควรเท่ากับ:

  • 116 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรหรือน้อยกว่า สำหรับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี
  • 77 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรหรือน้อยกว่า สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง

ระดับไขมันดี (HDL) ที่ต้องการในอุดมคติ คือ มากกว่า 39 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร การมีระดับไขมันดีต่ำเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ

อาจมีการคำนวณอัตราส่วนของคอเลสเตอรอลเทียบกับระดับไขมันดีด้วย คือ เอาค่าระดับคอเลสเตอรอลทั้งหมดของคุณหารด้วยระดับไขมันดีของคุณ โดยทั่วไป อัตราส่วนนี้ควรต่ำกว่า 4 ในขณะที่ผู้ป่วยซึ่งมีอัตราส่วนสูงขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากขึ้นตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม ภาวะคอเลสเตอรอลสูงเป็นเพียงปัจจัยเสี่ยงอันหนึ่งของโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง และการรักษาเฉพาะภาวะนี้จะขึ้นอยู่กับว่ามีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การสูบบุหรี่หรือเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่

การลดระดับคอเลสเตอรอล

ขั้นตอนแรกในการลดคอเลสเตอรอลของคุณ คือ การทานอาหารให้ดีต่อสุขภาพ และมีความสมดุล เป็นสิ่งสำคัญว่าควรปรุงให้อาหารของคุณมีไขมันต่ำ

คุณสามารถสับเปลี่ยนอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวเป็นผัก ผลไม้ และธัญพืชได้ ธัญพืชต่าง ๆ นี้ จะช่วยป้องกันไม่ให้ภาวะคอเลสเตอรอลสูงกลับมาเป็นซ้ำ

การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตอื่น ๆ เช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเลิกสูบบุหรี่ (ถ้าคุณสูบบุหรี่) ก็สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมากในการลดระดับคอเลสเตอรอลของคุณ

หากมาตรการเหล่านี้ไม่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดของคุณเลย และคุณมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจสูง แพทย์คุณอาจสั่งยาลดคอเลสเตอรอลให้คุณทาน เช่น ยา Statin

แพทย์ประจำตัวของคุณจะพิจารณาถึงความเสี่ยงของผลข้างเคียงต่าง ๆ จากยา Statin เทียบกับผลประโยชน์ของการลดระดับคอเลสเตอรอลของคุณ ว่าผลประโยชน์ต่อสุขภาพของคุณนั้นมีค่าเกินความเสี่ยงใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการทานยา

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/blood-and-lymph/high-cholesterol


30 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
High Cholesterol Symptoms. Healthline. (https://www.healthline.com/health/high-cholesterol-symptoms)
Cholesterol: What causes high cholesterol?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/9152)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จักไข่ไก่ ประโยชน์ และวิธีกินให้ดี คอเลสเตอรอลไม่เกิน
รู้จักไข่ไก่ ประโยชน์ และวิธีกินให้ดี คอเลสเตอรอลไม่เกิน

รู้จักแหล่งโปรตีนราคาถูกที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ เพียงแต่ต้องรับประทานให้ถูกหลักและเหมาะสม

อ่านเพิ่ม