กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

โรคแพ้กลูเตน (Coeliac disease)

กินขนมปัง เค้ก ข้าวสาลี แล้วปวดท้อง ท้องเสีย หรืออ่อนเพลีย อาจเป็นสัญญาณของโรคแพ้กลูเตนที่ต้องรักษา
เผยแพร่ครั้งแรก 23 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 5 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรคแพ้กลูเตน (Coeliac disease)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคแพ้กลูเตน คือภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อภายในร่างกายเมื่อรับประทานกลูเตนเข้าไป ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง ท้องเสีย ท้องอืด น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน หรือผื่นคัน
  • ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่มีหลายปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น พันธุกรรม ปัญหาด้านสุขภาพ การได้รับอาหารที่มีกลูเตนก่อนอายุ 6 เดือน หรือไม่ได้รับประทานนมแม่
  • เมื่อได้รับวินิจฉัยว่า แพ้กลูเตน แพทย์จะให้งดการรับประทานกลูเตน อาการแพ้จะค่อยๆ ดีขึ้นเอง โดยระบบทางเดินอาหารจะใช้เวลาในการฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์ประมาณ 2 ปี
  • หากคุณสงสัยว่า เป็นโรคแพ้กลูเตน สามารถตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงเพื่อยันยันผลได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้

โรคแพ้กลูเตน (Coeliac disease) เป็นภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อภายในร่างกาย โดยเฉพาะในลำไส้เล็ก เมื่อเรารับประทานกลูเตนเข้าไป จนทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังตามมา

เมื่อคุณได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคแพ้กลูเตน จะต้องงดรับประทานกลูเตนไปตลอดชีวิตเพื่อป้องกันอาการแพ้กำเริบ เพราะปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคแน่ชัด รวมถึงวิธีการรักษาที่หายขาดด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โรคแพ้กลูเตนนั้นสามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย แต่จะพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก

กลูเตน (Gluten) คืออะไร?

กลูเตน คือ โปรตีนชนิดหนึ่งที่พบได้ในข้าวสาลี ข้าวบาร์เล่ และข้าวไรน์

อาหารและเครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสมของธัญพืชเหล่านี้จึงพบกลูเตนรวมอยู่ด้วย เช่น ขนมปัง เส้นพาสต้า เค้ก ธัญญาหารต่างๆ ซอสหลายประเภท ขนมอบ เบียร์ หรือน้ำผลไม้เข้มข้นบางชนิด

หากมีอาการของโรคแพ้กลูเตนก็ควรศึกษาส่วนผสมของอาหาร และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของกลูเตน เพราะอาจทำให้อาการแพ้กำเริบได้

อาการและสัญญาณของโรคแพ้กลูเตน

หลังจากรับประทานกลูเตนไปแล้วภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง หรือไม่กี่วัน มีอาการผิดปกติดังต่อไปนี้ตามมา อาจหมายความว่า "คุณมีความเสี่ยงเป็นโรคแพ้กลูเตน" ได้แก่

หากมีอาการเหล่านี้ ให้ไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้ทันที โดยควรรับประทานอาหารที่มีกลูเตนเป็นส่วนประกอบตามปกติก่อนจนกว่าผลการวินิจฉัยจะสรุปได้ว่า คุณเป็นโรคแพ้กลูเตนจริงๆ หรือในกรณีที่แพทย์สั่งให้งด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในเด็กที่เป็นโรคแพ้กลูเตนนั้น นอกจากจะมีอาการเหล่านี้แล้วยังส่งผลให้เด็กมีอัตราการเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามเกณฑ์ หรืออาจเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ช้ากว่าปกติอีกด้วย

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้เมื่อเป็นโรคแพ้กลูเตน

หากปล่อยให้อาการของโรคแพ้กลูเตนเรื้อรังต่อไป โดยไม่ทำการรักษา เช่น ยังรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของกลูเตนเป็นประจำ คุณจะมีความเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารต่างๆ เช่น การขาดวิตามินดีและแคลเซี่ยมจนทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) ภาวะโลหิตจาง ตลอดจนโรค หรือภาวะต่างๆซึ่งไม่ทราบกลไกที่แน่ชัดของความสัมพันธ์ดังกล่าว

สาเหตุของโรคแพ้กลูเตน

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของการเกิดโรคแพ้กลูเตน หรือสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยโรคแพ้กลูเตนมีระดับความรุนแรงของอาการแพ้ไม่เท่ากัน

อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคแพ้กลูเตนนั้นมักมีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้ หรือมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 1 โรคต่อมไทรอยด์อักเสบจากระบบภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง หรือเคยติดเชื้อในระบบย่อยอาหารในวัยเด็กมาก่อน

นอกจากนี้ยังพบว่า เด็กทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือนที่ถูกเลี้ยงด้วยอาหารที่มีส่วนผสมของกลูเตน และไม่ได้รับประทานนมแม่ ล้วนมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพ้กลูเตน

วิธีการวินิจฉัยโรคแพ้กลูเตน

หากสงสยว่า คุณ บุตรหลาน หรือบุคคลใกล้ชิดเป็นโรคแพ้กลูเตน สามารถไปตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงได้ที่สถานพยาบาล ซึ่งหนึ่งในรายการตรวจภูมิแพ้มักมีกลูเตนรวมอยู่ด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงทำได้โดยการเจาะเลือดไปส่งตรวจเพื่อหาสารก่อภูมิต้านทาน (Food specific IgG) เป็นวิธีที่ไม่มีความเสี่ยงในการเกิดอาการแพ้ทั่วร่างกาย และมีความแม่นยำสูง หรืออาจตรวจร่วมกับการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร

อย่างไรก็ตาม คุณควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้ก่อนเข้ารับการตรวจ เพื่อขอคำแนะนำในการเตรียมตัวที่ถูกต้อง

แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีประกอบของกลูเตน 1-2 มื้อทุกวันก่อนเข้ารับการตรวจติดต่อกันเป็นเวลา 6 สัปดาห์

วิธีการรักษาโรคแพ้กลูเตน

วิธีการรักษาโรคแพ้กลูเตนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของกลูเตน เพื่อป้องกันไม่ให้กลูเตนเข้าไปทำลายผนังเยื่อบุลำไส้

หลังจากที่คุณหยุดรับประทานกลูเตนแล้ว อาการผิดปกติต่างๆ ก็จะค่อยๆ ดีขึ้นเอง อย่างไรก็ตามอาจต้องใช้เวลานานกว่า 2 ปีเพื่อให้ระบบย่อยอาหารฟื้นตัวโดยสมบูรณ์

แนะนำอาหารปราศจากกลูเตน

  • โปรตีนจากเนื้อสัตว์ (ไม่ชุบแป้งทอด)
  • มันฝรั่ง
  • ข้าว
  • ผักผลไม้ต่างๆ

หากไม่มั่นใจว่า อาหารชนิดไหนควรรับประทาน ไม่ควรรับประทาน หรือกังวลว่า จะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ สามารถปรึกษานักโภชนาการได้ โดยพวกเขาจะแนะนำอาหารต่างๆ รวมถึงอาหารเสริมที่สามารถรับประทานได้ รวมถึงแหล่งจัดจำหน่ายด้วย

เด็กเริ่มรับประทานกลูเตนได้เมื่อไหร่?

เด็กทารกควรได้รับการเลี้ยงด้วยนมแม่ โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรก เพราะในนมแม่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ และภูมิคุ้มกันที่ไม่สามารถหาได้ในแหล่งอาหารอื่นๆ

เมื่อเด็กมีอายุประมาณ 6 เดือนขึ้นไป สามารถให้เด็กทารกเริ่มรับประทานอาหารที่มีกลูเตนในปริมาณน้อยๆ อย่างช้าๆ ก่อน โดยจะต้องคอยสอดส่องอาการของพวกเขาตลอดเวลา หากมีอาการแพ้เกิดขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจยืนยันอีกที

ผู้ป่วยโรคแพ้กลูเตนจำเป็นต้องฉีดวัคซีนไหม?

ผู้ป่วยโรคแพ้กลูเตนบางราย อาจมีอาการม้ามทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อต่างๆ เช่น

โรคแพ้กลูเตนนั้นเป็นหนึ่งในโรคที่มีผลกระทบต่อสุขภาพหลายอย่าง หากคุณเป็นโรคแพ้กลูเตนก็ควรงดรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของกลูเตน และหมั่นตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อติดตามอาการของโรค

อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ปราศจากกลูเตน ก็เพียงพอที่จะทำให้คุณสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนทั่วไปแล้ว

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Rachael Link, 9 Signs and Symptoms of Celiac Disease (https://www.healthline.com/nutrition/celiac-disease-symptoms), 15 January 2020.
National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases, "Symptoms & Causes of Celiac Disease | NIDDK" (https://www.niddk.nih.gov/health-information/digestive-diseases/celiac-disease/symptoms-causes), 8 July 2020.
NHS, Coeliac disease (https://www.nhs.uk/conditions/coeliac-disease/), 15 January 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป