วัคซีน Hib/MenC

เผยแพร่ครั้งแรก 30 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วัคซีน Hib/MenC

ภาพรวม

วัคซีน Hib / MenC ช่วยปกป้องลูกน้อยจาก 2 สาเหตุของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด วัคซีนนี้จะช่วยปกป้องบุตรหลานตลอดช่วงวัยเด็กของพวกเขา

ลูกจะต้องได้รับวัคซีนรวม Hib / MenC ตั้งแต่มีอายุระหว่าง 12 ถึง 13 เดือนเพื่อ:

  • เพิ่มการป้องกันต่อ Haemophilus influenzae ชนิด บี (Hib)
  • ช่วยป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่เกิดจากแบคทีเรีย Meningococcal กลุ่ม C (MenC)

วัคซีน Hib / MenC ไม่สามารถป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่เกิดจาก:

  • แบคทีเรีย meningococcal กลุ่ม B
  • แบคทีเรียหรือไวรัสอื่น ๆ เช่น pneumococcal หรือคางทูม

Hib คืออะไร?

Hib เป็นการติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรีย Haemophilus influenzae กลุ่ม b สามารถทำให้เกิดโรคที่สำคัญ ๆ เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด ปอดอักเสบและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เยื่อหุ้มสมองอักเสบคืออะไร?

เยื่อหุ้มสมองอักเสบคืออักเสบของเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง ทำให้เกิดความดันต่อสมองส่งผลให้เกิดอาการ เช่น

  • ปวดหัวอย่างรุนแรง
  • คอแข็ง
  • ไม่ชอบแสงสว่าง
  • ง่วงซึม
  • ชัก

เยื่อหุ้มสมองอักเสบสามารถก่อให้เกิด:

  • ตาบอด
  • หูหนวก
  • โรคลมบ้าหมู
  • ความบกพร่องในการเรียนรู้
  • และยังสามารถส่งผลถึงชีวิตได้

ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด คืออะไร?

ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia) เป็นการติดเชื้อที่ส่งผลถึงชีวิตอย่างร้ายแรง อาการเลวร้ายลงอย่างรวดเร็วและความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงกว่าเมื่อเทียบกับโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

อาการที่เป็นสัญญาณของโรคได้แก่ มือและเท้าเย็น ผิวซีด อาเจียนและง่วงซึมมากหรือรู้สึกไม่อยากตื่นจะเกิดขึ้นมาอย่างรวดเร็ว

วัคซีน

วัคซีนรวม Hib / MenC หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า booster จะฉีดให้เมื่อตามกำหนดเมื่อเด็กมีอายุได้ 12 ถึง 13 เดือน ควบคู่ไปกับวัคซีน pneumococcal, MMR และ MenB

วัคซีนนี้จะช่วยกระตุ้นการป้องกันต่อ Hib และช่วยปกป้องลูกน้อยจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือดที่เกิดจากแบคทีเรีย MenC

การฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันคือออะไร?

การฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันคือการเพิ่มการปกป้องจากการฉีดวัคซีนเบื้องต้นที่อาจหมดไปตามเวลา ดังนั้นจึงเป็นการช่วยขยายระยะเวลาการปกป้องต่อไปในชีวิต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

วัคซีน Hib ช่วยป้องกันเด็กจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Haemophilus influenzae type b เท่านั้นไม่สามารถป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบประเภทอื่น ๆ ได้

วัคซีนมีประสิทธิภาพเพียงใด?

โรคที่เกิดจากเชื้อ Hib สามารถส่งผลถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก่อนที่จะมีการใช้วัคซีน Hib มีผู้ป่วยเด็กประมาณ 800 รายในทุกปี

ก่อนที่จะมีการใช้วัคซีน MenC พบผู้ป่วย 1500 รายและ 150 รายเสียชีวิตในแต่ละปีในสหราชอาณาจักร

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าวัคซีนนั้นปลอดภัย

ยาทุกชนิด(รวมทั้งวัคซีน) ได้รับการตรวจสอบเรื่องความปลอดภัยและประสิทธิภาพโดย Medicines and Healthcare Products Regulatory Agency (MHRA) และวัคซีนเหล่านี้ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยอย่างสูงเพื่อให้ใช้งานในประเทศอังกฤษ ประเทศต่างๆในทวีปยุโรป รวมทั้งแจกจ่ายไปสู่หลายล้านคนทั่วโลก

การใช้งานจะถูกดูแลความปลอดภัยโดย MHRA และจะถูกจับตาดูต่อไป

จะได้รับวัคซีนจากที่ไหน

ลูกน้อยจะได้รับการฉีดวัคซีน Hib / Menc C ทีโรงพยาบาล

จะได้รับการฉีดวัคซีนเมื่อไหร่?

ลูกน้อยจะได้รับวัคซีน Hib / MenC ในช่วงอายุระหว่าง 12 ถึง 13 เดือน แพทย์จะเป็นผู้นัดหมายการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กให้กับคุณ 

หลังฉีดวัคซีน

หลังจากการฉีดวัคซีนอาจมีผลข้างเคียง แต่อาการเหล่านี้มักไม่รุนแรง

ผลข้างเคียง

  • บริเวณที่ฉีดยาอาจมีอาการ บวม แดง และปวดเล็กน้อย
  • เด็กกว่าครึ่งหนึ่งที่ได้รับวัคซีนอาจมีอาการหงุดหงิด และประมาณ 1 ใน 20 มีไข้เล็กน้อย หากคุณกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ปรึกษากับแพทย์ทันที 

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)