รู้สึกหนักที่ศีรษะ เกิดจากอะไรได้บ้าง?

เผยแพร่ครั้งแรก 14 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
รู้สึกหนักที่ศีรษะ เกิดจากอะไรได้บ้าง?

โดยปกติแล้ว ศีรษะของเรามีน้ำหนักค่อนข้างมาก ซึ่งประกอบไปด้วยกะโหลกศีรษะ เนื้อเยื่อสมอง และส่วนอื่นๆ ทั้งนี้มีข้อมูลใน The journal Surgical Technology International ระบุว่า เมื่ออยู่ในตำแหน่งปกติ ศีรษะของผู้ใหญ่โดยเฉลี่ยมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 10 และ 12 ปอนด์ แต่ในบางกรณี ศีรษะของเราก็สามารถหนักกว่าปกติได้เช่นกัน

สาเหตุที่ทำให้รู้สึกหนักศีรษะ

สาเหตุที่เป็นไปได้ มีดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. มีความผิดปกติเกี่ยวกับการทรงตัว

อาการเวียนศีรษะ หรือวิงเวียนคล้ายจะเป็นลมที่ส่งผลต่อความสมดุลของร่างกายสามารถทำให้คุณรู้สึกว่าศีรษะหนักมากขึ้น อาการเหล่านี้อาจเกิดจากความผิดปกติในเรื่องของการทรงตัว ตัวอย่างเช่น โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน โรคเส้นประสาททรงตัวอักเสบ ฯลฯ อย่างไรก็ดี ความผิดปกติดังกล่าวสามารถทำให้รู้สึกราวกับว่าศีรษะมีน้ำหนักมากกว่าปกติ

2. โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดจากการที่กล้ามเนื้ออ่อนแอกว่าปกติ ซึ่งอาการเริ่มแรกของผู้ป่วยคือ การมีกล้ามเนื้อคอที่อ่อนแอและอ่อนล้าง่าย ซึ่งคนที่เป็นโรคนี้จะทำสิ่งง่ายๆ อย่างการเคี้ยว พูด หรือพยุงศีรษะได้ยากขึ้น

3. มีท่าทางที่ไม่ดี

จากข้อมูลของ Surgical Technology International มีการระบุว่า ถ้าคอและศีรษะเอนไปข้างหน้าประมาณ 15 องศา เราจะรู้สึกว่าศีรษะหนัก 27 ปอนด์ แต่ถ้าเราก้มศีรษะเพื่อมองพื้น หรือทำมุมประมาณ 60 องศา คุณจะรู้สึกว่าศีรษะหนักมากถึง 60 ปอนด์  ทั้งนี้การจัดท่าทางที่ไม่ได้เป็นกลางหรืออยู่ในตำแหน่งตั้งตรงก็อาจทำให้คุณรู้สึกหนักศีรษะได้

4. ปวดศีรษะไซนัส

การปวดศีรษะไซนัสสามารถทำให้เกิดอาการปวดและแรงกดที่ทำให้รู้สึกหนักที่ศีรษะ การปวดหัวประเภทนี้จะเกิดขึ้นเมื่อทางเดินของโพรงอากาศข้างจมูกบวม แบคทีเรีย และไวรัสสามารถติดอยู่ด้านในบริเวณดังกล่าว ทำให้มีอาการบวม มีของเหลวสีเหลือง และคัดจมูก

5. ปวดศีรษะจากความเครียด

การปวดศีรษะจากความเครียด หรือที่เรียกว่า Tension headaches ถือเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของอาการปวดศีรษะที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดราวกับถูกบีบที่ศีรษะ นอกจากนี้มันยังทำให้กล้ามเนื้อหัวไหล่และกล้ามเนื้อคอตึง ส่งผลให้เรารู้สึกว่าศีรษะหนักกว่าปกติ ซึ่งอาการปวดศีรษะจากความเครียดมักเกิดขึ้นนาน 20 นาที–2 ชั่วโมง

วิธีรักษา

หากปวดศีรษะเพราะจัดท่าทางได้ไม่ดี ให้คุณพยายามพักจากการก้มหน้าโดยเฉพาะเมื่อพิมพ์งาน หรือกดโทรศัพท์มือถือ รวมถึงยืดคอให้ตรง และรักษาตำแหน่งให้เป็นกลาง แต่ถ้าความรู้สึกหนักศีรษะเกิดจากอาการปวดศีรษะชนิดที่เรากล่าวไปข้างต้น การทานยาพาราเซตามอล ไอบูโพรเฟน และนาพรอกเซน ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ นอกจากนี้ให้คุณพยายามหาว่าต้นเหตุที่ทำให้ปวดศีรษะจากความเครียดมีอะไรบ้าง ตัวอย่างเช่น ความเครียด ความหิว การนอนไม่เพียงพอ การนอนกัดฟันตอนกลางคืน ฯลฯ โดยให้คุณหลีกเลี่ยงนิสัยเหล่านี้และลองไปพบแพทย์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากความรู้สึกหนักที่ศีรษะเกิดจากความผิดปกติ หรือโรคที่เกี่ยวกับการทรงตัว เราสามารถรักษาโดยทานยา ซึ่งประกอบไปด้วย

  • ยากลุ่มแอนตี้โคลิเนอร์จิก (Anticholinergics): สำหรับตัวอย่างของยา เช่น สโคโปลามีน (Scopolamine) ซึ่งมักใช้รักษาอาการเมาเรือ
  • ยาแก้คลื่นไส้: ยาประเภทนี้ใช้สำหรับแก้คลื่นไส้ในคนที่เวียนศีรษะ ตัวอย่างยา เช่น  เดกซาเมทาโซน (Dexamethasone) และออนดาเซทรอน (Ondasetron)
  • ยาแอนตี้ฮิสตามีน (Antihistamines): ยาเหล่านี้สามารถช่วยบรรเทาอาการเมารถได้ ตัวอย่างเช่น มีไคลซีน (Meclizine) ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) โปรเมทาซีน (Promethazine) ฯลฯ
  • ยาเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepine): ยาในกลุ่มนี้ถูกออกแบบมาเพื่อบรรเทาอาการวิตกกังวล และรับมือกับอาการเมารถหรือบ้านหมุนแบบฉับพลัน ตัวอย่างเช่น ไดอะซีแพม (Diazepam) โคลนาซีแพม (Clonazepam) และอัลปราโซแลม (Alprazolam) ฯลฯ

วิธีบรรเทาอาการด้วยตัวเองที่บ้าน

คุณสามารถรับมือกับความรู้สึกหนักที่ศีรษะโดยใช้แผ่นให้ความร้อน หรือที่เรียกว่า Heating pad ประคบที่คอและหัวไหล่ แต่ให้วางไว้ขณะที่ใส่เสื้อผ้าเพื่อไม่ให้ผิวไหม้ แต่หากคุณเป็นโรคเบาหวาน หรือโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท คุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

ถ้ารู้สึกว่ากล้ามเนื้อคออ่อนแอเป็นพิเศษ คุณอาจออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรงให้คอที่บ้าน การออกกำลังกายด้วยวิธีเหล่านี้สามารถช่วยลดความตึงของกล้ามเนื้อและทำให้คอแข็งแรง สำหรับตัวอย่างวิธีออกกำลังกายมีดังนี้

1. Chin tuck

การออกกำลังกายท่านี้สามารถช่วยให้กล้ามเนื้อคอแข็งแรง สำหรับวิธีทำคือ ให้คุณไปยืนพิงกับกำแพง และดันหัวไหล่ไปด้านหลังพร้อมกับมองไปข้างหน้า จากนั้นให้กดคางลงจนรู้สึกว่าด้านหลังคอ และกล้ามเนื้อบริเวณไหปลาร้าข้างใดข้างหนึ่งยืดออก โดยทำท่านี้ค้างไว้ 5 วินาที แล้วกลับคืนสู่ท่าปกติ และทำซ้ำอีก 10 ครั้ง

2. Back burn

การออกกำลังกายท่านี้สามารถทำให้คุณมีท่าทางที่ดีขึ้น และทำให้กล้ามเนื้อคอแข็งแรง สำหรับวิธีทำก็ไม่ยาก ให้คุณยืนพิงกำแพง และยืดแขนให้ตรงในระดับความสูงของหัวไหล่ โดยที่ฝ่ามือหันไปด้านหน้า จากนั้นให้คุณค่อยๆ ยกแขนขึ้นไปในอากาศและนำไปวางใกล้กับใบหู ซึ่งฝ่ามือก็ยังคงหันไปด้านหน้า จากนั้นให้ค่อยๆ ลดแขนลงสู่ตำแหน่งเริ่มต้น โดยให้ทำ 10 ครั้ง อย่างน้อย 3-5 ครั้งต่อวัน

โดยทั่วไปแล้ว เราสามารถบรรเทาความรู้สึกหนักที่ศีรษะได้เอง โดยใช้วิธีที่เราแนะนำไปข้างต้น แต่ถ้าอาการแย่ลง ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน หรือการทำกิจกรรมต่างๆ การไปพบแพทย์ก็คือทางออกที่ดีที่สุด


26 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Head feels heavy: 5 causes, symptoms, and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321166)
Pressure in Head: Causes, Treatment, and Related Conditions. Healthline. (https://www.healthline.com/health/pressure-in-head)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป