การช่วยเหลือผู้พิการในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ระดับอุดมศึกษา

เผยแพร่ครั้งแรก 8 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การช่วยเหลือผู้พิการในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ระดับอุดมศึกษา

ช่วงเปลี่ยนผ่านจากชั้นมัธยมศึกษาสู่มหาวิทยาลัย อาจทำให้หลายคนเกิดความไม่มั่นใจในทางเลือกของตนเองในการเข้าเรียนชั้นมหาวิทยาลัย อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ครอบครัวและตัวของผู้พิการเองควรคำนึงถึงก่อนจะไปสมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย

กระบวนการรับเข้าเรียน

โดยทั่วไปสถาบันการศึกษาภายหลังชั้นมัธยมศึกษาไม่อนุญาตให้ถามผู้สมัครเกี่ยวกับความพิการก่อนการตัดสินใจเลือกรับเข้าเรียน  อย่างไรก็ตาม บางสถาบันอาจสอบถามความสามารถของผู้สมัครว่าตรงตามความต้องการและมาตรฐานของหลักสูตรต่าง ๆ หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเทคนิคหรือด้านความรู้ โดยไม่ได้เปิดเผยสถานะความพิการของคน ๆ นั้น

นักศึกษาพิการมีสิทธิที่จะใช้สนามสอบพิเศษสำหรับคนพิการในทุกสถาบันที่มีข้อสอบพิเศษสำหรับผู้พิการ โดยการเปลี่ยนแปลงวิธีการสอบนี้รวมไปถึงการมีที่นั่งพิเศษ ห้องส่วนตัวสำหรับทำข้อสอบ เครื่องอ่านคำถาม หรือเครื่องอัดคำตอบ อาจมีการเพิ่มเวลาทำข้อสอบ มีเวลาพักมากขึ้น เพิ่มขนาดตัวหนังสือ หรือลดจำนวนข้อสอบในแต่ละหน้าลง เป็นต้น

ทางเลือกสำหรับนักศึกษาภายหลังการได้รับเข้าศึกษาต่อ

นักศึกษาที่มีความพิการทางการศึกษาไม่จำเป็นที่จะต้องแจ้งสถาบันก่อนว่าพวกเขาพิการ แต่อย่างไรก็ตาม หากพวกเขาต้องการที่พักพิเศษ หรือต้องมีการปรับเปลี่ยนบางอย่างเพื่อการศึกษาแล้ว พวกเขาจำเป็นต้องแจ้งกับสถาบันถึงความพิการและยื่นเอกสารแสดงความพิการ

เอกสารแสดงความพิการนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละสถาบัน โดยก่อนที่จะสมัคร จะมีการแนะนำเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนเพื่อเตรียมหาข้อมูลเอกสารที่จำเป็นสำหรับการสมัครของแต่ละสถาบันที่ให้ความสนใจกับผู้พิการ ซึ่งโดยทั่วไปเอกสารเหล่านี้ควรจะต้องระบุตัวตนให้ชัดเจน รวมทั้งระบุความพิการหรือข้อจำกัดในการทำกิจวัตรประจำวันหลัก ๆ รวมทั้งการช่วยเหลือที่ต้องการสำหรับช่วยในการเรียน

เมื่อนักเรียนแจ้งระบุตัวตนและความพิการแล้ว พวกเขาควรจะแจ้งความต้องการจำเพาะสำหรับสถานที่พักผ่อนที่พวกเขาใช้อยู่เดิมแก่สถาบัน และอาจารย์ควรแจ้งถึงอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งพูดคุยถึงปัญหาและวิธีการจัดการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น

ในสถาบันภายหลังการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จะให้บริการช่วยเหลือเด็กพิการ ขึ้นอยู่กับปัจจัยของสถาบันหลายปัจจัย โดยเฉพาะสถาบันที่ได้และไม่ได้รับการสนับสนุน ภายใต้ ADA ทุกสถาบันจะต้องมีผู้ติดต่อประสานงานด้านความพิการที่คอยช่วยเหลือเด็กนักศึกษาที่มีความพิการ เพื่อจัดการเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นการยืดเวลาให้นานขึ้น ตัวช่วยในการจดบันทึก เครื่องอัดเสียง เป็นต้น โดยที่บางสถาบันอาจมีโปรแกรมการศึกษาเฉพาะ การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การมีผู้สอนเฉพาะ หรือมีการพูดคุยให้คำแนะนำกับทั้งนักเรียนและคณะ

ข้อควรคำนึง

การวางแผนการศึกษาภายหลังการเรียนชั้นมัธยมศึกษานี้ควรเริ่มตั้งแต่ช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยมีปัจจัยหลายอย่างในแต่ละคน

การวางแผนสำหรับช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ควรมุ่งเน้นไปยังการพัฒนาศักยภาพที่จำเป็นในการคัดเลือกเข้าสู่การศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ในโปรแกรมที่มีระบบสนับสนุนเด็กพิการในการเรียน และจบไปโดยมีทักษะที่เป็นประโยชน์ต่อวิชาชีพนั้น ๆ ในส่วนของครอบครัวเองก็ควรจะต้องคำนึงถึงปัญหาทางด้านจิตใจที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้ ที่เด็กที่มีความผิดปกติทางด้านการเรียนรู้จะประสบปัญหาจากภาวะเครียดในการปรับตัวเข้าสู่ระบบมหาวิทยาลัย และมีแนวโน้มต้องการคำปรึกษามากกว่าเด็กปกติที่ไม่มีความพิการ


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Disability support in higher education. nidirect. (Available via: https://www.nidirect.gov.uk/articles/disability-support-in-higher-education)
8 Steps for Learning Disabled Students Who Want to Go to College. U.S. News & World Report. (Available via: https://www.usnews.com/education/articles/2010/12/02/8-steps-for-learning-disabled-students-who-want-to-go-to-college)
Students with Disabilities Preparing for Postsecondary Education. U.S. Department of Education. (Available via: https://www2.ed.gov/about/offices/list/ocr/transition.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป