สมุนไพรตำรับพื้นบ้านและยาโฮมีโอพาธี 2

เผยแพร่ครั้งแรก 11 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
สมุนไพรตำรับพื้นบ้านและยาโฮมีโอพาธี 2

สมุนไพรตำรับพื้นบ้านและยาโฮมีโอพาธี 2

อ่านข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรตำรับพื้นบ้านและยาโฮมีโอพาธี อาทิ เบลสด์ทิสเซิล บุทเชอร์สบรูม แคทส์คลอว์ พริก คาโมมายล์ เชสต์เบอร์รี่ คัมฟรีย์ เดวิลส์คลอว์ ตังกุย และอื่นๆอีกมากมาย แม้บางอย่างจะเคยได้รู้จักกันแล้วแต่รู้หรือไม่ว่าสมุนไพรเหล่านี้มีดีกว่าที่คุณคิด รวมทั้งข้อควรระวังและคำแนะนำในการรับประทาน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

เบลสด์ทิสเซิล (Blessed thistle)

มักนำมาใช้กระตุ้นความอยากอาหาร รักษาปัญหาของระบบทางเดินอาหารสามารถลดอาการไข้และแก้อาการท้องผูกได้ด้วย มีจำหน่ายทั้งในรูปของแคปซูลและแบบน้ำสกัด ปริมาณที่แนะนำคือวันละ 1 ถึง 3 แคปซูลหรือสะสม 10-20 หยดลงในน้ำผลไม้หรือน้ำเปล่าและดื่มวันละครั้งข้อควรระวังหากรับประทานในปริมาณสูงอาจทำให้ปากและหลอดอาหารเกิดอาการไหม้และทำให้มีอาการท้องร่วงได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

บุทเชอร์สบรูม (Butcher’s broom)

  • ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตและลดอาการบวมที่ขาและเท้า บุทเชอร์สบรูมมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องยืนหรือเดินทั้งวันและส่งผลให้ขาบวมในตอนค่ำ สมุนไพรชนิดนี้มีสารสเตียรอยด์ที่ช่วยให้เส้นเลือดดำหดตัวและลดการอักเสบจะช่วยบรรเทาอาการปวดและบวมของข้ออักเสบและรูมาทอยด์ได้ด้วย หลายคนพบว่าบุทเชอร์สบรูม แบบรับประทานหรือแบบถ่ายช่วยลดอาการของโรคริดสีดวงทวารได้ผลดีด้วย
  • มีจำหน่ายทั้งในรูปของแคปซูลและแบบน้ำสกัดปริมาณที่แนะนำคือวันละ 1 ถึง 3 แคปซูลหรือผสม 10-20 หยดในน้ำผลไม้หรือน้ำเปล่าแล้วดื่มวันละครั้ง

แคทส์คลอว์ หรืออูนาเดอกาโต (Cat’s claw หรือ Una de gato)

  • หมอสมุนไพรในอเมริกากลางและใต้ใช้สมุนไพรนี้มาเป็นเวลานับศตวรรษเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกัน แคทส์คลอว์มีสารต้านการอักเสบตามธรรมชาติที่ช่วยในการรักษาโรคข้ออักเสบและสารจากสมุนไพรชนิดนี้ยังมีคุณสมบัติต้านมะเร็งและช่วยให้ผู้ป่วยโรคเอดส์บางคนมีเม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์สูงขึ้น
  • มีจำหน่ายในรูปแคปซูลและปริมาณที่แนะนำคือวันละ 1 ถึง 3 แคปซูล

พริก (Cayenne หรือ Capsicum)

  • พริกและสารสกัดจากพริก จัดได้ว่าเป็นมารดาของเครื่องเทศ ช่วยระบบการย่อยอาหารโดยรวมทั้งหมด ช่วยขับลมได้ดีมากด้วย มีประโยชน์กับไขมันในเลือดโดยช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์และแอลดีแอล หรือคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี นอกจากนั้นแล้วสารซึ่งอยู่ในพริกนี้ยังช่วยกระตุ้นการหลั่งเอนดอร์ฟิน ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ทำให้เราอารมณ์ดีและบรรเทาอาการปวด ผลิตภัณฑ์ในรูปของชาช่วยบรรเทาอาการไม่สบายจากหวัดและความหนาวเย็นได้ยอดเยี่ยม ในรูปของยาทาจะช่วยบรรเทาอาการติดขัดและอักเสบของโรคไขข้อและรูมาตอยด์
  • มีจำหน่ายในรูปแคปซูลขนาดแนะนำคือวันละ 1 ถึง 3 แคปซูล

ข้อควรระวัง: ไม่ควรรับประทานเกินกว่าขนาดที่กำหนดการรับประทานในปริมาณที่สูงอาจทำให้ลำไส้อักเสบและแฮมเป็นอันตรายต่อไตได้ผู้ที่มีปัญหาระบบทางเดินอาหารไม่ควรรับประทานในแบบของยาที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองบริเวณริดสีดวงทวารและไม่ควรทาบริเวณผิวหนังที่มีแผลเปิด

คาโมมายล์ (Chamomile)

  • เป็นพืชที่มีคุณสมบัติลดอาการบิดของลำไส้ และกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหาร มากรับประทานเพื่อรักษาอาการไมเกรน ปวดกระเพาะและบรรเทาอาการวิตกกังวล หากใช้ถ้าภายนอกจะช่วยรักษาแผลบริเวณผิวหนังและเยื่อบุตาอักเสบได้
  • มีวางจำหน่ายในรูปแคปซูลและแบบน้ำสกัดขณะที่แนะนำให้รับประทานคือ 1 แคปซูลวันละ 1 ถึง 3 เวลาหรือผสม 10-20 หยดในน้ำเปล่าและดื่มวันละ 1 ถึง 3 ครั้งสำหรับในรูปของชาติซึ่งรสดีกว่ามากเพียงดื่มวันละ 1 ถ้วยและรื่นรมย์กับรสชาติของมันก็เพียงพอ

ข้อควรระวัง: อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้หลากหลายรวมไปถึงกันหมดสติอย่างไรได้อะไรผู้ที่เป็นภูมิแพ้สารที่เป็นละอองในอากาศคือมีประวัติแพ้ยาแร็กวีด แอสเทอร์ หรือพืชอื่นๆ ในตระกูลใกล้เคียง

เชสต์เบอร์รี่ (Chasteberry)

  • ผลของต้นเชสต์เบอร์รี่แห่งเมดิเตอร์เรเนียน (หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าต้นไวเท็กซ์) ยังคงได้รับความนิยมในยุโรปซึ่งนิยมใช้มันในการรักษาอาการท้องอืด อารมณ์แปรปรวน และอาการอื่นๆก่อนมีรอบเดือน เช่นเดียวกับอาการที่เกี่ยวข้องกับการหมดประจำเดือน เป็นต้นว่า ร้อนวูบวาบ และช่องคลอดแห้ง ด้วยข้อมูลใหม่ๆเกี่ยวกับความเสี่ยงของการใช้ฮอร์โมนเพศหญิงทดแทน เชสต์เบอร์รี่จึงกลายเป็นทางเลือกใหม่แห่งธรรมชาติที่น่าสนใจมากมีชื่อเสียงในด้านการสร้างความสมดุลให้กับฮอร์โมนและอาจมีประโยชน์ในการรักษาการมีบุตรยาก ทั้งยังใช้ในการรักษาเนื้องอกประเภทไฟบลอยด์ได้ดีอีกด้วย
  • ในการรับประทานเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแนะนำ 1 แคปซูลได้ถึงวันละ 3 เวลา 400 มิลลิกรัมต่อวันหรือผสมแบบน้ำสกัด 10-30 หยดในน้ำเปล่าและดื่มได้ถึงวันละ 3 เวลา

คัมฟรีย์ (Comfrey)

เมื่อใช้ดื่มเป็นชา คัมฟรีย์ช่วยบรรเทาอาการโรคกระเพาะท้องเสียปวดข้อและโรคของตับและถุงน้ำดีได้ในรูปของยาทาภายนอกคัมฟรีย์ใช้บรรเทาอาการระคายเคืองของผิวหนังอย่างได้ผลและยังช่วยส่งเสริมให้แผลหายเร็วขึ้นได้ด้วย

ข้อควรระวัง: คัมฟรีย์มีสารแคลอรี่ CD แอลคาลอยด์สารที่อาจทำให้เกิดโรคตับหากรับประทานต่อเนื่องเป็นเวลานานยังมีความเห็นขัดแย้งในเรื่องของความปลอดภัยความไม่แน่นอนนี้จึงไม่แนะนำให้รับประทานยังมีสมุนไพรอื่นที่ปลอดภัยมากกว่าให้เลือกใช้เช่น สะระแหน่หรือขิง และยังขอแนะนำให้ว่า คัมฟรีย์ในแบบทาที่ขายให้กับหญิงให้นมบุตรที่มีปัญหาหัวนมอักเสบก็ควรหลีกเลี่ยงเพราะคัมฟรีย์ไม่ใช่สมุนไพรที่ให้ทารกรับประทานได้

แครนเบอรี่ (Cranberry)

  • ซอสแครนเบอรี่เป็นที่นิยมนำมารับประทานคู่กับไก่งวงแข้งเบอร์รี่จัดได้ว่าเป็นอาวุธจากธรรมชาติที่ใช้ต่อสู้กับกระเพาะปัสสาวะอักเสบและการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้ดีที่สุดและแพทย์ยังใช้มันในการป้องกันอีกด้วยเพื่อนเบอร์รี่ได้รับการบันทึกอย่างเป็นทางการในเภสัชตำรับของสหรัฐอเมริกา (U.S. Pharmacopeia)ให้เป็นยาที่ใช้ในการรักษาปัญหาเหล่านี้อย่างได้ผลอย่างเป็นข้อโต้แย้งกันอยู่ว่าแครนเบอรี่ทำให้ปัสสาวะเป็นกรดจึงทำให้เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อตาย หรือเพียงป้องกันไม่ให้แบคทีเรียเกาะกับผนังของกระเพาะปัสสาวะ แต่ในเรื่องของประสิทธิภาพนั้นคงมีเพียงไม่กี่คนที่ขอโต้แย้ง
  • มีจำหน่ายในรูปแคปซูลขนาดที่แนะนำคือ 1 แคปซูลวันละ 1 ถึง 3 เวลาน้ำแคนเบอรี่ที่มีจำหน่ายโดยทั่วไปนั้นมีรสหวานมากและผ่านกระบวนการแปรรูปมาแล้วจึงไม่แนะนำให้รับประทานน้ำเข้มเบอร์รี่สดไม่เจือปนนั้นให้ผลดีในการรักษาการมีรสฝาดมากคุณอาจลองหาเป็นน้ำแอปเปิ้ลผสมแคนเบอรี่ที่มีจำหน่ายตามร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพซึ่งอาจจะใช้ได้ผลแต่ก็ไม่ควรเป็นแบบที่เติมน้ำตาลลงไป

เดวิลส์คลอว์ (Devil’s claw)

  • สมุนไพรต้านการอักเสบที่ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของข้อ อีกทั้งช่วยลดอาการปวดจากข้ออักเสบและรูมาทอยด์ การศึกษาในยุโรปได้เปรียบเทียบฤทธิ์ในการลดการอักเสบของรากสมุนไพรชนิดนี้กับยาอย่างคอร์ติโซนและฟีนิลบิวทาโซน
  • มีจำหน่ายในรูปแคปซูลขณะที่แนะนำคือ 1 แคปซูลวันละ 1 ถึง 3 เวลา

ข้อควรระวัง: ไม่ควรรับประทานขณะตั้งครรภ์

ตังกุย

  • เป็นสมุนไพรที่พบว่าช่วยบรรเทาอาการร้อนวูบวาบในหญิงวัยทองรวมไปถึงอาการช่องคลอดแห้งและภาวะซึมเศร้า เป็นทางเลือกจากธรรมชาติของการให้ฮอร์โมนเพศหญิงทดแทน ชาวจีนจึงใช้สมุนไพรชนิดนี้กันมานานนับศตวรรษ เพื่อควบคุมรอบเดือนให้เป็นปกติและลดอาการปวดท้องประจำเดือนซึ่งเกิดจากการหดตัวของมดลูกและรักษาอาการก่อนมีประจำเดือน (พีเอ็มเอส) และช่วยให้ผู้หญิงมีรอบเดือนกลับมาเป็นปกติหลังจากหยุดรับประทานยาคุมกำเนิด ช่วยเสริมฤทธิ์ของฮอร์โมนเพศหญิง (ฮอร์โมนเพศชาย) และช่วยให้ร่างกายใช้ฮอร์โมนที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตัวอย่างเช่น ในช่วงหมดประจำเดือนมันจะช่วยส่งเสริมการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงจากต่อมหมวกไตทดแทนฮอร์โมนเพศหญิงที่ลดลงจากรังไข่
  • มีจำหน่ายในรูปแคปซูลขนาดที่แนะนำคือ 1 แคปซูลวันละ 1 ถึง 3 เวลา

ข้อควรระวัง: ห้ามรับประทานตังกุยในขณะตั้งครรภ์และไม่ควรรับประทานหากมีประจำเดือนมามากนอกจากว่าได้รับคำแนะนำให้รับประทานจากแพทย์แผนตะวันออกที่มีความรู้ในด้านโภชนาการ

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุน ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) ได้โดยการซื้อหนังสือวิตามินไบเบิล


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Devil's Claw Uses, Benefits & Dosage Herbal Database. Drugs.com. (https://www.drugs.com/npp/devil-s-claw.html)
Comfrey: Uses, Risks, and Takeaways. Healthline. (https://www.healthline.com/health/what-is-comfrey)
Srivastava, J. K., Shankar, E., & Gupta, S. (2010, November 1). Chamomile: A herbal medicine of the past with a bright future. Molecular Medicine Reports, 3(6), 895–901 (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2995283/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone)
ระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone)

ระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) ที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย ของผู้ชายและผู้หญิง

อ่านเพิ่ม
ฮอร์โมนทดแทน ทางเลือกสำหรับวัยทองและสาวๆ ฮอร์โมนผิดปกติ
ฮอร์โมนทดแทน ทางเลือกสำหรับวัยทองและสาวๆ ฮอร์โมนผิดปกติ

ยาฮอร์โมนทดแทน ทางเลือกสำหรับผู้หญิงที่ฮอร์โมนผิดปกติ วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน ซึ่งมีทั้งรูปแบบยากิน แผ่นแปะ ยาสอด ฯลฯ

อ่านเพิ่ม
สิวในเด็กเล็ก...ยังเด็กเป็นสิวได้ด้วยหรือ?
สิวในเด็กเล็ก...ยังเด็กเป็นสิวได้ด้วยหรือ?

รู้จัก สิว ที่เกิดได้ในช่วงวัยต่างๆ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงเป็นวัยรุ่น และแนะนำวิธีดูแลอย่างถูกต้อง ปลอดภัย

อ่านเพิ่ม