กรดประเภทต่างๆ มีหน้าที่และประโยชน์อย่างไร

เผยแพร่ครั้งแรก 30 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
กรดประเภทต่างๆ มีหน้าที่และประโยชน์อย่างไร

ในชีวิตประจำวันของทุกคนมักจะมีการเกี่ยวข้องกับสารเคมีต่างๆ ไม่ว่าทั้งทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม สารต่างๆ เหล่านี้ล้วนแต่มีประโยชน์และโทษ โดยเฉพาะกรดในอาหาร หากรู้และเข้าใจย่อมไปสู่การนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์สูงสุด

กรดประเภทต่างๆ

1.  กรดอินทรีย์ คือกรดที่ได้จากสิ่งมีชีวิต ได้แก่ กรดซิตริก กรดแอสคอบิก กรดอะซิตริก และกรดฟอร์มิก

  • กรดซิตริก

หรือที่เรียกกันว่ากรดมะนาว พบได้ในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวอย่างเช่นส้มและมะนาว ใช้ในการทำอาหารให้มีรสเปรี้ยวหรือสมดุล ปรุงแต่งกลิ่นและรส เป็นสารกันหืนหรือกันเสีย ใช้ผสมในอาหารประเภทเนื้อเพื่อทำให้มีความนุ่มน่ารับประทานมากขึ้น

ทำหน้าที่ควบคุมความเป็นกรด – เบส ช่วยทำให้ยามีการแตกตัวได้ไวหรือป้องกันการจับตัวของยา ทำให้ยาเป็นฟองฟู่ เป็นส่วนผสมในน้ำยาเซ็ตผม ครีมบำรุงผม ทำให้เกิดความแวววาว ใช้แทนสารฟอสเฟตในผงซักฟอก เป็นสารบัพเฟอร์ในการถ่ายภาพ ล้างโลหะ ล้างสนิม ล้างหมึกพิมพ์ บำบัดน้ำเสีย

เป็นส่วนผสมของปุ๋ยในน้ำหมักเพื่อทำหน้าที่ยับยั้งการเติบโตของเชื้อรา เป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์ ช่วยให้สัตว์สามารถย่อยหรือดูดซึมสารอาหารได้ง่าย ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารของสัตว์

  • กรดแอสคอบิก

หรือที่เรียกกันว่าวิตามินซี พบได้ในผลไม้รสเปรี้ยวอย่างเช่นผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ผักใบเขียว แคนตาลูป มันฝรั่ง มะเขือเทศ ดอกกะหล่ำ พริกไทย เป็นวิตามินที่ละลายน้ำได้ ช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ สร้างคอลลาเจน ช่วยไม่ให้เลือดออกตามไรฟัน ป้องกันโรคหวัด ลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง เพิ่มการดูดซึมของธาตุเหล็ก รักษาแผลสดและแผลไฟไหม้ให้หายไวขึ้น

  • กรดอะซิติก

หรือที่เรียกกันว่ากรดน้ำส้ม เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตน้ำส้มสายชู มีลักษณะกลิ่นเฉพาะตัว สามารถรวมตัวได้ดีในน้ำ แอลกอฮอล์ และกลีเซอริน เกิดจากการหมักกับแป้งมัน ข้าว หรือน้ำผลไม้ หรือจากการหมักกับแบคทีเรีย โดยเปลี่ยนแอลกอฮอล์ให้เป็นกรดอะซิติก

ใช้ผลิตน้ำส้มสายชู โดยนำมาเจือจางจะได้เป็นน้ำส้มสายชูหมัก น้ำส้มสายชูกลั่น และน้ำส้มเทียม ใช้เป็นสารเคมีสำคัญในการทำปฏิกิริยาเคมีกระบวนการผลิตสารอนุพันธ์ของกรดอะซิติก ใช้เป็นส่วนผสมในอาหารสำหรับทำหน้าที่ป้องกันการเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ไม่ให้อาหารบูดเน่า

ปรับสภาพความเป็นกรด – เบส ใช้เพิ่มรสเปรี้ยวในอาหาร เช่น น้ำสลัด ผักดอง ผลไม้ดอง และซอสต่างๆ เป็นน้ำยากำจัดเชื้อรา น้ำหมักชีวภาพ รวมทั้งเป็นสารเจือจางร่วมกับสารอื่นๆ ในทางการแพทย์ เพื่อใช้หยอดหูและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราหรือจุลินทรีย์

  • กรดฟอร์มิก

เป็นกรดที่เกิดจากการสังเคราะห์โดยจุลินทรีย์ที่ได้จากการหมัก หรือการเผาไหม้ที่เกิดจากการรมควัน มีกลิ่นฉุนแรง ใช้เป็นสารกันเสีย

2.  กรดอนินทรีย์ เป็นกรดที่ได้จากแร่ธาตุ เช่น กรดไฮคลอริก กรดไนตริก กรดคาร์บอนิก กรดซัลฟูริก

  • กรดไฮคลอริก

หรือที่เรียกกันว่ากรดเกลือ นิยมใช้ในอุตสาหกรรมเคมีต่างๆ ใช้ในการผลิตผงชูรส ชุบสีโลหะ ถลุงแร่เพื่อผลิตดีบุก ใช้กัดผิวและทำความสะอาดผิวโลหะ ใช้ในกระบวนการฆ่าเชื้อในระบบน้ำและบำบัดน้ำเสีย

  • กรดไนตริก

หรือที่เรียกกันว่ากรดดินประสิว มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการทำความสะอาด ป้องกันเชื้อรา ใช้ทำความสะอาดผักและผลไม้ ปรับความเป็นกรดของน้ำ ป้องกันการเติบโตของจุลินทรีย์ รวมทั้งป้องกันการตกตะกอนของโลหะ

  • กรดคาร์บอนิก

เป็นกรดประเภทหนึ่งที่มีอะตอมของคาร์บอนเป็นส่วนประกอบหลัก มักนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในน้ำอัดลม

  • กรดซัลฟูลิก

หรือที่เรียกกันว่ากรดกำมะถัน เป็นกรดแก่ที่มีฤทธิ์ในการกัดกร่อนโลหะ สามารถทำให้เกิดการลุกไหม้หรือระเบิดได้ หากมีความร้อนและประกายไฟ ใช้เป็นสารเริ่มต้นที่สำคัญในอุตสาหกรรมเคมี การผลิตปุ๋ย เส้นใยสังเคราะห์ และทำแบตเตอรี่    

กรดที่เราพบในชีวิตประจำวันมักเป็นกรดที่ละลายในน้ำได้ สำหรับกรดที่มาจากธรรมชาติจะมีประโยชน์กับสุขภาพของเรามาก อีกทั้งยังหาได้ในผักและผลไม้ทั่วไปด้วย ส่วนกรดที่ได้จากการสังเคราะห์จะไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่จะมีประโยชน์อย่างยิ่งในการนำไปใช้กับอุตสาหกรรมทางด้านต่างๆ


24 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Health and nutritional benefits from lactic acid bacteria. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/2271223)
Face Acids: Types, Benefits, and How to Choose the Best One. Healthline. (https://www.healthline.com/health/beauty-skin-care/face-acids-types-anti-aging)
Omega-3 Fatty Acids: An Essential Contribution. Harvard T.H. Chan School of Public Health. (https://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/what-should-you-eat/fats-and-cholesterol/types-of-fat/omega-3-fats/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)