กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

คู่มือสุขภาพกับการตั้งครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
คู่มือสุขภาพกับการตั้งครรภ์

เมื่อผลการทดสอบการตั้งครรภ์ให้ผลเป็นบวก นั่นหมายถึงว่าคุณเริ่มมีชีวิตที่เปลี่ยนไป เมื่อทารกเติบโตและเปลี่ยนแปลงตามระยะต่างๆ ของการตั้งครรภ์ คุณก็จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเช่นกัน ทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ และวิถีการดำเนินชีวิตของคุณก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย  คุณจำเป็นต้องมีข้อมูลสำหรับการตอบคำถามที่คุณสงสัย และเพื่อช่วยคุณในการตัดสินใจต่างๆ เพื่อให้ลูกน้อยและตัวคุณเองมีสุขภาพที่แข็งแรง

การเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ที่มีสุขภาพดีจะต้องเริ่มเตรียมพร้อมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ผู้ที่วางแผนจะมีบุตรควรเรียนรู้วิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ และวิธีการเตรียมตัวสำหรับการตั้งครรภ์ให้เรียบร้อยก่อนการตั้งครรภ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เริ่มต้นการเตรียมพร้อม

เมื่อคุณวางแผนที่จะมีบุตร คุณอาจะมีคำถามหลายข้อที่สงสัย เช่น หากมีเพศสัมพันธ์แล้วนานแค่ไหนถึงจะตั้งครรภ์, เมื่อไรที่ควรมีเพศสัมพันธ์, ต้องมีเพศสัมพันธ์กันบ่อยแค่ไหน เป็นต้น คุณสามารถหาคำตอบของข้อสงสัยต่างๆ ได้ที่นี่

โอกาสที่จะตั้งครรภ์

คำถามนี่คือคำถามที่พบบ่อย: โอกาสที่จะตั้งครรภ์ในแต่ละเดือนคือเท่าไร?  สำหรับคู่รักส่วนใหญ่ที่พยายามจะตั้งครรภ์ โอกาสของการตั้งครรภ์จะอยู่ที่ 15% ถึง 25% ในแต่ละเดือน

แต่ว่าก็ยังมีปัจจัยบางอย่างที่ส่งผลต่อโอกาสของการตั้งครรภ์:

  • อายุ: หลังจากอายุ 30 ปี โอกาสที่จะตั้งครรภ์ในแต่ละเดือนจะลดลง โดยจะลดลงตามอายุของคุณ และลดลงอย่างมากเมื่ออายุ 40 ปี
  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ: การมีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ จะทำให้การคำนวณวันที่มีไข่ตกเป็นเรื่องยาก จึงทำให้ยากที่จะรู้ว่าเวลาที่ควรจะมีเพศสัมพันธ์คือเวลาใด
  • ความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์: หากมีเพศสัมพันธ์น้อย ก็จะมีโอกาสตั้งครรภ์น้อยตามไปด้วย
  • ระยะเวลาที่พยายามตั้งครรภ์: ถ้าคุณยังไม่ตั้งครรภ์ภายหลังจากที่พยายามตั้งครรภ์นาน 1 ปีไปแล้ว โอกาสของการตั้งครรภ์อาจลดต่ำลงได้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจเพิ่มเติมสำหรับผู้หญิงและผู้ชายเพื่อตรวจหาภาวะมีบุตรยาก
  • ความเจ็บป่วยและโรคที่เป็นสามารถส่งผลต่อการตั้งครรภ์ได้

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับรอบประจำเดือน

การเรียนรู้ทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับรอบประจำเดือนสามารถช่วยวางแผนการตั้งครรภ์ได้

รอบประจำเดือนของผู้หญิงนั้นจะเริ่มนับจากวันแรกของการมีเลือดประจำเดือน (ไม่ใช่ออกเล็กน้อยเป็นจุดๆ) และสิ้นสุดในวันก่อนรอบประจำเดือนครั้งถัดไป รอบประจำเดือนจะกินเวลาประมาณ 21-35 วัน หรือมากกว่า

ถ้ารอบประจำเดือนมีความยาวแตกต่างกันไปภายใน 2-3 วันนับจากเดือนก่อนหน้า ถือว่าเป็นการมาไม่สม่ำเสมอ แต่ก็เป็นเรื่องที่พบได้บ่อย ผู้หญิงหลายคนไม่ได้มีรอบประจำเดือนสม่ำเสมอ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผิดปกติอะไร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การมีเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์

คำถามที่พบบ่อยจากคู่รักที่พยายามจะตั้งครรภ์: ควรมีเพศสัมพันธ์บ่อยแค่ไหน? ถ้าตอบสั้นๆ ก็คือ มีให้บ่อย

คู่รักหลายๆ คู่ที่พยายามจะตั้งครรภ์สูญเสียพลังงานจำนวนมากไปกับช่วงเวลาของการมีเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตามสามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์เพื่อคาดการณ์เวลาที่ผู้หญิงจะมีการตกไข่ได้ ซึ่งในทางทฤษฎีถือว่าสามารถทำได้ มีข้อมูลจากการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้แสดงให้เห็นว่าช่วงเวลาที่ไข่กับอสุจิจะมีโอกาสผสมกันนั้นมีน้อย โดยจะอยู่ในช่วง 3-5 วันก่อนไข่ตกรวมถึงวันที่มีไข่ตก ดังนั้นโอกาสที่ดีที่สุดที่จะตั้งครรภ์คือก่อนไข่ตก 1-2 วัน แพทย์จะแนะนำให้คุณมีเพศสัมพันธ์วันเว้นวันตั้งแต่เริ่มสัปดาห์ก่อนที่จะมีไข่ตก หรือเริ่มต้นหลังจากสิ้นสุดรอบประจำเดือนแล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แม้ว่าช่วงเวลาของการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงไม่กี่วันนี้มาจากการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล แต่การนับแบบนี้ก็มีข้อบกพร่องบ้างเหมือนกัน เพราะว่าร่างกายของคนเรานั้นไม่ได้เป็นแบบนี้สม่ำเสมอทุกครั้งไป แม้ว่ารอบประจำเดือนของคุณจะเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ แต่การตกไข่นั้นสามารถเกิดขึ้นที่เวลาใดก็ได้ตลอดช่วงรอบประจำเดือนดังกล่าว ถ้าคุณมีเพศสัมพันธ์เฉพาะวันที่คุณคิดว่ามีไข่ตก แต่วันอื่นคุณหยุดมีเพศสัมพันธ์ คุณอาจโชคไม่ดี ไม่ตั้งครรภ์ก็ได้

ดังนั้นคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญก็คือ: แนะนำให้มีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 2-3 วันต่อสัปดาห์ ถ้าผู้ชายมีจำนวนอสุจิเป็นปกติ การมีเพศสัมพันธ์วันเว้นวัน (หรือทุกวัน) จะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้

หยุดยาเม็ดคุมกำเนิดก่อนการตั้งครรภ์

จะใช้เวลาเท่าใดกว่าที่ผลของยาคุมกำเนิดจะหมดไป? คำตอบก็คือ มีความเป็นไปได้ที่จะตั้งครรภ์ได้ทันทีหลังจากหยุดยาคุมกำเนิด อย่างไรก็ตามอาจใช้เวลา 2-3 เดือนก่อนที่การตกไข่จะกลับมาเป็นปกติอีกครั้ง

มีความปลอดภัยหรือไม่ที่จะตั้งครรภ์หลังจากหยุดยาคุมกำเนิดทันที? คำตอบคือ ปลอดภัย ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ทันทีหลังจากหยุดยาคุมกำเนิดมีทารกที่มีสุขภาพดีพอๆ กันกับผู้หญิงที่หยุดยาคุมกำเนิดแล้วรอประมาณ 2-3 เดือนก่อนตั้งครรภ์

ที่มา : https://www.webmd.com/baby/guide/getting-started-on-getting-pregnant#1


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Pregnancy | Pregnant | Prenatal Care. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/pregnancy.html)
Pregnancy and baby guide. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม