ทำความรู้จักกับประกันมะเร็ง

ประกันมะเร็งเหมาะกับใครและควรเลือกอย่างไร ให้ตอบโจทย์และคุ้มค่าที่สุด?
เผยแพร่ครั้งแรก 22 ต.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ทำความรู้จักกับประกันมะเร็ง

ก่อนจะรู้จัก ประกันมะเร็ง ควรเข้าใจเรื่องโรคมะเร็งเบื้องต้นเสียก่อน โรคนี้เป็นโรคที่ร้ายแรงเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในอวัยวะต่างๆภายในร่างกายซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัยและทุกส่วนภายในร่างกาย หากเชื้อมีการเติบโตจนแพร่กระจายไปยังอวัยวะภายในอื่น จะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตของผู้คนจำนวนมาก ถึงแม้ว่าการแพทย์ในปัจจุบันจะก้าวหน้าขึ้นมาก แต่หากตรวจพบไม่ทันการณ์ มารักษาในช่วงที่เป็นร้ายแรงแล้วก็ยากที่จะหายขาดได้ 

ประกันมะเร็งคืออะไร?

ประกันมะเร็ง คือรูปแบบประกันประเภทหนึ่งที่ให้ความคุ้มครองกรณีที่ตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็ง ประกันนี้สามารถช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการรักษา โดยแต่ละแผนของประกันมีการจ่ายค่ารักษาพยาบาลโรคมะเร็งแตกต่างกัน บางแผนประกันอาจมอบจ่ายเป็นเงินก้อนเมื่อผู้ทำประกันตรวจพบโรคมะเร็ง หรือบางแผนประกันอาจแบ่งจ่ายเงินตามระยะของโรคมะเร็งที่ตรวจพบหรืออาจมีการมอบเงินชดเชยรายวันหากต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรคมะเร็ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ควรทำประกันมะเร็งตอนไหน?

การเลือกซื้อประกันมะเร็งควรพิจารณาจากตัวเอง ว่ามีเสี่ยงในการเกิดโรคหรือไม่ หากมีบุคคลในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งมาก่อน หรือมีพฤติกรรมที่เป็นความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่จัด เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ควรพิจารณาทำประกันไว้เลยตั้งแต่สุขภาพยังแข็งแรง เพื่อเป็นการรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นในอนาคต

ปัจจัยเรื่องอายุก็เป็นส่วนหนึ่งที่ควรพิจารณาในการทำประกันมะเร็งเนื่องจากแต่ละบริษัทประกันจะมีการระบุช่วงอายุที่รับประกันที่ไม่เท่ากัน อย่างที่ทราบกันว่า หากเริ่มทำตั้งแต่อายุยังน้อยเบี้ยประกันจะถูก หากทำตอนอายุที่มากขึ้นเบี้ยประกันก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย

ส่วนสำคัญอีกอย่างสำหรับการทำประกับมะเร็งคือ หากว่ามีการตรวจพบมะเร็งก่อนการทำประกัน จะไม่สามารถรับการคุ้มครอง เลือกทำประกันมะเร็ง หรือเคลมค่ารักษาได้

การที่จะสามารถเคลมค่ารักษาประกันมะเร็งได้นั้น ผู้เอาประกันต้องไม่เคยได้รับการตรวจแล้วพบว่าเป็นโรคมะเร็งมาก่อนการทำประกันภัย และต้องไม่อยู่ภายในระยะเวลารอคอย (Waiting period) 90-120 วัน ตามเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกัน ที่ต้องมีเงื่อนไขแบบนี้ก็เพื่อป้องกันความเสี่ยง กรณีผู้ป่วยรู้ตัวว่าป่วยแต่ไม่ยอมรักษา แล้วมาทำประกันเพื่อขอรับเงินค่าประกัน

ประกันมะเร็งเหมาะกับใคร?

