กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.จุติพร จตุรเชิดชัย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.จุติพร จตุรเชิดชัย

การสวนหัวใจและหลอดเลือด (Cardiac Catheterization) คืออะไร

การสวนหัวใจและหลอดเลือดเป็นวิธีที่แพทย์นิยมใช้ในการวินิจฉัยหรือรักษาโรคหัวใจต่างๆ
เผยแพร่ครั้งแรก 17 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 5 มี.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การสวนหัวใจและหลอดเลือด (Cardiac Catheterization) คืออะไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การสวนหัวใจและหลอดเลือด (Cardiac Catheterization) เป็นวิธีที่แพทย์นิยมใช้ในการวินิจฉัยและรักษาโรคหัวใจชนิดต่างๆ
  • วิธีนี้สามารถวินิจฉัยสิ่งเหล่านี้ได้ เช่น ระบุตำแหน่งหลอดเลือดที่ตีบ หรือตัน ประเมินการเต้นของหัวใจ ความผิดปกติของหัวใจ 
  • วิธีนี้สามารถนำไปรักษาโรคได้ เช่น ขยายหลอดเลือดหัวใจที่อุดตันด้วยบอลลูน ใส่ลวดค้ำยันเพื่อขยายหลอดเลือดแดง รักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการสวนหัวใจและหลอดเลือด เช่น หัวใจวายเฉียบพลัน เลือดออก หรือมีรอยช้ำ เนื้อเยื่อหัวใจ หรือหลอดเลือดฉีกขาด 
  • หากคุณ หรือคนที่คุณรักจำเป็นต้องเข้ารับการสวนหัวใจและหลอดเลือด ควรศึกษากระบวนการต่างๆ หรือปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อให้เข้าใจและคลายความกังวลมากที่สุด (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจได้ที่นี่)

การสวนหัวใจและหลอดเลือด (Cardiac Catheterization) เป็นวิธีที่แพทย์นิยมใช้ในการวินิจฉัยและรักษาโรคหัวใจชนิดต่างๆ

สำหรับหัตถการนี้แพทย์จะใส่สายสวน (Catheter) ซึ่งมีขนาดเล็ก สามารถโค้งงอได้เข้าไปในหลอดเลือดแดง หรือหลอดเลือดดำ บริเวณขาหนีบ แขน หรือลำคอของผู้ป่วย ซึ่งแพทย์จะค่อยๆ ใส่สายสวนและเคลื่อนสายสวนไปตามหลอดเลือดเพื่อไปยังหัวใจ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ประโยชน์ของการสวนหัวใจและหลอดเลือดในการวินิจฉัย

  • สามารถระบุตำแหน่งหลอดเลือดที่พบการตีบ หรือตัน โดยการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ
  • สามารถตัดชิ้นเนื้อหัวใจไปตรวจได้ (Biopsy)
  • สามารถประเมินการเต้นของหัวใจ
  • สามารถวัดความดันและระดับออกซิเจนภายในหัวใจและปอด
  • สามารถวินิจฉัยความผิดปกติของหัวใจ หรือความผิดปกติของลิ้นหัวใจ

ประโยชน์ของการสวนหัวใจและหลอดเลือดในการรักษาโรค

  • สามารถขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Angioplasty) เป็นการขยายหลอดเลือดแดงที่อุดตัน โดยการใส่บอลลูนขนาดเล็กเข้าไปถ่างขยายหลอดเลือด
  • สามารถใส่ขดลวดค้ำยัน (Stent) เพื่อขยายหลอดเลือดแดง
  • สามารถปิดรูรั่วภายในหัวใจในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • สามารถรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Defect)
  • สามารถเปลี่ยน หรือซ่อมลิ้นหัวใจ

ขั้นตอนการสวนหัวใจและหลอดเลือด

ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจและหลอดเลือดจะทำการสวนหัวใจในโรงพยาบาล โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • ผู้ป่วยจะได้รับยาเพื่อระงับอาการปวดบริเวณที่แพทย์ใส่สวนเข้าไป (บริเวณต้นขา แขน หรือลำคอ) และยาลดความกังวลผ่านทางหลอดเลือดดำบริเวณแขน
  • แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กแทงลงไปบริเวณผิวหนังของผู้ป่วย เข้าไปยังเส้นเลือดใหญ่ และใส่ปลอกพลาสติกตามเข็มเข้าไปยังเส้นเลือด แล้วจึงใส่สายสวนเข้าไปยังหัวใจผ่านทางปลอกพลาสติกนั้น
  • แพทย์จะใช้เครื่องเอกซเรย์ถ่ายภาพขณะสวนหัวใจ เพื่อให้เห็นตำแหน่งที่เหมาะสมในการวางสายสวน
  • แพทย์อาจฉีดสารทึบรังสีผ่านทางสายสวน เพื่อตรวจดูตำแหน่งของหลอดเลือดที่ตีบตัน
  • เมื่อสายสวนหัวใจอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการแล้ว แพทย์จึงจะสามารถตรวจหัวใจ หรือทำหัตถการอื่นๆ ที่จำเป็นต่อไป

ก่อนทำการสวนหัวใจและหลอดเลือดต้องเตรียมตัวอย่างไร?

  • งดน้ำ งดอาหาร เป็นเวลาอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนทำหัตถการ
  • แจ้งแพทย์ล่วงหน้าเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่ผู้ป่วยใช้และควรถามแพทย์ว่า ควรรับประทานยาเหล่านั้นในวันที่ทำการสวนหัวใจหรือไม่
  • แจ้งแพทย์ให้ทราบถึงโรคประจำตัวของผู้ป่วย
  • หากตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่า ตั้งครรภ์ กรุณาแจ้งแพทย์ก่อนทำการสวนหัวใจ

ภายหลังการสวนหัวใจและหลอดเลือด

  • ปกติจะใช้เวลาพักฟื้นไม่กี่ชั่วโมง แต่อาจจะมีผู้ป่วยบางคนที่ต้องนอนราบเป็นเวลาหลายชั่วโมงหลังการสวนหัวใจ
  • สามารถรับประทานอาหารและน้ำดื่มน้ำได้หลังการตรวจสวนหัวใจ
  • ผู้ป่วยอาจมีอาการไม่สบายตัวเกิดขึ้น เป็นเรื่องปกติที่พบได้ทั่วไป
  • ผู้ป่วยบางรายอาจสามารถกลับบ้านได้ในวันเดียวกับที่ทำการสวนหัวใจ
  • หากได้รับการรักษาโดยหัตถการอื่นด้วย เช่น การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Angioplasty) อาจจะต้องพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล โดยระยะเวลาการพักรักษาตัวขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกายและการรักษาที่ได้รับ

ความเสี่ยงของการสวนหัวใจและหลอดเลือด

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการสวนหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่

  • เลือดออก หรือมีรอยช้ำ
  • หัวใจวายเฉียบพลัน หรือเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
  • หลอดเลือดบริเวณที่ใส่สายสวนได้รับบาดเจ็บ
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • แพ้สารทึบรังสี หรือแพ้ยาที่ใช้
  • ไตวาย
  • เกิดการติดเชื้อ
  • เกิดลิ่มเลือด
  • เนื้อเยื่อหัวใจ หรือหลอดเลือดฉีกขาด

ค่าใช้จ่ายในการสวนหัวใจและหลอดเลือดแต่ละโรงพยาบาลราคาเท่าไหร่?

ค่าใช้การสวนหัวใจและหลอดเลือดจะขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาลและตำแหน่งในการสวนหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงหัตถการรักษาอื่นๆ ที่ต้องทำร่วมด้วย

โดยโรงพยาบาลรัฐบาลจะมีสิทธิประกันสังคม สิทธิประกันสุขภาพ หรือบัตรทอง ในการช่วยเหลือค่าใช้จ่าย ผู้ป่วยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้กับโรงพยาบาลที่ไปรักษา

ส่วนโรงพยาบาลเอกชนจะมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 30,000–400,000 บาท ขึ้นอยู่กับตำแหน่งการสวนหลอดเลือด และการทำหัตถการรักษาอื่นๆ เพิ่มเติม

หากคุณกำลังสับสนและกังวลที่จะตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ควรศึกษาเรื่องกระบวนการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น และการดูแลติดตามผลให้ดีเสียก่อน โดยสามารถปรึกษาแพทย์ประจำตัวที่กำลังดูแลคุณอยู่นั่นเอง

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Mankad SV., Transcatheter mitral valve implantation in degenerated bioprosthetic valves. Journal of the American Society of Echocardiography. 2018; 31: 845.
Mayoclinic.org, Cardiac-catheterization (https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/cardiac-catheterization/about/pac-20384695), 5 November 2019.
Sorajja P., Survival after alcohol septal ablation for obstructive hypertrophic cardiomyopathy. Circulation. 2012; 126: 2374.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป