กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ไวรัสตับอักเสบบี (HBV : Hepatitis B Virus)

เรียกสั้นๆ ว่า เชื้อ HBV โรคนี้เป็นการติดต่อจากคนสู่คนทางเลือด ไม่ติดต่อทางปากหรือทางหายใจ สมัยก่อนการถ่ายเลือดเป็นต้นเหตุปัญหาสำคัญของการติดต่อโรคนี้ทางหนึ่ง แต่ปัจจุบันมีการตรวจสอบหาโรคนี้ก่อนถ่ายเลือดทำให้ปัญหานี้หมดไปได้มาก
เผยแพร่ครั้งแรก 25 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 30 มี.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 11 นาที
ไวรัสตับอักเสบบี (HBV : Hepatitis B Virus)

หรือเรียกสั้นๆ ว่า เชื้อ HBV โรคนี้เป็นการติดต่อจากคนสู่คนทางเลือด ไม่ติดต่อทางปากหรือทางหายใจ สมัยก่อนการถ่ายเลือดเป็นต้นเหตุปัญหาสำคัญของการติดต่อโรคนี้ทางหนึ่ง แต่ปัจจุบันมีการตรวจสอบหาโรคนี้ก่อนถ่ายเลือดทำให้ปัญหานี้หมดไปได้มาก

ลักษณะเด่นของไวรัสตับอักเสบบี

ชนิดเอ เป็นไวรัสตับอักเสบชนิดเฉียบพลันเท่านั้น แต่สำหรับชนิดบี มีทั้งชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง เมื่อติดเชื้อแล้วจะไม่มีการติดซ้ำอีก มีฤทธิ์มากกว่าไวรัสตับเสบชนิดอื่น ทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา ทั้งไวรัสตับอักเสบชนิดซี ตับแข็ง รวมทั้งมะเร็งตับ ลักษณะเด่นของมันอีกอย่างคือ แม้เป็นไวรัสตับอักเสบชนิดบี แต่ก็ยังแบ่งย่อยได้อีกหลายชนิด ตามชนิดยีนของมัน (gene) หรือที่เรียกว่า ยีโนไทป์ แต่ละชนิดก็พบต่างกันไปตามดินแดนต่างๆ ปัจจุบันเท่าที่พบมีชนิด A-H รวม 8 ชนิด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 553 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

 

ยีโนไทป์

แหล่งแพร่กระจาย

A

ยุโรป อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง

B

อินโดนีเซีย เวียดนาม ไต้หวัน ไทย

C

ญี่ปุ่น จีน คาบสมุทรเกาหลี

D

ประเทศแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อินเดีย

E

แอฟริกา

F

กลุ่มคนที่อาศัยอยู่แต่ดั้งเดิมในอเมริกา หมู่เกาะโพลีเนเซีย

G

Atlanta (USA) Lyon (FRANCE)

H

ไม่มีรายละเอียด

 

ปัจจุบันพบว่าประมาณ 5 - 6% ของประชากรทั่วโลก เป็นพาหะโรคนี้ อีกทั้งพาหะเหล่านี้ส่วนมากอาศัยอยู่ในเอเชียและแอฟริกา

การติดต่อ

ปัจจุบันการติดต่อ ได้แก่วิธีเหล่านี้

  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ
  • จากการถ่ายเลือดที่มีเชื้อ HBV หรือแม้แต่การปลูกถ่ายอวัยวะ
  • การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ
  • ติดต่อจากแม่สู่ลูกขณะคลอด

ลักษณะการติดต่อยังแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ติดต่อแนวตั้งและติดต่อแนวราบ

การติดต่อแนวตั้ง

หมายถึงติดต่อจากแม่สู่ลูก โดยติดจากเลือดตามเส้นทางที่ทารกต้องผ่านออกมาตอนคลอด

การติดต่อแนวราบ

คือการติดต่อจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่ง เป็นไปตามลักษณะแนวราบ ตัวอย่างของการติดต่อแบบนี้ได้แก่ การใช้เข็มฉีดยาทางการแพทย์ เพราะสมัยก่อน การใช้เข็มยังเป็นแบบใช้เวียน ทำให้ผู้คนสมัยนั้นติดเชื้อ HBV โดยไม่รู้ตัว

ติดจากการถ่ายเลือด

นี่ก็เป็นอีกสาเหตุ เพราะสมัยก่อนไม่ได้มีการตรวจหาเชื้อนี้ในเลือด  แต่ปัจจุบันการแพทย์ก้าวหน้าขึ้น มีการคัดกรอง ไม่ใช้เข็มซ้ำ ตรวจเลือดหาเชื้อและอื่นๆ เพื่อเป็นการป้องกัน ด้วยเหตุนี้ปัจจุบันของทั้ง 2 เรื่องนี้นับว่าแทบไม่มีให้เห็นแล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 553 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่างไรก็ตาม ต้นเหตุจากการใช้เข็มก็ยังไม่หมดไป เพราะยังมีการใช้เข็มเพื่อการอื่น เช่น ใช้สัก  เจาะหู เสพยา เป็นต้น

จากการมีเพศสัมพันธ์ คู่สมรสบางคู่ ก่อนแต่งงานไม่เคยมีการตรวจโรคอะไรเลย จึงทำให้ติดต่อไปยังคู่สมรส ใครที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยโดยไม่ได้ใช้ถุงยาง แบบนี้ก็ยิ่งเสี่ยงมากขึ้น แต่แม้ถุงยางก็ไม่ได้มั่นใจว่าป้องกันได้ 100%

อาการ

มี 2 ลักษณะคือ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ ติดเชื้อ HBV แล้วก็เกิดอาการขึ้นเลย เรียกว่า ตับอักเสบเฉียบพลัน กับอีกชนิดหนึ่ง คือ เป็นคนที่มีเชื้อนี้อยู่ในตัวตั้งแต่แรกเกิด แล้วเกิดอาการขึ้นภายหลังตอนโต เรียกว่าชนิดเรื้อรัง

ชนิดเฉียบพลัน

คนที่โตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ติดเชื้อ HBV เป็นครั้งแรก มีอาการของโรคเป็นชนิดเฉียบพลันเท่านั้น ไม่กลายเป็นชนิดเรื้อรัง แต่ส่วนมากไม่เป็นถึงขั้นเกิดอาการอักเสบปรากฏขึ้นให้เจ้าตัวทราบ และหายเองได้ ดังนั้นส่วนมากแล้วคนที่ทราบว่าตนเองเป็นทั้งๆ ที่ไม่เกิดอาการ ก็เพราะไปตรวจสุขภาพด้วยสาเหตุบางอย่างจึงทำให้บังเอิญได้ทราบว่าตนเองมีเชื้อนี้อยู่ในตัว

แต่ส่วนที่เหลือมีอาการปรากฏให้รู้ ซึ่งในจำนวนนี้ก็รักษาหายได้ ทั้งนี้เพราะผู้ใหญ่มีระบบภูมิคุ้มกันพร้อม สามารถรับมือกับเชื้อตัวนี้ได้ ดังนั้นจึงเป็นแค่อาการระยะหนึ่ง แล้วอาการก็จะดีขึ้น

แต่ในบรรดาคนที่เป็นชนิดเฉียบพลันนี้ มีแค่ประมาณ 1-2% เท่านั้นที่เกิดเป็นชนิดร้ายแรง หนำซ้ำบางรายถึงขั้นเสียชีวิต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ตอนแรก เมื่อติดเชื้อแล้วก็ไม่ใช่ว่าเกิดอาการทันที ไวรัสตัวนี้ยังต้องอาศัยระยะฟักตัวเป็นเดือน คือ ประมาณ 1-3 เดือน

จากนั้นก็จะเริ่มเกิดอาการคล้ายไข้หวัด ปวดเมื่อย มีไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ปัสสาวะสีชาเข้ม ตามด้วยเป็นดีซ่าน ซึ่งเป็นเรื่องปกติของโรคชนิดนี้

ประมาณครึ่งหนึ่งของคนกลุ่มนี้ มีอาการทุเลาได้ภายใน 1-2 เดือน และหลังจากรักษาแล้วก็จะไม่กลายเป็นพาหะนำโรคภายหลัง (พาหะหมายถึง คนที่มีเชื้อนี้อยู่ในตัว แต่ไม่ปรากฏอาการ)

เริ่มจากการติดต่อขณะแรกคลอด ระบบภูมิคุ้มกันของทารกยังไม่สมบูรณ์ทั้งนี้เป็นธรรมชาติของร่างกายมนุษย์ ดังนั้นแม้ติดเชื้อแต่ระบบดังกล่าวก็ยังไม่ทราบว่ามันเป็นสิ่งผิดปกติที่ต้องกำจัดออก ทำให้เชื้อเข้าไปอาศัยอยู่ในตับได้

เด็กที่ติดเชื้อในช่วงวัยเด็กเล็กๆ จึงไม่มีอาการ ดูเหมือนปกติ ทั้งๆ ที่มีเชื้อนี้อาศัยอยู่ในตัว เรียกว่าเป็นพาหะนำโรค

แต่เมื่ออายุย่างเข้าวัยรุ่น – 30 ปี ระบบภูมิคุ้มกันพัฒนาเต็มที่ คราวนี้คนที่เป็นพาหะก็จะเกิดอาการขึ้น

ทำไมจึงเป็นภายหลัง ทั้งนี้เพราะไวรัสตัวนี้เมื่อเข้าสู่ตับแล้ว ไม่ได้จู่โจมตับทำให้ตับอักเสบโดยตรง แต่เป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายสมบูรณ์ดีแล้ว มีหน้าที่ตรวจจับไวรัสและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เพื่อกำจัด แต่กรณีที่มีไวรัสอยู่ในตับ มันไม่อาจเลือกกำจัดเอาแต่ไวรัสได้ ต้องกำจัดทิ้งทั้งเซลล์ตับที่ไวรัสอาศัย นี่เป็นต้นเหตุทำให้เซลล์ตับเสียหายเกิดอาการอักเสบ

มากกว่า 90% ของคนที่เป็นพาหะ ไม่เกิดอาการไวรัสตับอักเสบชนิดนี้ ส่วนอีกประมาณ 10% มีอาการชนิดเรื้อรังเกิดขึ้นให้ทราบ นอกจากนี้มีเพียงไม่กี่รายที่ลุกลามถึงขั้นกลายเป็นตับแข็ง หรือ มะเร็งตับ

ลักษณะการติดต่อและการลุกลามของโรค

คนที่เป็นพาหะนำโรคไวรัสตับอักเสบบี

เด็กที่ติดเชื้อจากแม่ขณะคลอด ผู้รับการฟอกเลือด คนที่ต้องใช้ยากดระบบภูมิคุ้มกัน คนเหล่านี้เมื่อติดเชื้อ HBV แล้ว ระบบดังกล่าวจะไม่รู้ว่ามันเป็นสิ่งผิดปกติที่ต้องกำจัดออกจากร่างกาย จึงไม่เกิดอาการอักเสบ ทำให้ไวรัสยังคงอาศัยอยู่ในตัว คนคนนี้จึงมีเชื้ออยู่ในตัวโดยไม่มีอาการปรากฏ ใช้ชีวิตปกติ เรียกว่า พาหะ

คนที่เป็นพาหะประมาณ 90% มีระบบขั้นตอนการเป็นโรค เริ่มจากไม่มีอาการปรากฏไปจนถึงมีอาการตับอักเสบเกิดขึ้น ทำให้ทราบว่าตนเองป่วย เมื่ออาการทุเลาแล้วก็ใช้ชีวิตแบบเป็นพาหะที่ไม่มีอาการปรากฏไปได้อีกแต่อีกประมาณ 10% เกิดอาการตับอักเสบเรื้อรัง หรือลุกลามเป็นตับแข็งหรือมะเร็งตับด้วย

เหตุที่มันลุกลามกลายเป็นตับแข็ง หรือมะเร็งตับได้ ก็เพราะเมื่อเป็นตับอักเสบเรื้อรัง ระบบภูมิคุ้มกันจะโจมตีเซลล์ตับให้ตายลง จากนั้นเซลล์ตับก็จะสร้างตนเองขึ้นมาใหม่ได้

แต่ถ้าสร้างใหม่ไม่ได้หรือไม่ทัน คราวนี้มันจะสร้างเส้นใยกันบริเวณเซลล์ตับที่เสียไป เพื่อรักษารูปทรงของตับไว้ แต่ถ้าสร้างมากเกินไป ก็ยิ่งทำให้ตับแข็งตัวมากขึ้น จนถึงขั้นเป็นตับแข็ง หรือตับเสียหายจากการโจมตีกลายเป็นมะเร็งภายหลัง

แม้ติดต่อได้ แต่ก็ไม่ใช่การระบาดลุกลามเหมือนโรคไข้มาลาเรีย อหิวาต์ เนื่องจากเป็นการติดต่อจากคนสู่คน จึงควรฉีดวัคซีนป้องกัน หรือตรวจหาเชื้อในคนกลุ่มเสี่ยงเท่านั้น

 คนกลุ่มเสี่ยง

  • คนที่มีอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป (เพราะการแพทย์สมัยที่คนกลุ่มนี้เป็นเด็กยังไม่มีการคัดกรองเชื้อนี้)
  • คนที่เคยได้รับการผ่าตัด หรือถ่ายเลือดก่อนปี 2515
  • สมาชิกในบ้านมีคนป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรัง ตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง มะเร็งตับ
  • คนที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • รับการฟอกเลือดเป็นเวลานาน
  • ตั้งครรภ์
  • สักหรือเจาะหู

การรักษา

การรักษาไวรัสตับอักเสบบีชนิดเฉียบพลัน

เมื่อเกิดอาการ โดยทั่วไปแล้วไม่ต้องใช้ยาต้านไวรัส แต่ใช้วิธีเดียวกับการรักษาไวรัสตับอักเสบเอชนิดเฉียบพลัน คือ ต้องพักนิ่งๆ เป็นหลัก แต่ถ้ามีอาการเบื่ออาหารถึงขนาดกินไม่ได้ ก็ต้องให้สารอาหารต่างๆ ทางสายยาง

บางรายเป็นชนิดร้ายแรง แบบนี้ต้องใช้ยาฟอกเลือดหรืออื่นๆ ร่วมด้วย ถ้าใช้วิธีต่างๆ แล้วยังไม่ทำให้อาการดีขึ้น แสดงว่าอาการแย่หนักต้องถึงขึ้นปลูกถ่ายตับใหม่ สำหรับชนิดเรื้อรัง มีจุดประสงค์ในการรักษาเพื่อให้อาการอักเสบทุเลา ไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิต ไม่ให้ไวรัสเพิ่มจำนวน ซึ่งจะเป็นผลให้

อาการแย่ลงไปกว่านี้ ไม่ให้ตับมีอาการทรุดหนักถึงขั้นเป็นตับแข็งเป็นหลัก ทั้งนี้เพราะไม่มีวิธีเอาเชื้อไวรัสตัวนี้ออกจากตัว

การใช้ยารักษา แบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ 1. ยาต้านไวรัส 2. ยาเพิ่มขีดความสามารถของระบบภูมิคุ้มกัน 3. ยาบำรุงตับ

  1. ยาต้านไวรัส

ตัวอย่างของยาชนิดนี้

การใช้ยาฉีดชนิดที่เรียกว่า อินเตอร์ฟีรอน interferon : IFN จุดประสงค์เพื่อต้านไวรัสไม่ให้มีมากขึ้น

เป็นการรักษาที่ต้นเหตุของการเกิดอาการตับอักเสบ ยาตัวนี้ก็มีใช้กับตับอักเสบชนิดซี เทียบกันแล้วใช้กับชนิดซีได้ผลดีกว่า ยานี้จึงเหมาะสำหรับคนที่มีเชื้อไม่มาก

อีกทั้งยังมีผลข้างเคียงน้อยกว่าการใช้ยาที่มีสารสเตอรอยด์ ซึ่งจะกล่าวต่อไป การใช้ interferon : IFN จึงนับว่าเป็นวิธีแรกสำหรับการรักษาโรคนี้ ปกติแล้วใช้ยานี้ทุกวันต่อเนื่องนานประมาณ 1 เดือน

แต่ใช้แล้วไม่ใช่ว่าจะได้ผลดีกับทุกคน มีรายงานว่ามีเพียงประมาณ 20-30% เท่านั้นที่ใช้ได้ผล และใช้นานแค่ไหนก็แล้วแต่สภาพอาการของแต่ละคน

ผลข้างเคียงและข้อควรระวัง

อินเตอร์ฟีรอนเป็นสารที่คนสร้างเลียนแบบของจริงในร่างกาย ดังนั้นการใช้แล้วทำให้เกิดผลข้างเคียงจึงต่างกันไปตามชนิดที่ใช้ทำและการตอบสนองของร่างกาย ตัวอย่างของผลข้างเคียง ได้แก่

หลังฉีดแล้ว 1-2 สัปดาห์ จะเกิดอาการตัวร้อนเกิน 38 องศา ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ หมดแรง จะเห็นว่ามีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่

หลังฉีดผ่านไป 3 สัปดาห์-3 เดือน ก็จะเกิดอาการทางอารมณ์ คือ นอนไม่หลับ ซึมเศร้า สำหรับอาการซึมเศร้า ถ้าเป็นมากก็อาจถึงขั้นคิดฆ่าตัวตายได้ จึงจำเป็นต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง

หลังฉีดไปแล้ว 3 เดือนผ่านไป อาจเกิดอาการผมร่วง

ทั้งนี้ยังอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย บางครั้งถ้าอาการไม่ดี ก็ต้องงดฉีด นอกจากนี้การใช้ยาฉีดนี้กับยาสมุนไพรจีนบางชนิด ยังอาจทำให้อวัยวะภายในบางอย่างมีปัญหาขึ้นมาได้

ยาเอ็นเทคคาเวียร์ ENTECAVIR

เป็นยาต้านไวรัสชนิดกิน มีสรรพคุณช่วยลดจำนวนไวรัสลงได้เป็นอย่างดี แต่ก็มีผลข้างเคียงเช่นกัน

ผลข้างเคียง

ปวดศีรษะ หมดแรง แต่ไม่มีอาการรุนแรงเหมือนการใช้ IFN แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าผลข้างเคียงมีอาการไม่สู้ดีก็ต้องหยุดใช้กลางคัน ดังนั้นถ้ารู้สึกว่าใช้ยาแล้วร่างกายไม่ปกติต้องรีบติดต่อแพทย์ อย่าหยุดยาเอง

  1. ยาเพิ่มขีดความสามารถของระบบภูมิคุ้มกัน

จุดประสงค์ของการใช้ยานี้คือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานดีขึ้น จึงช่วย

ยับยั้งการเพิ่มจำนวนไวรัสได้ ตัวอย่างของยาข้อนี้ ได้แก่

ยาที่มีส่วนผสมของสเตอรอยด์

 ยาที่มีส่วนผสมของสเตอรอยด์ ทำหน้าที่กดการทำงานของภูมิคุ้มกัน ตามหลักแล้วใช้ยานี้ประมาณ 1 เดือน เมื่อกดระบบนี้ได้พอแล้ว ก็จะหยุดใช้ยา ส่งผลให้คราวนี้ภูมิคุ้มกันที่ถูกกดไว้ มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อไวรัสทันที สมมติตัวอย่างให้นึกภาพง่ายๆ ว่า เหมือนหนังสติ๊กที่ถูกดึงมาใกล้ตัว เมื่อปล่อยมือมันก็จะดีดกลับอย่างรวดเร็ว ระบบภูมิคุ้มกันก็เช่นกัน มันจะเพิ่มฤทธิ์ในการกำจัดไวรัสได้อย่างดี

ผลข้างเคียง

เป็นความจริงว่า บางครั้งถ้าดีเกินไป ก็กลับทำให้ตับอักเสบหนักกว่าเก่ามีอันตรายได้ ดังนั้นการใช้จึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เป็นอย่างดี ผู้ใช้เองก็ต้องปฏิบัติตามกฎการใช้ด้วย

ซ้ายบน ขณะใช้ยาที่มีส่วนผสมของสเตอรอยด์

ซ้ายล่าง สเตอรอยด์กดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ตามหลักแล้วจึงทำให้เกิดอาการอักเสบ แต่เชื้อ HBV ยังคงมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น

ขวาบน เมื่อหยุดใช้สเตอรอยด์

ขวาล่าง การหยุดใช้ทันทีทันใด ส่งผลให้คราวนี้ภูมิคุ้มกันที่ถูกกดไว้มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อไวรัสทันที เริ่มโจมตีเชื้อตัวนี้อย่างมีประสิทธิภาพ

ยาบำรุงตับ

ป้องกันไม่ให้ตับเสียหาย ปรับปรุงการทำงานของตับให้ดีขึ้น วิธีนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อโจมตี

ไวรัส จึงเป็นวิธีรักษาที่ต้องใช้เวลานาน เหมาะสำหรับในรายที่ไม่อาจใช้ยาต้านไวรัส ตัวอย่างของยาชนิดนี้ ได้แก่

ไกลไซร์ไรซิน (Glycyrrhizin)

เป็นยาฉีดเข้าเส้นเลือดดำ สำหรับแก้อักเสบ ไม่ใช่รักษาโรคให้หายขาด จึงเป็นการใช้เพื่อยับยั้งอาการอักเสบไม่ให้ทรุดลง ยาตัวนี้สกัดมาจากรากของกำเช่า ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรจีน มีสรรพคุณช่วยทำให้เยื่อบุเซลล์ตับแข็งแรง ป้องกันเซลล์ตับเสียหาย เป็นการคุ้มครองบำรุงตับอย่างหนึ่ง

ยาตัวนี้ต้องฉีดทุกวัน แล้วดูว่าผลดีขึ้นหรือไม่ ถ้าไม่ดีขึ้นก็ต้องเพิ่มตามจำนวนครั้งและปริมาณ

ผลข้างเคียง

ทำให้ร่างกายเกิดภาวะโพแทสเซียมต่ำ หรือเป็นความดันโลหิตสูง การฉีดไม่ได้ทำให้เกิดผลข้างเคียงขึ้นทันที เพราะปริมาณยาแต่ละครั้งมีปริมาณน้อย แต่ที่เกิดผลข้างเคียงเนื่องจากการใช้ยาตัวนี้เป็นเวลานาน

การป้องกันการติดเชื้อจากผู้อื่น

ปฏิบัติตามข้อแนะนำของแพทย์ ต้องมาตรวจตามนัด เพื่อเช็กสุขภาพตับ

งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

แม้ไม่ใช่แอลกอฮอล์ แต่บุหรี่ก็เกี่ยวข้องกับโรคต่างๆ ส่งผลเสียต่ออวัยวะภายในรวมทั้งตับ

ควบคุมน้ำหนักตัว ถ้าน้ำหนักตัวเกินควรลดบ้าง เพราะความอ้วนทำให้มีไขมันสะสมในตับได้

ใช้ยาให้ถูกต้อง การใช้ยาต่างๆ ขณะที่เป็นโรคนี้ ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังยิ่งขึ้น อย่าใช้ยาอื่นๆ เองโดยที่แพทย์ไม่ทราบ

ป้องกันท้องผูก ถ้าท้องผูกจะเกิดสารพิษต่างๆ รวมทั้งแอมโมเนีย ส่งผลเสียต่อตับ

เข้าห้องน้ำแล้ว ต้องล้างมือให้สะอาด

ใช้ชีวิตประจำวันให้ถูกต้อง เช่น เข้านอนก่อนเที่ยงคืน ตื่นเช้า กินอาหารเช้า ออกกำลังพอเหมาะ

อย่าแช่น้ำหรืออาบน้ำด้วยน้ำร้อนเกินไป เพราะจะทำให้ร่างกายสึกหรอควรอาบน้ำหลังกินอาหารผ่านไปเกิน 1 ชั่วโมง

เลี่ยงงานที่ต้องออกแรงหนัก ถ้าเป็นงานนั่งโต๊ะ ทำงานหน้าคอมฯ ก็ไม่น่าจะมีปัญหา แต่ถ้านั่งทำงานทั้งวัน หรือหมกมุ่น เครียดกับงานมาก มีปัญหาต่างๆ ประดังเข้ามาให้คิดมาก แบบนี้ก็อาจจะทำให้อาการทรุดได้เช่นกัน

ถ้าตนเองจัดว่าเป็นคนในกลุ่มเสี่ยง ควรฉีดวัคซีนป้องกัน

กรณีที่คู่นอนเป็นโรคนี้ ตนเองต้องฉีดวัคซีนป้องกันและใช้ถุงยางร่วมด้วย วิธีนี้ช่วยลดความเสี่ยง แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะปลอดภัย 100%

การป้องกันการติดเชื้อสู่ผู้อื่น

  • ถ้ามีสารคัดหลั่งหรือเลือดของตนติดสิ่งของ ควรห่อให้มิดชิดก่อนทิ้ง
  • เลือดกำเดา ประจำเดือน ก็ต้องจัดการเองให้เรียบร้อย
  • ถ้าเลือดออกต้องเช็ดเอง อย่าให้คนอื่นถูกเลือดของตน หรือบอกกล่าวกับผู้ที่ช่วยเหลือไว้ว่าให้ระวังอย่าแตะต้อง
  • อย่าบริจาคเลือด
  • อย่านำของใช้ส่วนตัวของคนอื่นมาใช้ เช่น ใบมีดโกน แปรงสีฟัน
  • อย่าป้อนอาหารเด็กอ่อนโดยการอมใส่ปากตนเองก่อนป้อน
  • ใช้ถุงยางขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ขณะตั้งครรภ์และคลอดบุตร ต้องปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
  • สามารถให้นมบุตรได้ แต่ถ้าหัวนมมีแผลหรือมีเลือดออก ต้องรักษาให้หายก่อน

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ตั้งครรภ์เป็นครั้งแรก

แน่นอนว่าต้องตรวจหาเชื้อตัวนี้ก่อน ถ้าพบว่ามีเชื้อและสามารถติดต่อได้ ก็จะสามารถหาวิธีป้องกัน

ได้ทัน ถ้าไม่ได้เช่นนั้น เด็กที่คลอดมาต้องติดเชื้อ 100% และในบรรดาเด็กเหล่านี้ 80-90% กลายเป็นพาหะนำเชื้อ

ถ้าตรวจมารดาที่ตั้งครรภ์ พบว่าตนเองมีผล HBs เป็น + (เป็นค่าสำหรับตรวจว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี) เด็กที่คลอดออกมาต้องมีโปรแกรมการฉีดยาป้องกัน

โปรแกรมตารางการฉีดยาป้องกันให้ทารก

โปรแกรมสำหรับทารก

ฉีด HB วัคซีน

ตรวจหา HBs ในเลือด,HBs ตรวจหาภูมิคุ้มกันและสารกระตุ้นที่มีต่อเชื้อไวรัสตัวนี้

ฉีด HB วัคซีน

(ตรวจหา HBs ในเลือด) , HBs ตรวจหาภูมิคุ้มกันและสารกระตุ้นที่มีต่อเชื้อไวรัสตัวนี้

(     ) ไม่ต้องก็ได้

เรื่องแบบนี้ไม่ติดต่อสู่ผู้อื่น

  • จับมือ โอบกอด
  • จามหรือไอในอากาศ
  • ใช้ภาชนะร่วมกัน กินอาหารจานเดียวกัน
  • ใช้อ่างอาบน้ำ หรือแช่น้ำร่วมกัน
  • ใช้สุขาร่วมกัน
  • แมลงวัน ยุง ไม่ทำให้ติดต่อไปยังคนอื่น
  • การเป็นพาหนะนำโรค ไม่จำเป็นต้องแยกสถานที่ทำงานหรือที่เรียน

คำถามยอดนิยม

ถาม : แม่เป็นพาหะ ต้องระวังเรื่องให้นมบุตรอย่างไรบ้าง?

ตอบ: คนเป็นแม่ต้องตรวจสุขภาพกับแพทย์เป็นประจำ และปฏิบัติตามคำแนะนำ ฉีดยาป้องกันให้กับทารก แบบนี้การให้นมบุตรก็ทำได้ตามปกติ แต่ถ้าบริเวณหัวนมมีแผลหรือเลือดออก ก็อาจทำให้เด็กติดเชื้อ ต้องรักษาให้หายดีก่อนให้นมบุตรอีกครั้ง

ถาม: ทารกสามารถติดเชื้อ HBV ตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือไม่?

ตอบ: กรณีติดตั้งแต่อยู่ในครรภ์ไม่ค่อยพบ ส่วนมากที่พบเป็นตอนที่คลอด เด็กต้องผ่านจากมดลูกออกมา ช่วงนี้เด็กมีโอกาสติดจากเลือดของมารดาทำให้ติดเชื้อได้

ถาม: ถ้าเป็นพาหะแล้วตรวจตับพบว่ามีการทำงานไม่ปกติ ควรทำอย่างไรดี?

ตอบ: ถ้าตรวจพบแล้วไม่ใส่ใจ ไม่หมั่นไปตรวจตามนัด ก็อาจทำให้อาการตับอักเสบเรื้อรังเป็นมากขึ้น จนกระทั่งกลายเป็นตับแข็ง หรือมะเร็งตับ ดังนั้นแม้ตอนแรกที่ตรวจพบ พบว่าตนเองมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่ก็ไม่ควรละเลย ควรไปตรวจตามนัด เพื่อให้พบความผิดปกติได้ทันเวลา

ถาม: เป็นพาหะ ถ้ายังคงดื่มเหล้าเหมือนเดิม ได้หรือไม่?

ตอบ: เรื่องของคนที่เป็นพาหะ มีการเปรียบเทียบระหว่างคนที่ดื่มเหล้าเป็นประจำกับคนที่ไม่ดื่ม พบว่าคนกลุ่มแรก มีโอกาสเลื่อนเข้าสู่ระยะเป็นโรคตับอักเสบได้เร็วกว่ากลุ่มหลัง

ถาม: ทราบว่าการใช้ยาฉีด interferon มีผลข้างเคียง ทำอย่างไรจึงจะลดอาการข้างเคียงได้?

ตอบ: ควรสอบถามกับแพทย์เจ้าของไข้ บางรายต้องฉีดตอนกลางคืน แทนตอนกลางวัน บางรายก็ต้องลดปริมาณยางลง และบางรายก็ต้องใช้ยาแก้ปวดแก้ไขเพื่อลดอาการที่เกิดขึ้นคล้ายไข้หวัดก็มี

ถาม: ติดต่อทางการมีเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่?

ตอบ: ถ้าเป็นไวรัสตับอักเสบชนิดบี สามารถติดต่อได้ ทั้งนี้เพราะคนที่ติดเชื้อนี้นับว่ามีปริมาณเชื้อในเลือดสูง แม้มีอาการอักเสบเพียงเล็กน้อยจนแม้แต่เจ้าตัวเองก็ยังไม่รู้ตัวก็ตาม แต่ถ้าเลือดปะปนอยู่ในสารคัดหลั่งต่างๆ รวมทั้งน้ำเชื้อ ก็ทำให้เกิดการติดต่อกันได้

ถาม: โรคนี้นอกจากเกิดอาการที่ตับแล้ว ยังเกิดอาการขึ้นที่อื่นด้วยหรือไม่?

ตอบ: มี แต่พบน้อยมาก เช่น ทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า Gionotti มีอาการที่ผิวหนังบริเวณแขนขา ส่วนผู้ที่เป็นพาหะ บางรายก็เกิดอาการกับไต เพราะทั้งแอนติบอดีและแอนติเจนของเชื้อตัวนี้ ไปตกตะกอนอยู่ในเนื้อไต ทำให้เกิดโรคขึ้น

ถาม: ถ้าบังเอิญโดนเข็มที่ใช้กับผู้ติดเชื้อนี้มา ควรทำอย่างไรดี?

ตอบ: ทันทีที่ถูกเข็มตำ ต้องรีบบีบเลือดออกในน้ำไหล (เปิดน้ำก๊อกบีบเลือดออกให้ไหลไปกับน้ำ) เพื่อเป็นการลดปริมาณเชื้อที่จะเข้าสู่ร่างกาย จากนั้นฆ่าเชื้อที่ปากแผล แล้วไปตรวจให้แน่ใจ ซึ่งแพทย์อาจให้ฉีดวัคซีนป้องกันด้วย

ถาม: ถ้านิ้วมือ ผ้าปูเตียง เปื้อนเลือดของผู้ติดเชื้อ ใช้แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ พอหรือไม่?

ตอบ: ถ้าเป็นเชื้อไวรัสตับอักเสบบีละก็ เพียงแค่ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดฆ่าเชื้อก็ยังไม่พอ ต้องใช้ผ้าชุบน้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำหรือน้ำยาซักผ้าขาว ที่มีส่วนผสมของ sodium hypochlorite (ดูได้จากฉลากกำกับ) ปริมาณตามที่ระบุไว้ เช็ดคราบเลือดออก แล้วจึงใช้ผ้าเช็ดตามปกติอีกครั้ง โปรดจำไว้ว่า การใช้แอลกอฮอล์ชุบสำลีเช็ด ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อตัวนี้ได้ อนึ่งถ้าเลือดเปื้อนนิ้วแต่ไม่มีบาดแผลภายนอก ก็ล้างสบู่ให้สะอาด

บทความที่เกี่ยวข้อง
รู้จักวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hepatitis B | HBV. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/hepatitisb.html)
Hepatitis B: Causes, symptoms, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/306288)
Hepatitis B: Symptoms, Causes, Transmission, Treatments, Medications & Prevention. WebMD. (https://www.webmd.com/hepatitis/digestive-diseases-hepatitis-b#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป