โรคต้อหิน (Glaucoma)
ความหมาย เป็นกลุ่มอาการผิดปกติของตา คือ มีความดันลูกตาสูงกว่า 10-20 มม.ปรอท ซึ่งจะกดทำลายขั้วประสาทตาให้ฝ่อ และลานสายตาแคบลง ทำให้การมองเห็นลดลง หากไม่ได้รับการแก้ไขหรือการรักษาจะทำให้ตาบอด
สาเหตุ เกิดจากมีความผิดปกติของน้ำหล่อเลี้ยงตา (Aqueous humor) ไหลออกจากตาไม่ได้ ทำให้ความดันตาสูงกว่า 50 มม.ปรอท ซึ่งปกติน้ำหล่อเลี้ยงตาที่อยู่ส่วนหน้าเลนส์แก้วตาจะไหลจากช่องหลังม่านตาไปยังช่องหน้าม่านตา การมองเห็นลดลง ขั้วประสาทตาถูกทำลาย พบบ่อยในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ต้อหินมีทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง เกิดจากผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นต้อหิน เป็นเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไมเกรน ได้รับอุบัติเหตุ และได้รับยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ ต้อหินมีหลายชนิด แบ่งตามสาเหตุ ได้ 3 ชนิด ได้แก่
อย่ารอสุขภาพดี! คุณเริ่มได้วันนี้ แค่คลิก
เลือกดูสินค้าและบริการสุขภาพดีๆที่เราคัดมาให้ที่ Health Shop

1) ต้อหินปฐมภูมิ (Primary glaucoma) เป็นต้อหินชนิดที่ไม่ได้เกิดจากโรคใดๆ แบ่งเป็นต้อหินมุมเปิดปฐมภูมิ (Primary open-angle glaucoma) และต้อหินมุมปิดปฐมภูมิ (Primary angle-closure glaucoma)
2) ต้อหินแต่กำเนิด (Developmental glaucoma) แบ่งเป็น ต้อหินปฐมภูมิแต่กำเนิด (Primary congenital glaucoma) และต้อหินแต่กำเนิดร่วมกับความผิดปกติอื่นๆ
3) ต้อหินทุติยภูมิ (Secondary glaucoma) เป็นต้อหินที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับโรคตาหรือโรคในระบบอื่นทำให้น้ำหล่อเลี้ยงตาลดลง ซึ่งทำให้ความดันลูกตาเพิ่มขึ้น
พยาธิสรีรภาพ ความดันลูกตาปกติ คือ ความดันที่อยู่ในช่วงที่ไม่ก่อให้เกิดการทำลายขั้วประสาทซึ่งไม่สามารถบอกตัวเลขได้แน่นอน จากการศึกษาพบว่าความดันลูกตามีค่าเฉลี่ย 15.5 ± 2.57 มม.ปรอท สูงสุด 20.5 มม.ปรอท เมื่อความดันลูกตาเพิ่มขึ้นจะทำให้เส้นใยประสาทตาถูกทำลาย ขั้วประสาทตาฝ่อเนื่องจากเมื่อความดันลูกตาเพิ่มขึ้นจะมีผลไปกดประสาทตาโดยตรง ทำให้มีการอุดกั้นทางเดินสารอาหารของเส้นประสาทตา หรือเมื่อความดันลูกตาเพิ่มขึ้นจะไปกดหลอดเลือดที่เลี้ยงขั้วประสาทตาทำให้เกิดการขาดเลือด ผลตามมาคือมีการทำลายประสาทตา เกิดขั้วประสาทตาฝ่อทำให้ตรงกลางของขั้วประสาทตามีขนาดและความลึกมากขึ้น เรียกว่า ขั้วประสาทตาบุ๋มจากต้อหิน ขนาดของขั้วประสาทตาบุ๋มจากต้อหินวัดจากขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของรอยบุ๋ม (Cup; C) เทียบกับขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของขั้วประสาทตาในแนวนอน (Disk ratio; D) C:D = 0.7 เมื่อขั้วประสาทตาและจอตาขาดเลือดไปเลี้ยงจะทำให้ค่อยๆ สูญเสียหน้าที่ในการมองเห็นไปในที่สุด
อาการ
ต้อหินมุมเปิดปฐมภูมิ (Primary open angle glaucoma) ไม่มีอาการปวดตาแต่มีอาการมึนศีรษะเล็กน้อย มักจะต้องเปลี่ยนแว่นตาบ่อยๆ เนื่องจากการมองเห็นจะค่อยๆ ลดลง ความดันลูกตาสูงกว่าปกติ (> 21 มม.ปรอท) ตรวจพบขั้วประสาทตาบุ๋มและขั้วประสาทตาฝ่อ ลานสายตาผิดปกติ
ต้อกินมุมปิดปฐมภูมิ (Primary angle-closure glaucoma) มีอาการปวดตามาก อาจปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ตาแดง ตามัว มองเห็นสีรุ้งรอบดวงไฟ ความดันลูกตาสูงมาก (50-60 มม.ปรอท) การตรวจมุมตา (Gonioscope) พบมุมตาปิด
อย่ารอสุขภาพดี! คุณเริ่มได้วันนี้ แค่คลิก
เลือกดูสินค้าและบริการสุขภาพดีๆที่เราคัดมาให้ที่ Health Shop

โดยสรุป ผู้ที่เป็นต้อหินจะมีอาการสายตามัวลง ปวดตามาก อาจปวดร้าวไปที่ศีรษะด้านเดียวกับตาข้างที่เป็น มองเห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ กระจกตาบวม คลื่นไส้ อาเจียน รูม่านตาขยายปานกลาง 4-5 มิลลิเมตร ไม่มีปฏิกิริยาต่อแสงเคืองตา น้ำตาไหล
การวินิจัยโรค ต้อหินมุมเปิด มีประวัติเปลี่ยนแว่นตาบ่อยๆ ชอบเดินเตะโต๊ะหรือเก้าอี้บ่อยๆ ตรวจวัดสายตาจะมีความดันตาสูงกว่า 21 มม.ปรอท ตรวจดูขั้วประสาทตาจะพบขั้วประสาทตาบุ๋ม ตรวจดูมุมตาด้วย Slit lamp จะพบมุมตาเปิดกว้างและตรวจลานสายตาด้วยเครื่อง Perimeter จะพบลานสายตาแคบลง
ต้อหินมุมปิด มีอาการปวดตาและตาแดง ตรวจวัดสายตาจะมีความดันลูกตาสูงมาก ตรวจดูขั่วประสาทตามักไม่มีการเปลี่ยนแปลง หากตรวจดูมุมตาจะพบมีมุมตาปิด
การรักษา โดยให้ยาหยอดตาเพื่อลดการผลิตและเพิ่มการไหลออกของน้ำหล่อเลี้ยงตาลดความดันลูกตาหรือทำทางระบายน้ำหล่อเลี้ยงตาใหม่โดยการผ่าตัดตาหรือยิงเลเซอร์ (Laser trabeculoplasty) หรือผ่าตัดเอาเลนส์ตาออก
การพยาบาล ดูแลให้ยาลดความดันลูกตาตามแผนการรักษา ให้ผู้ป่วยพักผ่อนและรับประทานยาแก้ปวด หากความดันลูกตาลดลงให้ทำกิจกรรมต่างๆ อย่างช้าๆ ได้ ไม่สั่นศีรษะเร็วและแรง เพราะจะเวียนศีรษะ ดูแลด้านจิตใจ ระวังอุบัติเหตุ ดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยเมื่อผ่าตัดแล้ว ดูแลเรื่องการติดเชื้อ หยอดยาปฏิชีวนะ ยาต้านการอักเสบ ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวเมื่อได้รับการรักษาด้วยการยิงเลเซอร์ การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด และให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน