ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับยา glucosamine/chondroitin

เผยแพร่ครั้งแรก 31 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับยา glucosamine/chondroitin

หนึ่งในอาหารเสริมที่คนรู้จักกันมากที่สุดก็คงไม่พ้นยา glucosamine และ chondroitin ซึ่งมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในสหรัฐอเมริกา แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยาทั้ง 2 ชนิดนี้ยังไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับประสิทธิภาพของยาที่ชัดเจน

ผู้คนเชื่อว่ายาทั้ง 2 ชนิดนี้ไม่เพียงบรรเทาอาการปวดจากข้ออักเสบเท่านั้นแต่ยังสามารถป้องกันโรคเกี่ยวกับข้อได้อีกด้วย แต่งานวิจัยที่ผ่านมานั้นกลับได้ผลที่ปะปนกัน งานวิจัยชิ้นเล็กๆ บางชิ้นนั้นพบว่าผู้ที่รับประทานยา glucosamine และ/หรือ chondroitin นั้นรู้สึกดีขึ้นหลังจากรับประทานยา แต่งานวิจัยส่วนมากนั้นกลับพบว่าไม่แตกต่างจากปกติ การวิเคราะห์งานวิจัยหลายชิ้นพบว่าในผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบที่เข่าหรือสะโพกนั้นการรักษาด้วยยา glucosamine, chondroitin หรือทั้งสองอย่างร่วมกันนั้นให้ผลไม่ต่างจากกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ดังนั้นหลักฐานที่จะสนับสนุนว่ายาเหล่านี้นั้นสามารถป้องกันโรคข้อหรือป้องกันโรคข้ออักเสบนั้นจึงค่อนข้างอ่อน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

งานวิจัยใหม่ๆ เกี่ยวกับยา glucosamine/chondroitin

มีงานวิจัยที่ทำการศึกษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าจากโรคข้ออักเสบและเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับยา glucosamine และ chondroitin กับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกที่มีลักษณะแบบเดียวกัน งานวิจัยดังกล่าวนั้นต้องหยุดก่อนกำหนดเนื่องจากผู้ที่รับประทานยานั้นมีอาการที่แย่กว่ากลุ่มที่ได้ยาหลอก ดังนั้นมันจึงมีความเป็นไปได้ที่การรับประทานยาทั้ง 2 ตัวนี้อาจทำให้ข้อของคุณแย่กว่าการไม่ได้รับประทานยา

แต่ข้อมูลนี้คงไม่สามารถหยุดไม่ให้ทุกคนไปซื้อยาดังกล่าวมารับประทาน เพราะยังคงมีผู้ป่วยอีกหลายคนที่รู้สึกว่ายาดังกล่าวนั้นสามารถช่วยได้และไม่สนใจงานวิจัยหรือเหตุผลใดๆ  และนอกจากนั้นยังมีอีกหลายคนที่เลือกรับประทานยาทั้ง 2 ชนิดจากสาเหตุอื่น ดังนั้นจึงอาจไม่เกี่ยวข้องกับผลที่พบจากงานวิจัยนี้

แล้วผลข้างเคียงของยานี้คืออะไร?

โดยทั่วไปแล้วยาทั้งสองชนิดนี้จัดว่าเป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกับยาอื่นๆ ในงานวิจัยล่าสุดพบว่าผู้ที่รับประทานยา glucosamine-chondroitin นั้นมีอาการท้องเสียและปวดท้องบ่อยกว่าผู้ที่รับประทานยาหลอก ผลข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจพบได้ประกอบด้วย

  • แสบร้อนกลางหน้าอก
  • ง่วงนอน
  • ปวดหัว
  • มีอาการแพ้ (โดยเฉพาะหากแพ้หอย)

งานวิจัยเล็กๆ ชิ้นหนึ่งพบว่าการรับประทาน glucosamine นั้นอาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต้อหินได้

ยา chondroitin นั้นอาจจะมีฤทธิ์ละลายลิ่มเลือดดังนั้นจึงอาจทำให้เลือดออกได้ นอกจากนั้นยาทั้ง 2 ชนิดนี้อาจทำปฏิกิริยากับยาชนิดอื่นได้ ดังนั้นควรถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อนที่จะใช้ยาดังกล่าว อีกหนึ่งสิ่งที่ควรรู้ก็คืออาหารเสริมเหล่านี้นั้นไม่ได้มีการควบคุมหรือทดสอบมากเหมือนยาทั่วไป ดังนั้นมันจึงอาจจะมีส่วนผสมที่ผิดไปจากที่เขียนบนฉลากได้

นอกจากนั้นยานี้มักจะไม่ได้อยู่ในยาที่สามารถเบิกได้ ดังนั้นคุณจึงต้องมีการเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหากต้องการใช้ยานี้

แล้วคุณควรลองหรือไม่?

หากคุณต้องการจะลองใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลของยา และตรวจสอบปฏิกิริยาที่ยานี้อาจทำต่อยาอื่นๆ ที่กำลังรับประทาน ส่วนมากหากคุณต้องการรับประทานยาจริงๆ แพทย์มักจะไม่ห้าม แต่ถ้าหากผ่านไปซักช่วงหนึ่งแล้วไม่พบว่าอาการนั้นดีขึ้น ก็มักจะแนะนำให้หยุด ดังนั้นการตัดสินใจว่าจะรับประทานยาหรือไม่นั้นจึงเป็นสิทธิ์ของผู้ป่วยที่ควรจะทำความเข้าใจกับข้อมูลทั้งหมดอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจ

โดยสรุป

งานวิจัยที่ทำเกี่ยวกับการใช้ยา glucosamine และ/หรือ chondroitin ในปัจจุบันนั้นยังให้ข้อมูลที่อาจจะไม่เพียงพอ เนื่องจากมีการรับประทานยาในหลายรูปแบบและหลายขนาดและใช้เพื่อรักษาหลายอาการ ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมก่อนที่จะสามารถสรุปได้ว่าผลที่ได้จากการใช้ยาทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นอย่างไร


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The latest on glucosamine/chondroitin supplements. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/the-latest-on-glucosaminechondroitin-supplements-2016101710391)
Does Glucosamine Work? Benefits, Dosage and Side Effects. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/glucosamine)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป