เมคอัฟรีมูฟเวอร์จากธรรมชาติสำหรับผิวประเภทต่างๆ

เผยแพร่ครั้งแรก 22 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เมคอัฟรีมูฟเวอร์จากธรรมชาติสำหรับผิวประเภทต่างๆ

เราต่างก็รู้ดีว่า การแต่งหน้าสามารถช่วยให้ผู้หญิงสวยและมั่นใจมากขึ้น แต่หากดูแลผิวไม่ดี หรือไม่ล้างหน้าให้สะอาดก่อนนอน เครื่องสำอางก็อาจย้อนกลับมาทำร้ายเราได้ ซึ่งในขั้นตอนทำความสะอาดเครื่องสำอาง สิ่งที่จะขาดไม่ได้ก็คือเมคอัฟรีมูฟเวอร์นั่นเอง แต่นอกจากเราจะใช้ผลิตภัณฑ์เช็ดเครื่องสำอางที่มีขายอยู่ตามร้านค้าทั่วไปแล้ว คุณรู้ไหมว่า เราก็สามารถใช้เมคอัฟรีมูฟเวอร์ที่ได้จากธรรมชาติ และมันเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องใช้ให้เหมาะกับผิวด้วยค่ะ สำหรับเมคอัฟรีมูฟเวอร์ที่เราอยากแนะนำมีดังนี้

เมคอัฟรีมูฟเวอร์สำหรับผิวแห้ง

1.น้ำมันมะพร้าว

สารประกอบในน้ำมันมะพร้าวที่มีชื่อเสียงก็คือ กรดลอริก ซึ่งมันจะช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ ทำให้ผิวของเราทำงานได้มีประสิทธิผลและได้รับสารอาหารมากขึ้น นอกจากนี้น้ำมันมะพร้าวยังซึมเข้าไปในผิวอย่างดายและเข้าไปสู่ชั้นผิวที่ลึกขึ้น ทำให้น้ำมันมะพร้าวกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ช่วยเช็ดเครื่องสำอางเท่านั้น แต่มันยังช่วยบำรุงผิวไปด้วยในตัว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2.น้ำมันอัลมอนด์

ในปัจจุบัน น้ำมันอัลมอนด์มีชื่อเสียงในแวดวงความงาม เพราะมันอุดมไปด้วยวิตามิน กรดไขมัน และที่สำคัญคือ มันสามารถช่วยเติมความชุ่มชื้นได้อย่างดีเยี่ยม อีกทั้งยังช่วยทำความสะอาดรูขุมขนที่อุดตัน ต่อสู้กับปัญหาผิวแห้ง  และยังช่วยลดเลือนริ้วรอยและร่องรอยต่างๆ ทำให้น้ำมันอัลมอนด์กลายเป็นน้ำมันที่ใช้งานได้หลากหลายนั่นเอง

เมคอัฟรีมูฟเวอร์สำหรับผิวมัน

1.น้ำแตงกวา

หากต่อมไขมันทำงานมากเกินไป มันก็จะทำให้น้ำมันถูกผลิตออกมามากขึ้นตามไปด้วย แต่ปัญหาผิวมันจะลดลงเมื่อคุณใช้น้ำแตงกวาเช็ดหน้าค่ะ ซึ่งมันไม่เพียงแต่ช่วยลดความมันได้เท่านั้น แต่แตงกวายังมอบวิตามินและแร่ธาตุให้ผิว ทำให้ผิวของคุณมีสุขภาพดีและเร่งกระบวนการฟื้นฟูผิวใหม่

ส่วนผสม

  • แตงกวา (300 กรัม)
  • น้ำ 2 ถ้วย (500 มิลลิลิตร)
  • น้ำกุหลาบ 2 ถ้วย (500 มิลลิลิตร)

วิธีทำ

  1. หั่นแตงกวา และนำไปต้มในน้ำเดือดเป็นเวลา 20 นาที
  2. กรองเนื้อแตงกวาออก ปล่อยให้เย็น แล้วนำมาผสมกับน้ำกุหลาบ

2.น้ำมันหอมระเหย

น้ำมันหอมระเหยได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมันขึ้นชื่อว่ามีคุณสมบัติช่วยเติมความชุ่มชื้น อีกทั้งยังมีสารอาหารนับไม่ถ้วนที่ช่วยฟื้นฟูร่างกาย และที่สำคัญคือมันมีสารต้านแบคทีเรียที่จะทำให้ปัญหาสิวและรูขุมขนติดเชื้อลดลง โดยให้คุณนำน้ำมันหอมระเหยดังต่อไปนี้มาผสมกัน

ส่วนผสม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • น้ำมันหอมระเหยกระดังงา 10 หยด (0.5 ml)
  • น้ำมันหอมระเหยเจอเรเนียม 12 หยด (0.6 มิลลิลิตร)
  • น้ำมันโจโจบา 50 กรัม (52 มิลลิลิตร)
  • น้ำมันสวีทอัลมอนด์ 45 กรัม (47 มิลลิลิตร)

เมคอัฟรีมูฟเวอร์สำหรับผิวที่ไวต่อสิ่งรบกวนเป็นพิเศษ

1.น้ำมันคาเมลเลีย

ถ้าคุณมีผิวที่ไวต่อสิ่งรบกวนเป็นพิเศษ คุณจำเป็นต้องระมัดระวัง และต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความอ่อนโยน ด้วยเหตุนี้เราขอแนะนำน้ำมันดอกคาเมลเลียค่ะ เพราะมันอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า-6 ซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ แต่มันจะช่วยฟื้นฟูเซลล์ผิวใหม่ได้มากทีเดียว

2.น้ำมันโจโจ้บา

น้ำมันโจโจ้บาอุดมไปด้วยวิตามินอี อีกทั้งยังช่วยเสริมความแข็งแรงให้หลอดเลือดฝอยใต้ผิว นอกจากนี้น้ำมันโจโจ้บายังช่วยลดผลข้างเคียงของการสัมผัสแสงอาทิตย์ มลพิษ และเครื่องสำอาง ดังนั้นใครที่ชอบแต่งหน้าแต่มีผิวที่ไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ การใช้น้ำมันโจโจ้บาจะช่วยทำความสะอาดไปพร้อมกับปลอบปะโลมผิวค่ะ

 หากคุณไม่อยากใช้เมคอัพรีมูฟเวอร์ที่มักมีราคาแพง การใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติตามที่เรากล่าวไปให้เหมาะกับสภาพผิวก็สามารถช่วยทำความสะอาดเครื่องสำอางบนใบหน้าได้ดีไม่แพ้กัน แถมยังช่วยบำรุงผิวไปด้วยในตัว



5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
6 DIY Makeup Remover Recipes, Plus a DIY Exfoliating Scrub. Healthline. (https://www.healthline.com/health/diy-makeup-remover)
Lin T-K, et al. (2018). Anti-inflammatory and skin barrier repair effects of topical application of some plant oils. DOI: (https://dx.doi.org/10.3390%2Fijms19010070)
Jones S. (n.d.). The chemistry of cosmetics. (https://www.science.org.au/curious/people-medicine/chemistry-cosmetics)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
หากผิวหนัง เกิดอาการแพ้เครื่องสำอาง จะมีวิธีป้องกันได้อย่างไรบ้าง
หากผิวหนัง เกิดอาการแพ้เครื่องสำอาง จะมีวิธีป้องกันได้อย่างไรบ้าง

เครื่องสำอางกับเวชสำอางต่างกันอย่างไร เมื่อใช้แล้วเกิดอาการแพ้ ผื่นคัน ผิวแห้งลอก ต้องทำอย่างไร

อ่านเพิ่ม
กรดซิตริก มีผสมทั้งในอาหารและเครื่องสำอาง ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย?
กรดซิตริก มีผสมทั้งในอาหารและเครื่องสำอาง ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย?

"กรดซิตริกหรือกรดมะนาว สารปรุงแต่งรสอาหารให้มีรสเปรี้ยว ใช้มากในเครื่องดื่ม และลูกอมลูกกวาด รับประทานมากเกินไปมีผลต่อร่างกาย อันตรายถึงชีวิต "

อ่านเพิ่ม