ปัญหาสุขภาพ 5 ชนิดที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเทคโนโลยี

เผยแพร่ครั้งแรก 21 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ปัญหาสุขภาพ 5 ชนิดที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเทคโนโลยี

ณ ปัจจุบันภาวะต่าง ๆ อย่างโรคไหล่ห่อคอตก โรคเส้นประสาทกดทับ และอื่น ๆ สามารถพบเห็นได้มากเนื่องมาจากการใช้งานคอมพิวเตอร์และแล็บท็อบมากเกินไป

โรคไหล่ห่อคอตก

หากคุณกำลังอ่านบทความนี้อยู่และกำลังนั่งงอตัวอยู่บนเก้าอี้ หรือกำลังเอี้ยวตัวราบไปบนโต๊ะ ศีรษะของคุณจะเอนไปข้างหน้าค่อนข้างมากในขณะที่ไหล่คุณจะทำมุมโค้ง และแขนของคุณจะงอขนาบข้างของร่างกายคุณ ท่าทางเช่นนี้อาจสามารถสร้างความเจ็บปวดให้คุณได้โดยที่คุณไม่รู้สึกตัว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คำว่า “ไหล่ห่อคอตก” นั้นเกิดจากความคิดเห็นร่วมกันของบรรดานักกายภาพและแพทย์ที่คิดว่าคำนิยามนี้เหมาะสมที่สุดกับโรคที่เกิดจากการใช้งานเทคโนโลยีประเภทใหม่ซึ่งเป็นผลมาจากการพิมพ์ข้อความ การเล่นเกม และการส่งอีเมล์ โรคไหล่ห่อคอตก หรือก็คือการบาดเจ็บจากการทำงานหนักซ้ำ ๆ ซึ่งมาจากการที่ศีรษะของคุณเอนไปข้างหน้า และก้มลงมองอุปกรณ์ในมือของคุณเป็นระยะเวลานาน

ความผิดปกติด้านการนอน

การจ้องมองแสงจากหน้าจออุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างจอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์อาจส่งผลต่อกระบวนการสร้างเมลานินของคุณ ด้วยการบั่นทอนนาฬิกาชีวภาพในตัว และส่งผลให้ร่างกายไม่อาจนอนหลับได้อย่างสนิทจริง ๆ จากข้อมูลงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยโกเทนเบิร์ก ประเทศสวีเดน การใช้งานโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์อย่างหนักหน่วงนั้นเชื่อมโยงกับการเพิ่มขึ้นของความเครียด ภาวะความผิดปรกติด้านการนอน และเพิ่มอัตราการเป็นโรคซึมเศร้าในผู้ที่มีอายุน้อย โดยสามารถสรุปข้อมูลการค้นพบนี้ข้างล่าง:

  • การใช้งานโทรศัพท์มือถือหนักเกินไปแสดงให้เห็นการเพิ่มขึ้นของภาวะความผิดปรกติด้านการนอนในกลุ่มผู้ชาย และเพิ่มอาการโรคซึมเศร้าขึ้นในกลุ่มผู้ชายและผู้หญิง
  • ผู้ชายที่ใช้คอมพิวเตอร์นาน ๆ มักประสบกับปัญหาด้านการนอนมากขึ้น
  • ทั้งสองเพศแสดงผลให้เห็นว่าการใช้งานคอมพิวเตอร์ตอนดึกนาน ๆ โดยไม่หยุดพักนั้นเกี่ยวพันกับการเป็นภาวะผิดปรกติด้านการนอน การเพิ่มขึ้นของความเครียด และปัญหาด้านซึมเศร้า

โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (CVS)

คุณเป็นคนที่ต้องเกาะติดหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลามากกว่า 6 ถึง 7 ชั่วโมงหรือไม่ และมักมีปัญหาตาแห้งหรือมีน้ำตาไหลออกมาหรือไม่? หากใช่ คุณอาจจะเป็นโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรมก็เป็นได้ ซึ่งโรคนี้ทำให้คุณทรมานจากสายตาพร่ามัว ภาพซ้อน ตาแห้ง ตาแดง ระคายเคืองที่ดวงตา ปวดหัว ปวดคอ หรือเจ็บหลัง

นักวิจัยได้ทำการสรุปแล้วว่าผู้ที่ทำงานบนคอมพิวเตอร์มากกว่าเจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์ (หรือมากกว่า 140 ล้านคน) ประสบกับปัญหาคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม หรือดวงตาอ่อนล้า

ควรการปรับเปลี่ยนวิธีการนั่งทำงาน จัดรูปแบบการวางจอคอมพิวเตอร์ให้ดี หรือหยุดพักสายตาและร่างกายเป็นครั้งคราวจะช่วยบรรเทาปัญหาจากโรคนี้ไปได้ แต่หากยังคงประสบกับความอ่อนล้าของดวงตาอยู่ก็ควรเข้าปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด

โรคเส้นประสาทกดทับที่ข้อมือ

มักแสดงออกมาเป็นอาการตะคริว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือกล้ามเนื้อเกร็ง โรคเส้นประสาทกดทับที่ข้อมือก็ยังเป็นภาวะผิดปรกติของประสาทที่ร้ายแรงอยู่ดี ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ และอาจส่งผลเป็นอาการเจ็บปวด การเปลี่ยนแปลงของระบบรับความรู้สึก หรือการสูญเสียการเคลื่อนไหวของมือไปได้ อาการทั่วไปของโรคเส้นประสาทกดทับที่ข้อมือ ยกตัวอย่างเช่นชาที่นิ้ว (มักเกิดที่หัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วกลาง) แสบร้อน รู้สึกจั๊กจี้ที่ฝ่ามือ ปวดปลายนิ้ว ข้อต่อตึง และการหยิบกำด้วยนิ้วทำได้ยาก เป็นต้น

วิธีการป้องกันมีดังนี้:

  • ใช้แรงในการทำงานหรือหยิบจับสิ่งของให้น้อยที่สุด
  • หยุดพักกิจกรรมเป็นครั้งคราว และยืดเส้นยืดสายข้อมือบ้าง
  • วางแป้นพิมพ์ให้อยู่ที่ระดับข้อศอก หรือต่ำกว่าเล็กน้อย
  • หยุดการใช้งานคอมพิวเตอร์และพักผ่อนเป็นระยะ

ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน

ในปี 2003 ได้มีรายงานถึงความเสี่ยงของภาวะหลอดเลือดดำตีบออกมาหลังจากที่มีชายวัย 32 ปีที่ใช้งานคอมพิวเตอร์หลายชั่วโมงเกิดเส้นเลือดอุดตันเฉียบพลัน ซึ่งทำให้เขาหมดสติทันที ทำให้บรรดานักวิจัยต่างออกมาเตือนและแนะนำผู้ใช้คอมพิวเตอร์ให้ลุกขึ้นมา ขยับร่างกายไปรอบ ๆ และหลีกเลี่ยงการนั่งอยู่เฉย ๆ เป็นเวลานานในขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์

มาถึงตอนนี้ คุณควรตระหนักแล้วว่าทั้งอุปกรณ์และเทคโนโลยีนั้นทำให้ชีวิตของพวกเราง่ายขึ้นก็จริง แต่มันก็ยังส่งผลต่อสุขภาพของพวกเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเช่นกัน อย่าให้มันครอบงำและทำลายสุขภาพของเราเพราะผลของมันจะเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How modern life affects our physical and mental health. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/318230)
How medical technologies shape the experience of illness. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5797484/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)