โรคทางหัวใจที่เกิดร่วมกับเส้นเลือดสมองอุดตัน

โรคเส้นเลือดสมองอุดตันทำให้เกิดภาวะและโรคแทรกซ้อนอะไรบ้าง
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรคทางหัวใจที่เกิดร่วมกับเส้นเลือดสมองอุดตัน

โรคต่างๆ ทางหัวใจ เป็นโรคที่มักพบได้บ่อยในผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน หากคุณเป็นโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน ก็จำเป็นจะต้องระมัดระวังหัวใจเป็นพิเศษ ทั้งในระหว่างเข้ารับการรักษา และระหว่างพักฟื้นหลังการรักษา

โรคทางหัวใจที่มักพบได้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน

มีโรคและภาวะทางหัวใจหลายชนิดที่มักพบบ่อยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน เช่น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกเหนือจากการพบโรค หรือภาวะทางหัวใจร่วมกับโรคหลอดเลือดสมองอุดตันแล้ว ปัญหาโรคหรือภาวะทางหัวใจยังเป็นต้นตอสาเหตุที่ทำให้โรคหลอดเลือดสมองอุดตันได้อีกด้วย โดยโรคที่เป็นสาเหตุซึ่งพบได้บ่อยที่สุด คือ โรคลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดง และโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ซึ่งจะทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันในสมองได้

ดังนั้น หากผู้ป่วยมีโรคหลอดเลือดสมองอุดตันร่วมกับโรคทางหัวใจ แพทย์จะพยายามระบุถึงสาเหตุ และผลข้างเคียงที่ตามมาให้ได้อย่างแน่ชัด เนื่องจากความเข้าใจถึงโรคและผลข้างเคียงนี้จะช่วยในการรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูร่างกายได้ดีที่สุด และเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ด้วย

1. โรคหลอดเลือดสมองอุดตันกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้รับออกซิเจนที่เพียงพอ โดยอาจเป็นผลมาจากภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งเป็นภาวะที่เกี่ยวพันกับโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน เพราะภาวะหัวใจล้มเหลวนี้สามารถเป็นสาเหตุที่ทำให้โรคหลอดเลือดสมองอุดตันได้ และโรคหลอดเลือดสมองอุดตันก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้เช่นกัน 

นอกจากนี้ ถึงแม้ผู้ป่วยจะไม่ได้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจมาก่อน แต่กล้ามเนื้อหัวใจก็สามารถถูกทำลาย และขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงได้จากระบบประสาทที่มีการเปลี่ยนแปลง และจะพบได้มากในผู้ป่วยที่อายุน้อยรวมถึงมีสุขภาพแข็งแรงด้วย และโรคหลอดเลือดสมองอุดตันยังมีความเกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจหยุดเต้นชั่วคราว ซึ่งภาวะนี้สามารถทำให้ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวอย่างรุนแรงได้

2. โรคหลอดเลือดสมองอุดตันกับภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน

13% ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันที่อายุมากกว่า 60 ปี มักเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน (Acute Myocardial Infarction: AMI) ภายใน 3 วันหลังจากเกิดเส้นเลือดในสมองอุดตัน แต่ในทางกลับกัน ภาวะเส้นเลือดในสมองตันมักจะไม่เกิดภายหลังจากผู้ป่วยมีอาการหัวใจวายเฉียบพลัน 

สาเหตุที่โรคทั้ง 2 โรคนี้มีความสัมพันธ์กันนั้นยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่เป็นไปได้ว่าน่าจะเกิดจากผู้ป่วยมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) หรือเกิดจากไขมันสะสมตามหลอดเลือดแดง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดในสมองอุดตัน หากเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันขึ้น ก็มักจะมีปัญหาในการอธิบายถึงอาการที่เกิดขึ้นกับตนเอง จึงทำให้อาจไม่ได้รับความสนใจ หรือเป็นที่สังเกตเห็นได้ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่แพทย์และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดจะต้องติดตาม และตรวจดูอาการผู้ป่วยอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจขาดเลือด เช่น การถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI Scan (Magnetic Resonance Imaging) ทุกวันในช่วงแรกของการรักษา และการตรวจติดตามค่าการทำงานของหัวใจ เพื่อดูว่ามีการทำลายเกิดขึ้นที่หัวใจหรือไม่

ยาที่แพทย์มักใช้ในการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจวายเฉียบพลันก็คือ ยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งแพทย์จะต้องแน่ใจก่อนว่า ผู้ป่วยไม่ได้มีภาวะเส้นเลือดในสมองอุดตันร่วมด้วยก่อนที่จะเริ่มใช้ยาดังกล่าว เพราะระหว่างที่ผู้ป่วยใช้ยาช่วยละลายลิ่มเลือดในหลอดเลือดโคโรนารีอยู่นั้น อาจมีผลข้างเคียงทำให้มีการละลายลิ่มเลือดในสมองด้วยเช่นกัน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดเลือดออกในสมอง และทำให้อาการของโรคแย่ลง

3. โรคเส้นเลือดสมองอุดตันกับหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ผู้ป่วยเส้นเลือดสมองอุดตันประมาณ 25% ที่ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล มักมีการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติในช่วงวันแรกๆ ที่เข้ารับการรักษา ซึ่งความผิดปกติที่มักมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดเส้นเลือดสมองอุดตัน คือ ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว จะพบได้ในผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีความเกี่ยวข้องกับเส้นเลือดสมองอุดตันมากกว่าครึ่ง นอกจากนี้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะของผู้ป่วยบางชนิด ยังอาจร้ายแรงถึงขั้นเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นรัว หรือภาวะหัวใจหยุดเต้น

ภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับหัวใจที่รุนแรงสามารถเกิดได้บ่อยหลังจากผู้ป่วยเกิดโรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน ดังนั้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จึงต้องได้รับการตรวจและติดตามอาการอย่างละเอียดหลายวันก่อน เพื่อประเมินว่าตนเองมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจล้มเหลว หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะร่วมด้วยหรือไม่ 

นอกจากนี้ การเกิดเส้นเลือดสมองอุดตันยังมักเป็นสัญญาณแสดงว่า คุณมีโอกาสสูงต่อการเกิดโรคหัวใจได้ในอนาคต ดังนั้น คุณจึงควรรักษาสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาในภายหลัง

หรือหากคุณสนใจอยากตรวจสุขภาพ เพื่อให้ตนเองรู้เท่าทันความผิดปกติของร่างกายและลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจรวมถึงโรคร้ายอื่นๆ คุณสามารถคลิกดูแพ็กเกจการตรวจสุขภาพที่หลากหลายและครอบคลุมหลายช่วงอายุได้ ที่นี่ หรือหากสนใจอยากตรวจสุขภาพด้านหัวใจโดยเฉพาะ ก็สามารถคลิกดูแพ็กเกจการตรวจสุขภาพหัวใจได้ ที่นี่ เพื่อความมั่นใจให้สมรรถภาพการทำงานของหัวใจ และทำให้คุณดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง 

และหากคุณสนใจอยากสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ก็สามารถแอดไลน์ @hdcoth เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนและสอบถามข้อสงสัยต่างๆได้


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Heart Problems That Go Hand in Hand With Strokes. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/heart-problems-that-occur-with-strokes-1746119)
Heart Disease and Stroke. WebMD. (https://www.webmd.com/heart-disease/stroke-types)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)