อาหารเสริมพวกสมุนไพร มีฤทธิ์เหมือนยาหรือไม่?

เผยแพร่ครั้งแรก 18 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
อาหารเสริมพวกสมุนไพร มีฤทธิ์เหมือนยาหรือไม่?

 ลองไปเดินในร้านขายอาหารสุขภาพสักแห่ง คุณจะพบกับอาหาร เสริมจากหลากหลายสมุนไพรวางเรียงรายเต็มชั้น เราต่างเคยฟังคําบรรยาย สรรพคุณมาแล้ว เอ็คไคนาเซียบํารุงระบบภูมิต้านทาน ใบแปะก๊วยช่วยให้ ความจําดี ราสป์เบอร์รีมีคีโตนช่วยให้น้ําหนักตัวลด ในวิชาชีพแพทย์ของ ผมมีคนถามเรื่องอาหารเสริม “จากธรรมชาติ” ตลอด ผมเข้าใจดีว่าพวกเรา อยากหายจากอาการป่วยไข้ไม่สบาย และอยากป้องกันความเจ็บป่วย มัก จะมีเพื่อนบางคนที่ไม่เชื่อในยาแผนปัจจุบัน และไม่วางใจบริษัทยา แต่เชื่อ การแพทย์ทางเลือก อีกอย่างหนึ่ง คําว่า “สมุนไพร” ฟังดูน่าไว้ใจ จะว่าไป สูตรยาสมุนไพรก็เป็นของธรรมชาติไม่ใช่หรือ ? ถ้าอย่างนั้นก็น่าจะปลอดภัย และดีต่อเราด้วยใช่ไหม ?

เมื่อพูดถึงเรื่องสมุนไพรที่เป็นอาหารเสริมความปลอดภัยไม่ใช่เรื่อง ที่มาคู่กันหรอกครับ ในความเห็นของผม ความจริงคืออาหารเสริมจาก สมุนไพรมีสิทธิ์จะเป็นอะไรที่น่ากลัวที่สุดได้เลย เพราะความที่ธรรมชาติ นี่แหละ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผมไม่ได้เป็นปฏิปักษ์กับการรักษาแบบธรรมชาติ ยาหลายตัวที่เราใช้อยู่ในการแพทย์ปัจจุบันนั้น ก็สกัดมาจากพืชและสมุนไพร อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะนําออกจําหน่าย บริษัทยาถูกกําหนดว่าจะต้องทําการศึกษาก่อนว่าปลอดภัย และต้องมีผลการทดลองใช้ว่ามีประสิทธิภาพจริง ในฐานะที่เป็นแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ ผมเลือกเชื่อตามหลักฐานเหล่านี้ครับ เมื่อเรามองมาทางฝั่งยาธรรมชาติ ผมก็หวังให้มีการประเมินผลการใช้ตาม หลักวิทยาศาสตร์บ้างว่า มีประสิทธิภาพจริงดังที่กล่าวอ้างหรือไม่

เมื่อคุณกินอาหารเสริมจากสมุนไพรหรือกินสูตรสมุนไพรใดๆ คุณ ไม่มีทางรู้เลยว่า มีสารออกฤทธิ์ (เทียบได้กับตัวยา) อะไรบ้าง และปริมาณ ที่มีในผลิตภัณฑ์เดียวกันแต่ละขวดจะเท่ากันหรือไม่ คุณไม่รู้เลยว่า สรรพคุณ ที่อ้างไว้ที่บรรจุภัณฑ์ได้รับการทดสอบและพิสูจน์มาบ้างหรือเปล่าต่างกัน มากกับการกินยาที่แพทย์สั่งจ่าย ซึ่งได้มาตรฐานขององค์การอาหารและยา แห่งสหรัฐอเมริกา

เมื่อครั้งแรกที่ผมพบความจริงนี้ สิ่งที่เหลือเชื่อที่สุดก็คือ ผลมาจาก การตัดสินใจโดยเจตนาของสภานิติบัญญัติเสียด้วย ในปี พ.ศ. 2537 สภาได้บอกกับองค์การอาหารและยา ซึ่งทําหน้าที่ควบคุมดูแลยาให้ปลอดภัย และได้มาตรฐานว่า “ไม่ต้องกํากับดูแลอุตสาหกรรมการผลิตวิตามินและอาหารเสริม” และตามด้วยการผ่านร่างกฎหมายว่าด้วยสุขภาพ การศึกษาอาหารเสริม โดยกฎหมายนี้จัดวางอาหารเสริมในหมวดพิเศษ โดยให้ถือเป็นผลิตภัณฑ์ประเภท “อาหาร” ผู้ผลิตมีหน้าที่ให้คํารับรองว่า ผลิตภาพ ของตนมีความปลอดภัย ก่อนจะจําหน่ายในท้องตลาด แตกต่างจากผลิต ในกลุ่ม “ยา” ที่ต้องได้รับการพิสูจน์ว่าทั้งปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ สรรพคุณนั้นจริงโดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาก่อน จึงจะวางจําหน่ายได้ แต่องค์การอาหารและยาไม่มีอํานาจหน้าที่ไปรับรองอย่างใด องค์การอาหารและยา เสริมว่าปลอดภัยและได้ผล ก่อนผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะออกสู่ผู้บริโภค องค์การอาหารและยากล่าวเสริมว่า “อาหารเสริมต่างจากยาตรงไม่ได้ใช้เพื่อรักษาวินิจฉัยโรค ป้องกัน หรือทําให้ความเจ็บป่วยสิ้นสุดลง” เท่ากับว่า อาหารเสริมไม่สามารถอวดอ้างโดยใช้ข้อความทํานอง “ลดอาการปวดข้ออักเสบ” “รักษาโรคหัวใจ” เพราะถ้อยคำเหล่านี้ เหล่านี้ ใช้ได้เฉพาะการ บรรยายสรรพคุณของ “ยา” เท่านั้น

แปลกใจหรือครับ ? เพราะการโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมมักจะคาบเส้นและล้ำเส้นอยู่บ่อยครั้ง อาหารเสริมสามารถอ้างได้ว่า ช่วยให้ภูมิต้านทานแข็งแรงขึ้น แต่ไม่ใช่บอกว่าป้องกันหวัด อาจบอกว่าช่วยลดน้ำหนักได้ แต่ไม่ใช่รักษาโรคอ้วน ลองเอาอาหารเสริมมาดู แล้วคุณจะได้เห็น เครื่องหมายดอกจันบนฉลาก ถ้าสายตายังดีคุณก็จะเห็นคําอธิบายดอกจันพิมพ์ตัวเล็กจิ๋วว่า ไม่ได้ผ่านการประเมินจากองค์การอาหารและยา

ยิ่งไปกว่านั้น ภายใต้กฎหมายว่าด้วยอาหารเสริมนี้ เมื่อผลิตภัณฑ์ อาหารเสริมนั้นวางจําหน่ายแล้ว องค์การอาหารและยาต้องพิสูจน์ให้ได้ก่อน ว่าอาหารเสริมชนิดนั้น “ไม่ปลอดภัย” ถึงจะสามารถจํากัดการใช้ ตลอดจนให้เก็บผลิตภัณฑ์นั้นออกจากท้องตลาด มาดูผลตอบแทนกันบ้าง ธุรกิจอาหารเสริมนี้มีมูลค่าหลายพันล้านเหรียญ หากมีปัญหาฟ้องร้อง คุณว่าทนายฝ่ายไหนน่าจะชนะคดีครับ ผู้ผลิตเหล่านี้ได้รับมอบหมายให้ “รับรอง” ว่าผลิตภัณฑ์ของตนปลอดภัย และไม่ให้อ้างสรรพคุณที่ทําให้เข้าใจผิดว่า ใช้เป็นยาได้

มาดูผลิตภัณฑ์อาหารเสริมยอดฮิต แอร์บอร์น (Airborne) ที่ผลิต มาป้องกันหวัด ในปี 2551 บริษัทต้องจ่ายมากกว่า 23 ล้านเหรียญเป็นค่า ปรับที่แพ้คดีโฆษณาเป็นเท็จ รายงานที่เสนอในรายการ Good Morning America เปิดเผยเรื่องที่แอร์บอร์นอ้างว่า ได้ให้บริษัทที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ การทดลองทางการแพทย์ทําการศึกษาแบบไม่ทราบทั้ง 2 ฝ่าย (doubleblind) คือมีกลุ่มศึกษาที่ใช้ยาจริงและกลุ่มควบคุมที่ใช้ยาหลอก แต่ที่จริง ทาขึ้นโดยชายสองคนที่ปราศจากุวฒิทางการแพทย์ใด ๆ บริษัทต้องหยุดแอบอ้างถึงอาหารเสริมของตนว่าเป็นสูตรรักษาหวัด ห้ามมีข้อความดังกล่าว ที่กล่องและเปลี่ยนมาใช้คําว่า ช่วยบํารุงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ถึงอย่างไรผมก็เชื่อว่าไม่ได้มีแค่บริษัทนี้บริษัทเดียว ที่สร้างเรื่องเหลวไหลขึ้นมาหลอกคน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เอ็คไคนาเซีย (Echinacea) เป็นอาหารเสริมสมุนไพรยอดนิยม อีกตัวหนึ่งที่ใช้ป้องกันรักษาไข้หวัด โดยมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่ แน่นอนมาสนับสนุนคําอ้าง ในปี 2548 วารสารการแพทย์ New England ได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาเปรียบเทียบ พบว่าการกินเอ็คไคนาเซียเมื่อเป็นหวัด จากเชื้อไวรัสโรตา ไม่เกิดความแตกต่างใด ๆ จากการกินยาหลอก ในปี พ.ศ. 2552 โคเรน (Cochrane) องค์กรอิสระที่มีชื่อเสียงในการเผยแพร่ ผลการวิจัยเชิงสังเคราะห์ได้ตรวจทานงานวิจัยแบบควบคุม 16 ชิ้นที่ เปรียบเทียบการใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากเอ็คไคนาเซียในการป้องกันและ รักษาไข้หวัดผลสรุปคือ ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าป้องกันหวัดได้ อีกงานวิจัย หนึ่งศึกษาว่า ถ้าใช้เมื่อเป็นหวัดแล้ว จะช่วยลดระยะเวลาป่วยหรือความรุนแรงของไข้หวัดลงได้หรือไม่ โดยเทียบกับยาหลอก ผลการศึกษาบางชิ้น พบว่าการใช้เอ็คไคนาเซียอาจมีประโยชน์ในผู้ใหญ่ แต่ไม่ได้ผลในเด็ก ปัญหาอีกอย่างที่พบคือ ความไม่แน่นอนในประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ แต่ละยี่ห้อ ทั้งนี้เพราะแต่ละบริษัทอาจเลือกสมุนไพรสายพันธุ์ย่อยต่าง ใช้จากส่วนของต้นที่ต่างกัน และกระบวนการผลิตที่อาจไม่เหมือนกัน กล่าวได้ว่า การออกฤทธิ์มากน้อยอาจแตกต่างกันไปในแต่ละยี่ห้อ

ถ้าเช่นนั้นควรทําอย่างไรถ้าอยากกินอาหารเสริม ? อย่างแรกคือ ควรหาข้อมูลให้แน่ก่อนว่าสิ่งที่คุณจะกินนั้นปลอดภัย สมุนไพรบางตัวอาจไปเพิ่มหรือลดฤทธิ์ของยาแผนปัจจุบันที่คุณกําลังใช้อยู่ จึงควรปรึกษากับ หมอของคุณก่อน ขณะเดียวกันก็ควรเข้าไปดูเว็บของ NIH ในหัวข้อการ แพทย์เสริมและการแพทย์ทางเลือก คุณจะพบกับคลังข้อมูลด้านประสิทธิภาพของอาหารเสริม ตลอดจนโอกาสก่ออันตราย ในฐานะแพทย์ ผมต้องการ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ ก่อนจะไปแนะนําให้กับคนไข้ คุณก็ควรยึดมาตรฐานเดียวกันนี้กับผลิตภัณฑ์ที่คุณจะรับเข้าสู่ร่างกายเช่นกัน

บทสรุปของหมอเบซเซอร์

ผู้บริโภคโปรดระวัง! นอกจากอาหารเสริมจะไม่ช่วยเรื่องสุขภาพแล้วยังสิ้นเปลือง เงินด้วย สมุนไพรที่เป็นอาหารเสริม ส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกทดสอบอย่างถูกหลักวิทยาศาสตร์ ว่าได้ผลและคําอ้างสรรพคุณที่อยู่บนฉลาก ก็มักไม่ผ่านการประเมินอย่างถูกต้อง ขอให้นึกไว้เสมอว่า การที่อะไรสักอย่างมาจาก “ธรรมชาติ” นั้น ไม่จําเป็นว่าจะต้อง “ปลอดภัย” เสมอไป

 หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุนผู้แต่ง นายแพทย์ริชาร์ด เบซเซอร์  ได้โดยการซื้อหนังสือ “ความจริงจากหมอไขข้อกังขาปัญหาสุขภาพ”


19 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Natural Allergy Remedies: Supplements and Herbs. WebMD. (https://www.webmd.com/diet/features/allergies-allergy#1)
5 Risky Herbal Supplements: St. John's Wort, Kava, Comfrey, Chaparral, and Pennyroyal. WebMD. (https://www.webmd.com/vitamins-and-supplements/features/risky-herbal-supplements#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการพร่องวิตามินเอและการรับวิตามินเอมากเกินขนาด
อาการพร่องวิตามินเอและการรับวิตามินเอมากเกินขนาด

รวมข้อมูลสารอาหารในอาหารเสริมวิตามินเอ และผลกระทบหากร่างกายขาดวิตามินเอมากเกินไป

อ่านเพิ่ม