อย่างที่บอกไปข้างต้น ประกันมะเร็งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีกรรมพันธุ์และพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค แต่ใครที่ในครอบครัวไม่มีประวัติป่วยเป็นโรคนี้ และคิดว่าตัวเองดูแลสุขภาพดีแล้ว ก็สามารถพิจารณาแผนประกันมะเร็งไว้ก่อนได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เนื่องจากการเกิดโรคมะเร็งไม่ได้เป็นเพราะปัจจัยภายในของแต่ละคนเท่านั้น สิ่งแวดล้อม สารเคมี ก็มีผลให้เซลล์ในร่างกายเกิดความผิดปกติ หรือเป็นมะเร็งได้เช่นกัน ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นเพศใด อายุเท่าไร ก็มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งได้ทุกคน 

5 ข้อที่ควรพิจารณา ก่อนทำประกันมะเร็ง

เมื่อจะตัดสินใจทำประกันมะเร็ง สิ่งที่ควรพิจารณาและรายละเอียดมีดังนี้

    1. ความคุ้มครองในเรื่องของระยะการแพร่กระจายของมะเร็ง ไม่ใช่ทุกแผนประกันมะเร็งที่จะคุ้มครองทุกระยะของโรค เพราะทุกระยะของมะเร็งที่ตรวจพบมีค่าใช่จ่ายและวงเงินความคุ้มครองที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นควรเลือกทำประกันมะเร็งที่มีความคุ้มครองทุกระยะของมะเร็งเมื่อทำการตรวจพบ

    2. วงเงินคุ้มครองเมื่อตรวจพบโรคมะเร็ง ทั้งนี้ควรพิจารณาจากความเสี่ยงในการเกิดโรคของตัวผู้ทำประกันเอง ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมเสี่ยง หรือกรรมพันธุ์ที่เคยมีมาในครอบครัว เพราะมะเร็งเป็นโรคที่มีค่ารักษาค่อนข้างสูง

      ควรเลือกบริษัทประกันที่เสนอวงเงินคุ้มครองในการรักษาให้สูงเช่นกัน เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นและควรเลือกแผนประกันมะเร็งที่เมื่อวินิจฉัยเจอโรคแล้วได้รับ ค่าคุ้มครองเลย ไม่ต้องรอนาน

    3. ชนิดของมะเร็งที่คุ้มครอง เป็นอีกหนึ่งข้อที่ควรพิจารณาเมื่อจะทำประกันมะเร็ง จะเห็นได้ว่ามีแผนประกันบางประเภทที่มีเงื่อนไขคุ้มครองเฉพาะมะเร็งบางชนิดที่เกิดขึ้นในผู้หญิงหรือผู้ชายเท่านั้น

      ดังนั้นควรจะศึกษาให้ดีก่อนว่า แผนประกันมะเร็งที่กำลังจะทำนั้นครอบคลุมมะเร็งชนิดใดบ้าง อย่างที่ทราบกันคือ โดยส่วนใหญ่แล้วประกันมะเร็งมักจะไม่ครอบคลุมถึงมะเร็งผิวหนัง ชนิด Non-Melanoma ดังนั้นควรดูให้ดี เลือกแผนที่มีความคุ้มครองมะเร็งที่เกิดในทุกส่วนของร่างกาย หรือตามความเสี่ยงของพฤติกรรมตนเองที่จะก่อให้เกิดโรค

      ก่อนจะตัดสินใจทำประกันมะเร็ง อย่าลืมศึกษาข้อมูลในส่วนนี้ให้ดีก่อน

    4. ทุนประกัน หากตัวผู้ทำประกันมีความเสี่ยง ไม่จะเป็นจากพฤติกรรม ประวัติคนในครอบครัว เคยมีการเข้ารักษาเกี่ยวกับเนื้องอกต่างๆ หรือเป็นผู้ที่ร่างกายไม่แข็งแรง ควรเลือกทำประกันที่ทุนประกันคุ้มครองสูง แต่หากไม่เคยมีความเสี่ยงทั้งพฤติกรรม และประวัติทางครอบครัว ก็อาจเลือกแผนประกันที่มีทุนประกันคุ้มครองในระดับกลาง เพื่อให้ได้ความคุ้มครองที่เหมาะสมสอดคล้องกับค่าเบี้ยประกัน

    5. เบี้ยประกัน นอกจากความคุ้มครองที่ครอบคลุมแล้ว ยังต้องดูด้วยครับว่าเบี้ยประกันนั้นสมเหตุสมผลหรือไม่ สามารถจ่ายได้โดยไม่ติดขัดทางการเงินได้หรือไม่ เนื่องจากบางบริษัทกำหนดเป็นจำนวนเงินคงที่ โดยคำนวณจากอายุผู้เอาประกันภัย ณ เวลาที่เริ่มทำประกันมะเร็ง และจะไม่เปลี่ยนแปลงตลอดไป ในขณะที่บางบริษัทอาจจะปรับเบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้นทุกๆ 5 ปีของช่วงอายุ เพราะเมื่ออายุมากขึ้นจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งมากขึ้น

      ดังนั้น จึงควรเลือกซื้อประกันภัยโรคมะเร็งตั้งแต่อายุยังน้อย อีกทั้งต้องพิจารณาด้วยว่าตนเองมีภาระค่าใช้จ่าย และคนที่อยู่ข้างหลังมากแค่ไหน หากมีครอบครัวที่ต้องดูแล อาจเพิ่มเบี้ยประกันเพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่ายให้คนที่บ้าน เพื่อไม่ให้เดือดร้อนถ้าเกิดเหตุไม่คาดฝันด้วย

    ข้อดีของการมีประกันมะเร็ง

    การทำประกันมะเร็งมีข้อดีดังนี้

    • ได้รับความคุ้มครองในการรักษาพยาบาลอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เนื่องจากไม่ต้องรอความพร้อมทางด้านการเงินเพราะประกันจะจ่ายให้ทั้งหมดตามสัญญาในกรมธรรม์
    • ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เนื่องจากหากทำประกันไว้แล้วจะได้รับค่าชดเชยจากการขาดรายได้ ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์
    • ช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาที่มากขึ้น ถึงแม้ในกลุ่มคนที่มีสวัสดิการรักษาพยาบาลจากทางรัฐช่วยดูแลอยู่แล้ว ก็อาจลองพิจารณาทำประกันมะเร็งเพิ่มไว้เป็นตัวเลือกอีกทาง เนื่องจากสวัสดิการจากรัฐมักเป็นเพียงการรักษาขั้นพื้นฐานเท่านั้น ตัวยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็งบางตัวไม่ได้รวมอยู่ในการดูแลด้วย ถ้าคนไข้จะต้องจ่ายเองก็ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สูง ดังนั้นการมีประกันมะเร็งจะช่วยในการเข้ามาดูแลการรักษาส่วนนี้

    ข้อมูลทั้งหมดนี้คงช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรเลือกซื้อประกันมะเร็งควรเลือกแบบใด แต่ถ้าหากยังต้องการทราบรายละเอียดลึกลงไปว่าซื้อจากบริษัทประกันใดจะดีที่สุด มีแผนประกันแบบไหนบ้าง แต่ละแผนมีจุดเด่นจุดต่างอย่างไร สามารถเข้าปรึกษา gettgo ได้ ทาง gettgo จะช่วยชี้จุดเด่นและจุดต่างของแผนประกันแต่ละเจ้าให้คุณเข้าใจได้ง่ายขึ้น เพื่อเลือกแผนประกันที่เหมาะที่สุด สำหรับแต่ละคนโดยเฉพาะ หากต้องการความช่วยเหลือเรื่องประกัน อย่าลืมนึกถึง gettgo


    2 แหล่งข้อมูล
    กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
    Who Will Write Our History' Gives New Insight Into Warsaw Ghetto. National Public Radio (NPR). (https://www.npr.org/2019/01/20/687045396/who-will-write-our-history-gives-new-insight-into-warsaw-ghetto)
    Racial and ethnic residential segregation and access to health care in rural areas. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5285374/)

    บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

    ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

    ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
    (1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

    บทความต่อไป
    5 หนังสือทำอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง
    5 หนังสือทำอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

    การทำอาหารง่าย ๆ ที่มีโภชนาการที่เหมาะสมระหว่างการรักษาโรคมะเร็ง

    อ่านเพิ่ม
    ประวัติความเป็นมาของการค้นพบและรักษาโรคมะเร็ง (Cancer)
    ประวัติความเป็นมาของการค้นพบและรักษาโรคมะเร็ง (Cancer)

    ความเป็นมาของโรคมะเร็ง: การค้นพบและรักษา โรคมะเร็งครั้งแรก

    อ่านเพิ่ม
    มะเร็งเป็นโรคติดต่อหรือไม่?
    มะเร็งเป็นโรคติดต่อหรือไม่?

    คำตอบต่อคำถามทางสุขภาพที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับโรคมะเร็ง

    อ่านเพิ่ม