Haloperidol (ฮาโลเพอริดอล) - เป็นยาในกลุ่มยาต้านโรคจิต ฮาโลเพอริดอลใช้ในการรักษา

เผยแพร่ครั้งแรก 30 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
Haloperidol (ฮาโลเพอริดอล) - เป็นยาในกลุ่มยาต้านโรคจิต ฮาโลเพอริดอลใช้ในการรักษา

ฮาโลเพอริดอล หรือที่รู้จักในชื่อการค้า ฮาดอล (Hadol) เป็นยาในกลุ่มยาต้านโรคจิต ฮาโลเพอริดอลใช้ในการรักษาโรค schizophrenia กลุ่มอาการ Tic in Tourette ภาวะมาเนีย (mania) ในโรคไบโพลาร์ (bipolar) อาการคลื่นไส้ อาเจียน โรคจิตเฉียบพลัน และอาการเห็นภาพหลอนในผู้ป่วยถอนแอลกอฮอล์ ฮาโลเพอริดอลสามารถบริหารผ่านการรับประทาน หรือเป็นยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือเข้าหลอดเลือดดำ ฮาโลเพอริดอลโดยปกติออกฤทธิ์ใน 30 ถึง 60 นาที ยาในรูปแบบออกฤทธิ์นานสามารถใช้เป็นยาฉีดในผู้ป่วย schizophrenia โดยมีฤทธิ์อยู่ได้นานถึง 4 สัปดาห์ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มักลืมรับประทานยาบ่อยๆ หรือไม่อยากรับประทานยาผ่านการรับประทาน ฮาโลเพอริดอลถูกค้นพบในปีค.ศ. 1958 โดย Paul Jenssen โดยฮาโลเพอริดอลสังเคราะห์จากเพธิดีน (pethidine) ฮาโลเพอริดอลเป็นยาที่อยู่ในบัญชียาหลักขององค์การอนามัยโลก และจัดเป็นยาที่มีการใช้มากที่สุดในกลุ่มยาต้านโรคจิต

ตัวอย่างยี่ห้อของยา Haloperidol ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

Halomed

- ยาเม็ด ขนาด 0.5 มิลลิกรัม

- ยาเม็ด ขนาด 2 มิลลิกรัม

- ยาเม็ด ขนาด 5 มิลลิกรัม

- ยาเม็ด ขนาด 10 มิลลิกรัม

Medifive

Haloperidol GPO

- ยาเม็ด ขนาด 2 มิลลิกรัม

- ยาเม็ด ขนาด 5 มิลลิกรัม

GPO

Halopol

- ยาเม็ด ขนาด 0.5 มิลลิกรัม

- ยาเม็ด ขนาด 2 มิลลิกรัม

General Drugs House

Haridol

- ยาเม็ด ขนาด 2 มิลลิกรัม

- ยาเม็ด ขนาด 5 มิลลิกรัม

- ยาเม็ด ขนาด 10 มิลลิกรัม

- ยาฉีด ความเข้มข้น 5 มิลลิกรัมต่อมิลลิตร

Atlantic Pharma

Polyhadon

- ยาเม็ด ขนาด 0.5 มิลลิกรัม

- ยาเม็ด ขนาด 2 มิลลิกรัม

- ยาเม็ด ขนาด 5 มิลลิกรัม

- ยาเม็ด ขนาด 10 มิลลิกรัม

- ยาน้ำเชื่อม ความเข้มข้น 2 มิลิลกรัมต่อมิลลิลิตร

Central Poly Trading

Haricon

- ยาเม็ด ขนาด 0.5 มิลลิกรัม

- ยาเม็ด ขนาด 2 มิลลิกรัม

- ยาเม็ด ขนาด 10 มิลลิกรัม

Utopian

Halo

- ยาเม็ด ขนาด 5 มิลลิกรัม

- ยาเม็ด ขนาด 10 มิลลิกรัม

บริษัท เบสซี่แอรอน จำกัด


โรค และอาการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยานี้บรรเทา

  • ข้อบ่งใช้สำหรับอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • ข้อบ่งใช้สำหรับอาการทางจิตเฉียบพลัน
  • ข้อบ่งใช้สำหรับอาการกระสับกระส่ายและสับสน
  • ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคจิต
  • ข้อบ่งใช้สำหรับเป็นยาเสริมระยะสั้นในการรักษาภาวะวิตกกังวลรุนแรง หรือมีการรบกวนทางพฤติกรรม
  • ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาอาการสะอึกแบบรุนแรง
  • ข้อบ่งใช้สำหรับอาการกระสับกระส่ายและ

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Haloperidol

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ ฮาโลเพอริดอล เป็นยาในกลุ่มยาต้านจิตเภท มีฤทธิ์ยับยั้งตัวรับโดปามีน ชนิดดี 1 และดี 2 ที่บริเวณโพสท์ไซแนปติก (postsynaptic dopamine D1 / D2 receptor) ในสมองส่วนมีโซลิมบิก และลดการปลดปล่อยฮอร์โมนจากสมองส่วนไฮโพทาลามัสและสมองส่วนไฮโพไฟเซียล ทำให้เกิดภาวะสงบ และลดอาการก้าวร้าวโดยไม่ก่อให้เกิดการเห็นภาพหลอน และอาการหลงผิด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อบ่งใช้ของยา Haloperidol

ข้อบ่งใช้สำหรับอาการคลื่นไส้ อาเจียน ยาในรูปแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 0.5 ถึง 2 มิลลิกรัมต่อวัน ข้อบ่งใช้สำหรับอาการทางจิตเฉียบพลัน ยาในรูปแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 2 ถึง 10 มิลลิกรัม อาจให้ยาทุกชั่วโมงหรือทุก 4 ถึง 8 ชั่วโมงจนกว่าจะควบคุมอาการได้ ขนาดยาสูงสุด 18 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับการควบคุมอาการฉุกเฉินหรือในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจให้ขนาดยา 18 มิลลิกรัมผ่านหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ข้อบ่งใช้สำหรับอาการกระสับกระส่ายและสับสน ยาในรูปแบบยารับประทาน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 1 ถึง 3 มิลลิกรัม ทุก 8 ชั่วโมง ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคจิต ยาในรูปแบบยารับประทาน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 0.5 ถึง 5 มิลลิกรัม วันละสองถึงสามครั้ง อาจเพิ่มขนาดยาได้ถึง 100 มิลลิกรัมต่อวันในกรณีที่มีความรุนแรงหรือมีการต้านทานต่อยา ระดับยา maintenance ขนาด 3 ถึง 10 มิลลิกรัมต่อวัน ข้อบ่งใช้สำหรับเป็นยาเสริมระยะสั้นในการรักษาภาวะวิตกกังวลรุนแรง หรือมีการรบกวนทางพฤติกรรม ยาในรูปแบบยารับประทาน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 0.5 มิลลิกรัม วันละสองครั้ง ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาอาการสะอึกแบบรุนแรง ยาในรูปแบบยารับประทาน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 1.5 มิลลิกรัม วันละสามครั้ง ปรับขนาดยาตามการตอบสนอง ข้อบ่งใช้สำหรับอาการกระสับกระส่ายและสับสน ยาในรูปแบบยาฉีดใต้ผิวหนัง ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 5 ถึง 15 มิลลิกรัม ให้ยาแบบ infusion เป็นเวลา 24 ชั่วโมง

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา Haloperidol

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

ข้อควรระวังของการใช้ยา Haloperidol

- ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่เกิดพิษกดระบบประสาทส่วนกลางระดับรุนแรง - ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยโคม่า - ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยพาร์กินสันส์ - ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยสตรีมีครรภ์ - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคลมชัก - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคต้อหินมุมปิด - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโต - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคหัวใจหรือโรคตับระดับรุนแรง - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อเฉียบพลัน - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีภาวะฮอร์โมนไทรอยด์สูง - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด - ระวังการใช้ยานี้ในเด็ก สตรีมีครรภ์ และผู้สูงอายุ - หยุดใช้ยานี้เมื่อมีสัญญาณการเกิดพิษต่อระบบประสาทในผู้ป่วยที่ได้รับยา haloperidol และ lithium

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Haloperidol

ยานี้อาจก่อให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ ได้แก่ เกิดความผิดปกติของการเคลื่อนไหวร่างกายที่ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้จากการใช้ยา (tardive dyskinesia) กลุ่มอาการ extrapyridal ภาวะวิตกกังวล ง่วงซึม ซึมเศร้า เบื่ออาหาร หัวใจเต้นเร็วชั่วคราว ความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่า เม็ดเลือดขาวต่ำ ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า ปัสสาวะขัด อาการอันไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง ได้แก่ กลุ่มอาการ neuroleptic malignant syndrome

ข้อมูลการใช้ยา Haloperidol ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category C คือ ควรระมัดระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ สำหรับสตรีให้นมบุตร ควรระวังการใช้ยา

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาควบคุมพิเศษ จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยา โดยมีการจัดทำบัญชียาควบคุมพิเศษแต่ละอย่างทุกครั้ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อมูลการเก็บรักษายา Haloperidol

เก็บที่อุณหภูมิระหว่าง 15 ถึง 30 องศาเซลเซียส

สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลในการสั่งใช้ยา

แพทย์และเภสัชกรสามารถให้ข้อมูลการใช้ยาอย่างปลอดภัย ผู้ป่วยควรแจ้งข้อมูลเหล่านี้แก่แพทย์หรือเภสัชกรเพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วยและลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายจากการใช้ยา

  • แจ้งข้อมูลการใช้ยารักษาโรคประจำตัว ยาที่เพิ่งรับประทานก่อนหน้านี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่รับประทาน (รวมถึงวิตามิน และสมุนไพร) ในกรณีมียาประจำตัวจำนวนมาก ให้พกยาเพื่อให้แพทย์หรือเภสัชกรช่วยตรวจสอบก่อนสั่งจ่ายยาใหม่ ไม่ให้เกิดอันตรกิริยาระหว่างยาที่จะได้รับใหม่และยาที่เดิมที่ผู้ป่วยใช้อยู่
  • แจ้งประวัติการแพ้ยา หรืออาการแพ้ที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือแพ้อาหารชนิดใดอยู่ (เนื่องจากยาบางชนิดมีส่วนประกอบของไข่ขาว นม ยีสต์) อาการที่เกิดขึ้น เช่น อาการบวม เกิดผื่น หายใจลำบาก หรือให้นำบัตรแพ้ยา พกติดตัวและแสดงบัตรนี้แก่แพทย์และเภสัชกรก่อนเข้าใช้บริการสุขภาพทุกครั้ง
  • แจ้งข้อมูลในกรณีที่มีการตั้งครรภ์ หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เนื่องจากยาบางชนิดส่งผลอันตรายต่อเด็กในครรภ์ หรือสามารถขับออกทางน้ำนมได้
  • แจ้งข้อมูลที่จะส่งผลต่อการรับประทานยา เช่น มีปัญหาการกลืนลำบาก มีปัญหาด้านการมองเห็นหรืออ่านฉลากยา วิธีการรับประทานยา เพื่อแพทย์หรือเภสัชกรจะได้ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Haldol (Haloperidol Injection): Uses, Dosage, Side Effects, Interactions, Warning. RxList. (https://www.rxlist.com/haldol-drug.htm)
Haldol (haloperidol) Uses, Dosage & Side Effects. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/haloperidol/article.htm)
Haloperidol Uses, Side Effects & Warnings - Drugs.com (https://www.drugs.com/mtm/haloperidol.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป