เมื่อไรที่ควรเข้ารับการตรวจโรคไวรัสตับอักเสบบี?

คุณควรเข้ารับการตรวจโรคไวรัสตับอักเสบบี หากคุณมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน หรือคุณคิดว่าตัวคุณสัมผัสกับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีผ่านช่องทางอื่น รวมถึงถ้าคุณมีอาการก็ต้องเข้ารับการตรวจด้วยเช่นกัน
เผยแพร่ครั้งแรก 25 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
เมื่อไรที่ควรเข้ารับการตรวจโรคไวรัสตับอักเสบบี?

ฉันจะรู้ได้อย่างไรว่าตนเองกำลังติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

เช่นเดียวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ทางเดียวที่จะรู้ได้ว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ก็คือการเข้ารับการตรวจโรค ไมว่าจะมีอาการหรือไม่ก็ตาม

ถ้าคุณมีอาการของโรคไวรัสตับอักเสบ คุณจะต้องเข้ารับการตรวจ  และแนะนำให้ตรวจถ้าคุณมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน หรือใช้เข็มฉีดยา, มีดโกน, แปรงสีฟัน ร่วมกันกับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอยู่ (แม้ว่าคุณจะไม่มีอาการใดๆ เลยก็ตาม)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แพทย์หรือพยาบาลจะเจาะเลือดคุณเพื่อตรวจหาโรคไวรัสตับอักเสบบี  โดยทั่วไปอาจใช้เวลามากถึง 2 เดือนภายหลังการติดเชื้อถึงจะทำให้ผลเลือดถูกต้องแม่นยำ แต่ถ้าคุณรู้สึกไม่สบายแล้ว ไม่จำเป็นต้องรอ สามารถไปพบแพทย์ได้ทันที

สถานที่ตรวจโรคไวรัสตับอักเสบบีมีที่ไหนบ้าง

คุณสามารถเข้ารับการตรวจโรคไวรัสตับอักเสบบีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้ที่โรงพยาบาล หรือคลินิกชุมชนที่รับตรวจ

การตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางครั้งอาจฟังดูน่ากลัว แต่ถ้าคุณตัดสินใจเข้ารับการตรวจ โปรดทำใจให้สบาย  และถ้าผลการตรวจพบว่าคุณติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ใดๆ คำแนะนำคือให้รีบเข้ารับการรักษาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการตรวจร่างกายประจำปี หรือการตรวจทางสูตินรีเวช หากคุณต้องการเข้ารับการตรวจ จะต้องแจ้งแพทย์และพยาบาลก่อนทุกครั้ง ซึ่งแพทย์จะช่วยแนะนำวิธีตรวจที่เหมาะสมกับคุณ อย่าเขินอาย  แพทย์จะเป็นผู้ช่วยเหลือคุณเอง

ข้อมูลเพิ่มเติมที่สำคัญ: ถ้าหากคุณกำลังตั้งครรภ์หรือวางแผนตั้งครรภ์ จะต้องเข้ารับการตรวจหาโรคไวรัสตับอักเสบบีเสมอ  เพราะโรคไวรัสตับอักเสบบีสามารถติดต่อจากแม่สู่ลูกในขณะคลอดลูกได้ ซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อทารก  ถ้าคุณเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี แพทย์จะพิจารณาจ่ายยารักษาให้กับทารกด้วย


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Recommendations for Routine Testing and Follow-up for Chronic Hepatitis B Virus (HBV) Infection. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/hepatitis/hbv/HBV-RoutineTesting-Followup.htm)
WHO guidelines on testing for hepatitis B and C – meeting targets for testing. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5688468/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)