กภ. ธีรวิทย์ วิโรจน์วิริยะกุล นักกายภาพบำบัด
เขียนโดย
กภ. ธีรวิทย์ วิโรจน์วิริยะกุล นักกายภาพบำบัด

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคที่พบบ่อยในวัยทำงาน

ทำความเข้าใจความหมาย อาการ ความรุนแรง วิธีการรรักษา และการฟื้นฟูอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท พร้อมไขคำตอบ ถ้าเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแล้วผ่าตัด จะเดินไม่ได้อีกจริงหรือ?
เผยแพร่ครั้งแรก 31 ต.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคที่พบบ่อยในวัยทำงาน

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นอาการที่พบได้บ่อยในบุคคลวัยทำงาน ทั้งเพศหญิงและเพศชาย เกิดจากหลากหลายสาเหตุ เช่น นั่งทำงานนานๆ ยกของหนัก หรือแม้แต่การออกกำลังกายอย่างไม่ถูกวิธีก็ทำให้เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้

อาการของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมีความรุนแรงหลายระดับ ตั้งแต่ปวดหลังส่วนล่างเล็กน้อย ปวดหลังจนไม่สามารถลุกเดินได้อย่างปกติ ปวดหลังร่วมกับมีอาการชาร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง หรือไม่สามารถเคลื่อนไหวขาได้เลย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษาและตรวจกระดูกสันหลัง วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 72%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทคืออะไร?

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรืออีกชื่อคือ หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท (Herniated nucleus pulposus) เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังในผู้ป่วยวัยกลางคน

โดยปกติแล้ว หมอนรองกระดูกสันหลังคือโครงสร้างที่ทำหน้าที่ลดแรงกระแทกต่อกระดูกสันหลัง และช่วยให้คนสามารถเคลื่อนไหวลำตัวไปในทิศทางต่างๆ ได้อย่างสะดวก

หมอนรองกระดูกสันหลังมีโครงสร้างแบ่งออกเป็น 2 ชั้นใหญ่ๆ ได้แก่

  1. ชั้นนอก เป็นเนื้อเยื่อที่เรียงตัวซ้อนกันเป็นชั้นๆ จนมีความแข็งแรงมาก (Annulus fibrosus)
  2. ชั้นใน เป็นของกึ่งแข็งกึ่งเหลวคล้ายวุ้น (Nucleus pulposus)

เมื่อลำตัวถูกใช้งานในทิศทางที่ไม่เหมาะสมซ้ำๆ เช่น การนั่งทำงานนานๆ มีการบิดหรือเอี้ยวตัวบ่อยๆ หรือออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกมากๆ เช่น การปั่นจักรยานบนพื้นที่ไม่ราบเรียบ รวมถึงถ้ายิ่งยกของหนักๆ ร่วมด้วย ก็จะส่งผลให้โครงสร้างชั้นนอกของหมอนรองกระดูกฉีกขาด และโครงสร้างชั้นในปลิ้นออกมาจากตำแหน่งที่เคยอยู่ ไปกดทับรากประสาทบริเวณใกล้เคียง ทำให้เกิดอาการปวดหลังและอาการอื่นๆ ตามมา รวมถึงอาการที่เรียกกันรวมๆ ว่า หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเกิดได้ที่ส่วนใดของร่างกายบ้าง?

หมอนรองกระดูกสันหลังแทรกตัวอยู่ระหว่างกระดูกสันหลังทุกระดับ ตั้งแต่ระดับคอถึงเอว และหมอนรองกระดูกสันหลังทุกระดับมีโอกาสปลิ้นออกมาทับรากประสาทได้

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มีโอกาสเป็นที่ระดับเอวมากที่สุด เพราะกระดูกสันหลังส่วนนี้เคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง และต้องรับน้ำหนักของร่างกายส่วนบนไว้ด้วย รองลงมาคือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ที่กระดูกสันหลังส่วนคอ และสุดท้ายคือกระดูกสันหลังส่วนอก เพราะเคลื่อนไหวได้ไม่มาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
กายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 198 บาท ลดสูงสุด 92%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มีอาการอย่างไร?

อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือกระดูกสันหลังชั้นในปลิ้นนั้น อาจมีอาการตั้งแต่ปวดเพียงเล็กน้อย นั่งทำงานนานๆ ไม่ได้ ปวดหลังมากจนเดินไม่ไหว มีอาการชาขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง จนถึงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างอ่อนแรงจนขยับไม่ได้เลยก็ได้

ความรุนแรงของอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทขึ้นกับจำนวน ทิศทาง และตำแหน่ง ของหมอนรองกระดูกสันหลังที่ปลิ้นออกมา

โดยทั่วไป เมื่อหมอนรองกระดูกระดับใดมีปัญหา การทำงานของไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลังระดับที่ต่ำลงไปกว่านั้นมักจะมีปัญหาไปทั้งหมด

เมื่อหมอนรองกระดูกสันหลังระดับคอปลิ้นออกมาทับเส้นประสาทและไขสันหลังบริเวณคอ จะทำให้การทำงานของไขสันหลัง (Spinal cord) และเส้นประสาทไขสันหลังระดับคอ (Cervical spinal nerves) บริเวณที่ต่ำกว่าจุดที่มีปัญหา เช่น ไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลังระดับอก (Thoracic spinal nerves) และไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลังระดับเอว (Lumbar spinal nerves) สูญเสียไปทั้งหมด และอาจจะรวมถึงการทำงานของรากประสาทส่วนกระเบนเหน็บ (Cauda equina) ซึ่งควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะและการขับถ่ายเสียไปด้วย

อาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แบ่งตามส่วนที่เป็น มีดังนี้

  1. หมอนรองกระดูกระดับคอ ถ้าหมอนรองกระดูกส่วนนี้มีปัญหา จะมีอาการปวดคอ เคลื่อนไหวคอได้น้อยลงหรือมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว ชาหรืออ่อนแรงแขนข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง นอกจากนั้นมักจะพบการทำหน้าที่ของไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันที่ต่ำลงไปมีปัญหาร่วมด้วย
  2. หมอนรองกระดูกระดับอก ถ้าหมอนรองกระดูกส่วนนี้มีปัญหา จะมีอาการชาบริเวณลำตัว หรือการทำหน้าที่ของไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันที่ต่ำลงไปมีปัญหา
  3. หมอนรองกระดูกระดับเอว ถ้าหมอนรองกระดูกส่วนนี้มีปัญหา จะมีอาการปวดหลัง เคลื่อนไหวเอวและสะโพกได้น้อยลง มีอาการปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว รวมถึงอาจชาหรืออ่อนแรงที่ขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ในผู้ป่วยบางรายอาจพบปัญหาการควบคุมกระเพาะปัสสาวะหรือการขับถ่าย

การรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแต่ละตำแหน่งหมือนกันหรือไม่?

การรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแต่ละระดับนั้นมีวิธีการใกล้เคียงกัน แบ่งได้สองวิธีหลักๆ ก็คือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
กายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 198 บาท ลดสูงสุด 92%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  1. การรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทด้วยการทำกายภาพบำบัด จะเน้นไปที่การลดความเจ็บปวดด้วยเครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น อัลตราซาวนด์ เลเซอร์ เครื่องดึงคอหรือหลัง ร่วมกับการออกกำลังกายทั้งเพื่อสนับสนุนให้หมอนรองกระดูกที่มีปัญหากลับเข้าไปที่เดิม และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบๆ ให้ประคองกระดูกสันหลังบริเวณนั้นมากขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้
  2. การรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทด้วยการผ่าตัด เพื่อซ่อมแซมหมอนรองกระดูกที่มีปัญหา

การจะเลือกใช้วิธีไหนขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ความรุนแรงของอาการ สภาพร่างกายของผู้ป่วย และสถานะภาพทางเศรษฐกิจของผู้ป่วยแต่ละราย เป็นต้น

การผ่าตัดรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังทำให้กลับมาเดินไม่ได้จริงหรือ?

โดยทั่วไป การรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่ไม่รุนแรง การทำกายภาพบำบัดมักเป็นสิ่งแรกที่แพทย์แนะนำให้ และก็มักจะให้ผลการรักษาที่ดี

หากรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทด้วยแนวทางนี้แล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือมีแนวโน้มแย่ลง จนอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตประจำวันของผู้ป่วย การรักษาด้วยการผ่าตัดจึงจะถูกนำมาพิจารณาเป็นทางเลือกถัดไป

ในกรณีของผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่มีอาการรุนแรงมาก แพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดตั้งแต่แรก อย่างไรก็ตามหลังจากการผ่าตัด ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องได้รับการฟื้นฟูให้สามารถกลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้ ด้วยการทำกายภาพบำบัด ซึ่งยังมีผู้ป่วยจำนวนมากลัวว่าหลังการผ่าตัดร่างกายจะไม่เหมือนเดิม เช่น ไม่สามารถก้มหลังได้สุด หรือจะไม่สามารถกลับมาเดินได้อีก ซึ่งไม่เป็นความจริงเสมอไป

หากการผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไม่มีปัญหา และผู้ป่วยได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัดอย่างเหมาะสม ทั้งแพทย์และนักกายภาพบำบัดจะวางแผนร่วมกันเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงที่สุดในระยะเวลาอันสั้นที่สุดอยู่แล้ว

ส่วนผู้ป่วยจำนวนมากที่หลังผ่าตัดก็ยังไม่สามารถกลับมาเดินได้ มักเกิดจากมีหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเป็นเวลานานและกล้ามเนื้อขาฝ่อลีบลงก่อนผ่าตัด หลังจากผ่าตัดจึงจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาฟื้นฟูนานกว่าผู้ป่วยทั่วไป

ดังนั้นหากมีอาการของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท การเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดทันทีเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องรวดเร็วที่สุดจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก

เมื่อมีอาการกมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท สามารถออกกำลังกายได้หรือไม่?

ผู้ป่วยที่มีอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจำเป็นอย่างมากที่จะต้องออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีการออกกำลังกายหลายชนิดที่ถูกคิดค้นโดยนักกายภาพบำบัด เพื่อรักษาอาการหมอนอรองกระดูกทับเส้นประสาทโดยเฉพาะ แต่ผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นจะต้องออกกำลังกายตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัดอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้หมอนรองกระดูกมีปัญหามากขึ้น ซึ่งจะทำให้อาการแย่ลง

ประเภทและความหนักของกายออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแต่ละคน จะต้องได้รับการออกแบบอย่างรอบคอบ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ออกกำลังกายด้วยตนเอง หรือตามคำแนะนำของผู้ที่ไม่ใช่นักกายภาพบำบัดหรือแพทย์โดยเด็ดขาด


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
การผ่าตัดเชื่อมกระดูกผ่านผิวหนัง (TLIF) คืออะไร? ใช้รักษาอะไรได้บ้าง? ตอบครบทุกคำถามโดยแพทย์ | HDmall (https://hdmall.co.th/c/hdinsight-tlif-surgery-by-nakornthon-hospital).
Xiao, Zhi-Feng et al. “Osteoporosis of the vertebra and osteochondral remodeling of the endplate causes intervertebral disc degeneration in ovariectomized mice.” Arthritis research & therapy vol. 20,1 207. 10 Sep. 2018, doi:10.1186/s13075-018-1701-1
Molinos, Maria et al. “Inflammation in intervertebral disc degeneration and regeneration.” Journal of the Royal Society, Interface vol. 12,104 (2015): 20141191. doi:10.1098/rsif.2014.1191

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
กระดูกสันหลังคด ภัยเงียบใกล้ตัว
กระดูกสันหลังคด ภัยเงียบใกล้ตัว

ทำความเข้าใจอาการกระดูกสันหลังคด พฤติกรรมเสี่ยง และแนะนำหลักปฏิบัติเพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกสันหลังคด รวมถึงท่าบริหารง่ายๆ เพื่อแก้ไขอาการเบื้องต้น

อ่านเพิ่ม