กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ยาสมุนไพร

มีทั้งคุณและโทษ หากใช้ไม่ถูกโรค ไม่ถูกวิธี ก็อาจนำมาซึ่งอันตรายต่อร่างกายและชีวิตได้
เผยแพร่ครั้งแรก 29 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 22 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ยาสมุนไพร

ยาสมุนไพร คือ ยาที่ได้มาจากส่วนต่างๆ ของพืช สัตว์ และแร่ธาตุจากธรรมชาติที่มีสรรพคุณในทางยา  มนุษย์หลายวัฒนธรรมทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยต่างรู้จักการใช้ยาสมุนไพรเพื่อรักษาบรรเทาอาการเจ็บป่วยมาช้านาน  ดังมีหลักฐานปรากฏในตำรายาเก่าแก่มากมาย  ถึงอย่างนั้นยาสมุนไพรก็คลายความนิยมลงไปเมื่อมีการคิดค้นยาสมัยใหม่ หรือยาเคมีเกิดขึ้นมา  อย่างไรก็ตาม คนบางกลุ่มยังคงเชื่อมั่นและนิยมใช้ยาสมุนไพรรักษาโรคอยู่ ปฏิเสธยาสมัยใหม่  บางกลุ่มก็หันมาใช้ยาสมุนไพรเพื่อหลีกเลี่ยงสารเคมี 

ยาสมุนไพรคล้ายคลึงกับยาแผนปัจจุบัน คือ มีผลกระทบต่อร่างกายได้หากใช้ไม่ถูกวิธี ใช้ไม่ถูกต้อง และใช้ไม่เหมาะสม  จึงต้องมีการกำหนดขนาดการใช้และข้อควรระวังในเรื่องผลข้างเคียง เช่นเดียวกับยาแผนปัจจุบัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ใครควรใช้ยาสมุนไพร

อาจไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยาอื่นรักษาโรคอยู่แล้ว   ผู้ป่วยที่เป็นโรคร้ายแรง เช่น โรคตับ หรือโรคไต  ผู้ที่ต้องได้รับการผ่าตัด  ผู้สูงอายุ และเด็ก   ส่วนผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนที่จะเริ่มใช้ยาสมุนไพรเสมอ 

ข้อควรระวังเกี่ยวกับยาสมุนไพร

  • อาจเกิดปัญหากับยาชนิดอื่นๆ ได้ คือ อาจไปเพิ่ม หรือลดประสิทธิภาพ รวมถึงผลข้างเคียงของยาเหล่านั้นได้
  • อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง หรืออาการแพ้ได้ จากการใช้ยาสมุนไพร เช่น มะเกลือมีฤทธิ์ในการถ่ายพยาธิ  แต่มีผลข้างเคียงคือ คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย หลังจากนั้นจะตามัว และตาบอดตามลำดับได้  จากการศึกษาวิจัยพบว่า ผลมะเกลือที่แก่เต็มที่จนมีสีดำนั้น อาจจะมีสารแนฟทาลีน (naphthalene) ซึ่งเป็นพิษต่อประสาทตาโดยตรง 
  • บางชนิดอาจไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนว่า มีความปลอดภัยต่อการใช้
  • ข้อมูล และหลักฐานทางวิทยศาสตร์ยังคงมีจำกัด อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยบางรายใช้แล้วได้ผล ส่วนมากยาสมุนไพรมักจะใช้กับการแพทย์แผนโบราณ หรือตามความเชื่อของผู้ป่วย 
  • ถ้าเป็นโรคที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่ารักษาด้วยสมุนไพรได้ผลดีก็ไม่ควรรักษาด้วยสมุนไพร เช่น บาดทะยัก  พิษสุนัขบ้า 
  • ถ้ามีอาการที่ต้องการับการรักษาอย่างเร่งด่วนเพราะอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น  ท้องเดินอย่างรุนแรง  ตกเลือดมาก  หายใจไม่ออก   
  • ไม่ควรใช้ยาสมุนไพรติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เพราะอาจเกิดการสะสมที่ตับได้ 
  • ถ้าใช้สมุนไพรแล้วมีอาการพิษ หรืออาการข้างเคียงเกิดขึ้นควรหยุดใช้ยาสมุนไพร และไปพบแพทย์ 
  • ถ้าผู้ป่วยต้องเข้าพบแพทย์ หรือมีปัญหาสุขภาพ หรือต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรแจ้งแพทย์และเภสัชกรก่อนทุกครั้งว่า ใช้ยาสมุนไพรชนิดใดบ้าง

ยาสมุนไพรและการผ่าตัด 

ผู้ป่วยต้องแจ้งแพทย์ หรือบุคลากรทางการแพทย์ทุกครั้งก่อนที่จะได้รับการผ่าตัดว่าตนเองใช้ยาสมุนไพรอยู่   และใช้ชนิดใดบ้าง เนื่องจาก

  • บางชนิดมีผลกับยาสลบ ยาชา หรือยาชนิดอื่นที่ผู้ป่วยต้องใช้ในระหว่างและหลังการผ่าตัด
  • บางชนิดส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด และ ความดันโลหิต ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อการมีเลือดออกไม่หยุดระหว่าง หรือหลังการผ่าตัด
  • แพทย์จะสั่งให้หยุดยาสมุนไพรทุกชนิดก่อนเข้ารับการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์

จะเลือกซื้อยาสมุนไพรอย่างไร 

  • ควรเลือกซื้อยาสมุนไพรที่ได้รับการขึ้นทะเบียน และผ่านการรับรองโดยองค์การอาหารและยาแล้วซึ่งจะมีตราสัญลักษณ์อยู่บนบรรจุภัณฑ์ หมายความว่า มีการผลิตที่ผ่านมาตรฐานและตรงตามกฎหมายกำหนด ส่งผลถึงความปลอดภัยในการใช้ของผู้ป่วย   
  • ยาสมุนไพรโดยมากจะผลิตมาสำหรับโรคที่ไม่ร้ายแรง หรืออาการที่ผู้ป่วยสามารถรักษาด้วยตนเองได้ เช่น ไอ เป็นหวัด หรืออาการปวดเล็กน้อย เป็นต้น การใช้ยาสมุนไพรกับโรคที่ร้ายแรงอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเริ่มใช้
  • ยาสมุนไพรที่ได้รับการขึ้นทะเบียน และผ่านการรับรองโดยองค์การอาหารและยา ไม่ได้หมายความว่า  จะมีความปลอดภัยและเหมาะสมกับผู้ป่วยทุกประเภท ดังนั้นก่อนใช้ยาทุกชนิดควรปรึกษาแพทย์  หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ความเสี่ยงในการสั่งซื้อยาสมุนไพรออนไลน์ 

  • การสั่งซื้อออนไลน์อาจเสี่ยงต่อการได้รับของปลอม ยาต่ำกว่ามาตรฐาน หรือมีสารปนเปื้อนเจือปนอยู่มากกว่าสินค้าปกติ
  • ยาที่ไม่ผ่านการขึ้นทะเบียน หรือยาที่ไม่ผ่านการรับรองโดยองค์การอาหารและยา ผู้ประกอบการอาจจะนำมาขายออนไลน์แทนเพื่อเลี่ยงข้อกฎหมาย หรืออาจมียาทำปลอม ลอกเลียนแบบ หรืออาจมีการลักลอบผสมสารต้องห้าม  ผู้ป่วยสามารถตรวจสอบรายชื่อสารเหล่านี้ได้จากเว็บไซต์ขององค์การอาหารและยา ด้วยเหตุผลเหล่านี้จึงทำให้ผู้ป่วยไม่ควรสั่งซื้อยาสมุนไพรออนไลน์ ควรซื้อสินค้าจากร้านขายยาที่มีเภสัชกรให้คำปรึกษา
  • ยาลดน้ำหนักจากสมุนไพร หรือยาเสริมสมรรถภาพทางเพศจากสมุนไพร เป็นสินค้าที่ควรหลีกเลี่ยงเนื่องจากโดยมากจะลักลอบผสมสารอันตราย หรือสารเคมี โดยไม่ได้แจ้งไว้ในฉลาก 

การรายงานผลข้างเคียงต่อการใช้ยาสมุนไพร

ผู้ใช้ยาสมุนไพรสามารถรายงานผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นระหว่างการใช้ยาสมุนไพรได้ โดยการโทรศัพท์แจ้งองค์การอาหารและยา หรือกรมคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อรับการช่วยเหลือต่อไป และที่สำคัญที่สุดหาเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาสมุนไพร ให้หยุดยาแล้วรีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน

ยาสมุนไพรก็เหมือนยาสมัยใหม่ที่มีทั้งคุณและโทษ แม้จะปราศจากสารเคมี แต่หากใช้ไม่ถูกต้อง ไม่ถูกโรค ใช้ผิดวิธี หรือใช้สินค้าไม่ได้มาตรฐานก็อาจนำมาซึ่งอันตรายต่อร่างกายและชีวิตได้  


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี, สมุนไพร (https://med.mahidol.ac.th/pois...)
พท.ป.คมจักร แก้วน้อย, การเลือกใช้ยาสมุนไพร (http://www.ttmed.psu.ac.th/blo...), 6 June 2013

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป