ฉันควรเข้ารับการตรวจเริมหรือไม่

เผยแพร่ครั้งแรก 1 ต.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 10 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที

โรคเริม โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส herpes simplex virus ซึ่งมี 2 ชนิด และเมื่อติดเชื้อแล้วคุณไม่สามารถบอกได้ว่าคุณเป็นโรคโดยการสังเกตหรืออาศัยความรู้สึกเท่านั้น  ซึ่งก็เหมือนกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ วิธีเดียวที่จะรู้ได้ว่ากำลังเป็นโรคนี้ คือ การเข้ารับการตรวจโรคเริม

ถ้าคุณกำลังมีอาการของโรคเริม เช่น มีกลุ่มตุ่มน้ำพอง ที่บริเวณปากหรืออวัยวะเพศ แนะนำให้ไปพบแพทย์ทันทีที่เป็นไปได้  สำหรับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น ซิฟิลิส อาจมีอาการคล้ายกับโรคเริม แต่วิธีในการรักษานั้นแตกต่างกัน ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่ต้องเข้ารับการตรวจ เพื่อได้รับการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง และปรึกษาแพทย์หากคุณต้องการเข้ารับการตรวจโรคเริม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การวินิจฉัยโรคเริม

แพทย์วินิจฉัยโรคเริม จากการดูอาการของคุณ หรือหากคุณมีแผล ตุ่มน้ำพอง แพทย์อาจจะเก็บของเหลวตัวอย่างจากตุ่มแผลนั้นไปตรวจหาโรค

แต่ถ้าคุณไม่มีรอยแผลแสดงให้เห็น แพทย์หรือพยาบาลอาจจะเจาะเลือดของคุณไปทดสอบหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสเริม (Herpes antibodies)  แต่โดยปกติแล้วการตรวจด้วยวิธีนี้ไม่ได้แนะนำให้ทำกันเป็นปกติ ยกเว้นคุณมีอาการแสดง

การตรวจโรคเริมอาจฟังดูน่ากลัว แต่ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ถือเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบต่อสุขภาพของตัวคุณเอง  โดยการตรวจนี้ทำได้รวดเร็วและเจ็บตัวน้อย นอกจากนั้น การตรวจไม่สามารถบอกได้ว่าคุณติดโรคเริมมาจากใคร และติดมานานแค่ไหน

สถานที่ตรวจโรคเริม

คุณสามารถเข้ารับการตรวจโรคเริมและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านหรือคลินิกที่รับตรวจ

การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการตรวจร่างกายประจำปีหรือการตรวจทางสูตินรีเวช หากคุณต้องการเข้ารับการตรวจจะต้องแจ้งแพทย์หรือพยาบาลทราบก่อนเสมอ ไม่ต้องเขินอาย แพทย์จะช่วยเหลือคุณเอง


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Genital Herpes (https://www.nhs.uk/conditions/... ), 6 September 2017
Genital Herpes - CDC Fact Sheet (https://www.cdc.gov/std/herpes/stdfact-herpes.htm), 28 August 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป