อาหารเป็นพิษ

เผยแพร่ครั้งแรก 29 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที
อาหารเป็นพิษ

ภาวะอาหารเป็นพิษ (Food poisoning) เป็นการเจ็บป่วยที่เกิดจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน เป็นภาวะที่มักจะไม่ร้ายแรงและผู้ป่วยส่วนมากจะดีขึ้นเองภายในไม่กี่วันโดยไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์

กรณีอาหารเป็นพิษส่วนมากจะเป็นเพราะเชื้อแบคทีเรียในอาหารอย่างซัลโมเนลลาหรืออีโคไล (Escherichia coli) หรือเชื้อไวรัสอย่างโนโรไวรัส

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สัญญาณและอาการของภาวะอาหารเป็นพิษ

อาการของภาวะอาหารเป็นพิษมักจะเริ่มขึ้นภายในหนึ่งถึงสองวันหลังจากรับประทานอาหารที่มีเชื้อ แต่ก็สามารถเริ่มขึ้น ณ ช่วงเวลาระหว่างไม่กี่ชั่วโมงและหลาย ๆ สัปดาห์ให้หลังก็ได้ มีอาการดังต่อไปนี้:

กรณีส่วนมาก อาการเหล่านี้จะหายไปเองภายในไม่กี่วัน และคุณจะฟื้นตัวจากอาการเหล่านี้ได้อย่างสมบูรณ์

สิ่งที่คุณสามารถทำได้

ผู้ป่วยภาวะอาหารเป็นพิษส่วนมากสามารถฟื้นร่างกายได้เองที่บ้านโดยไม่ต้องเข้ารับการรักษาอย่างเป็นทางการ กระนั้นก็มีบางสถานการณ์ที่คุณควรไปพบแพทย์

คุณควรดื่มน้ำและพักผ่อนให้มาก ๆ จนกว่าคุณจะรู้สึกดีขึ้นเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ

ควรรับประทานอาหารเมื่อคุณรู้สึกพร้อมจริง ๆ แต่พยายามทานในปริมาณเล็กน้อยก่อน และพยายามทานอาหารที่ย่อยง่ายอย่างขนมปัง กล้วย หรือข้าว

คุณสามารถให้ผงน้ำตาลเกลือแร่ (Oral rehydration solutions - ORS) ที่วางจำหน่ายตามร้านขายยากับผู้ที่อ่อนแอได้ อย่างเช่นผู้สูงวัย และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

คุณควรไปพบแพทย์หากว่า:

  • อาการของคุณรุนแรงมาก ยกตัวอย่างเช่นคุณไม่สามารถดื่มน้ำได้เลยเพราะจะอาเจียนตลอดเวลา
  • อาการไม่ดีขึ้นหลังผ่านไปไม่กี่วัน
  • คุณมีสัญญาณของภาวะขาดน้ำรุนแรง อย่างเช่นสับสน หัวใจเต้นเร็ว ตาตก และขับถ่ายปัสสาวะน้อยหรือไม่มีเลย
  • คุณกำลังตั้งครรภ์
  • คุณมีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
  • คาดว่าเด็กเล็กหรือทารกประสบกับภาวะอาหารเป็นพิษ
  • คุณมีปัญหาสุขภาพระยะยาว เช่นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (inflammatory bowel disease - IBD) โรคลิ้นหัวใจ เบาหวาน หรือโรคไต
  • คุณมีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ เช่นกำลังใช้ยาบางประเภท กำลังรักษามะเร็ง หรือ HIV

ในสถานการณ์เหล่านี้ แพทย์อาจจัดการตรวจอุจจาระของคุณเพื่อไปวิเคราะห์และจ่ายยาปฏิชีวนะให้คุณ หรืออาจส่งคุณไปยังโรงพยาบาลเพื่อตรวจร่างกายของคุณให้ละเอียด

อาหารปนเปื้อนเชื้อเหล่านั้นได้อย่างไร?

อาหารสามารถเกิดการปนเปื้อนได้จากกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน รวมไปถึงขั้นตอนการนำไปปรุงอาหารเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น:

  • อาหารไม่ได้ถูกปรุงอย่างทั่วถึง (โดยเฉพาะเนื้อ)
  • อาหารไม่ได้ถูกเก็บไว้ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 5 องศา
  • อาหารถูกทิ้งไว้ที่อุณหภูมิปกตินานเกินไป
  • อาหารไม่ได้ถูกทำให้ร้อนใหม่เพียงพอ
  • ผู้ป่วยหรือผู้ที่มีมือสกปรกสัมผัสอาหาร
  • รับประทานอาหารที่เลยวันหมดอายุแล้ว
  • แบคทีเรียแพร่กระจายจากอาหารที่ปนเปื้อนไปสู่อาหารอีกจุด

อาหารที่มีความอ่อนไหวต่อการปนเปื้อนเชื้อโรคมากหากไม่ได้ถูกจัดเตรียม ถูกปรุง หรือถูกกักเก็บอย่างถูกวิธีมีดังนี้:

  • เนื้อสด
  • ไข่สด
  • หอยสด
  • นมที่ไม่ได้ผ่านการพาสเจอร์ไรส์
  • อาหารแปรรูปที่พร้อมรับประทาน เช่นเนื้อสไลด์ ชีส และแซนวิชด์แพ็กกล่อง

สาเหตุของภาวะอาหารเป็นพิษ

เนื่องจากอาหารสามารถปนเปื้อนเชื้อได้จากทุกกระบวนการจัดเตรียมดังที่ระบุไว้ข้างต้น ซึ่งสำหรับการปนเปื้อนข้าม (ที่ซึ่งแบคทีเรียอันตรายได้แพร่กระจายระหว่างอาหาร สิ่งของ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ) ก็ยกตัวอย่างเช่นหากคุณเตรียมเนื้อไก่ดิบบนเขียงและไม่ทำการล้างเขียงก่อนจัดเตรียมอาหารอีกประเภทที่ไม่ต้องปรุงให้สุก (อย่างสลัด) เชื้อแบคทีเรียที่ตกค้างบนเขียงสามารถเข้าไปสู่สลัดของคุณได้ หรือการเก็บเนื้อดิบไว้ข้างบนเนื้อพร้อมรับประทาน (อย่างแฮมรมควัน) และทำให้น้ำจากเนื้อดิบหยดลงไปในอาหารที่อยู่ข้างล่าง เป็นต้น

ประเภทของการติดเชื้อ

การปนเปื้อนส่วนใหญ่จะเป็นเชื้อแบคทีเรีย แต่ก็สามารถเกิดจากปรสิตหรือไวรัสก็ได้เช่นกัน โดยมีตัวอย่างเชื้อที่ปนเปื้อนอาหารดังนี้:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

Campylobacter บางประเทศ Campylobacter จะเป็นแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดภาวะอาหารเป็นพิษมากที่สุด โดยเป็นเชื้อที่พบได้บนเนื้อดิบ (มักเป็นเนื้อสัตว์ปีก) นมที่ไม่ได้ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ และน้ำที่ไม่ผ่านการกรอง

ระยะฟักตัวของเชื้อ Campylobacter (ช่วงเวลาระหว่างรับประทานเข้าไปจนถึงเริ่มมีอาการ) มักจะอยู่ระหว่างสองถึงห้าวัน และอาการมักจะเกิดขึ้นยาวนานอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์

Salmonella แบคทีเรีย Salmonella มักพบในเนื้อดิบ ไข่ดิบ นม และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ต่าง ๆ

ระยะฟักตัวของเชื้อจะอยู่ระหว่าง 12 ถึง 72 ชั่วโมง และมีอาการนานประมาณสี่ถึงเจ็ดวัน

Listeria แบคทีเรีย Listeria มักจะพบได้บนอาหารแช่แข็งพร้อมรับประทานต่าง ๆ รวมไปถึงเนื้อสไลด์และชีส

อาหารเหล่านี้ควรต้องถูกรับประทานก่อนวันหมดอายุ และเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับผู้ที่กำลังตั้งครรภ์เพราะการติดเชื้อ Listeria นี้สามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์และคลอดได้ อีกทั้งยังสามารถทำให้แท้งลูกได้อีกเช่นกัน

ระยะฟักตัวของเชื้อนี้จะแตกต่างกันออกไปตั้งแต่ไม่กี่วันจนไปถึงหลายสัปดาห์ และอาการจากเชื้อตัวนี้มักจะหายไปเองภายในสามวัน

Escherichia coli (E. coli) Escherichia coli หรือที่เรียกกันว่าเชื้ออีโคไลเป็นแบคทีเรียที่พบได้ในระบบย่อยอาหารของสัตว์หลายชนิดรวมไปถึงมนุษย์ แบคทีเรียเหล่านี้มักจะไม่ก่อปัญหาใด ๆ แต่ก็มีบางครั้งที่อาจก่อให้เกิดภาวะเจ็บป่วยร้ายแรงได้

กรณีอาหารเป็นพิษจากเชื้ออีโคไลนั้นเกิดขึ้นหลังการรับประทานเนื้อที่ปรุงไม่สุกหรือดื่มนมที่ไม่ได้ผ่านการพาสเจอร์ไรส์มาก่อน

ระยะฟักตัวของเชื้อตัวนี้จะอยู่ที่ประมาณหนึ่งถึงแปดวัน และมีอาการประมาณไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์

Shigella แบคทีเรีย Shigella จะอยู่ในน้ำและจะเข้าไปปนเปื้อนอาหารได้จากการล้างอาหาร

อาการจากเชื้อตัวนี้จะเกิดขึ้นภายในเจ็ดวันหลังรับประทานอาหารปนเปื้อน และจะคงอยู่มากถึงหนึ่งสัปดาห์

การติดเชื้อ Shigella จะเรียกว่าโรคบิด หรือโรคบิดไม่มีตัว (shigellosis)

ไวรัส

ไวรัสที่เป็นสาเหตุของอาการอาเจียนและท้องร่วงมากที่สุดคือโนโรไวรัส ซึ่งสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้อย่างง่ายดายผ่านอาหารและน้ำ อีกทั้งยังพบว่าหอยสด โดยเฉพาะพวกหอยนางรมก็เป็นแหล่งของการติดเชื้อประเภทนี้อีกด้วย

ระยะฟักตัวมักจะอยู่ที่ประมาณ 24 – 48 ชั่วโมง และอาการมักจะหายไปเองภายในสองสามวัน

สำหรับเด็กเล็ก ไวรัสโรทาไวรัสจะเป็นสาเหตุการติดเชื้อที่พบมากที่สุด อาการมักจะเริ่มขึ้นภายในหนึ่งอาทิตย์ และจะหายไปเองภายในห้าถึงเจ็ดวัน

ปรสิต

การติดเชื้อปรสิตในอาหารมีดังนี้:

  • Giardia intestinalis
  • Cryptosporidium
  • Entamoeba histolytica : หรืออะมีบา

อาการของภาวะอาหารเป็นพิษจากเชื้อปรสิตมักจะเริ่มขึ้นภายใน 10 วันหลังรับประทานอาหารปนเปื้อน แต่ก็สามารถล่าช้าไปหลายสัปดาห์ก็ได้

หากปล่อยไว้โดยไม่ทำการรักษา อาการจากการติดเชื้อประเภทนี้จะคงอยู่ยาวนานมากซึ่งอาจเป็นหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน

การรักษาภาวะอาหารเป็นพิษ

ภาวะอาหารเป็นพิษมักสามารถรักษาได้เองที่บ้านโดยไม่ต้องพึ่งแพทย์ ผู้ป่วยส่วนมากจะรู้สึกดีขึ้นเองภายในเวลาไม่กี่วัน

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการระมัดระวังไม่ให้คุณประสบกับภาวะขาดน้ำด้วยการดื่มน้ำให้มาก ๆ แม้จะทำได้แค่การจิบทีละเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากร่างกายของคุณจะสูญเสียน้ำไปกับอาการท้องร่วงกับอาเจียนค่อนข้างมาก

อีกทั้งคุณควรพักผ่อนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ รับประทานอาหารเมื่อรู้สึกพร้อมโดยการทานอาหารไม่มีไขมัน เบา และมีขนาดน้อยก่อน

ควรเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน น้ำอัดลม อาหารเผ็ด และอาหารไขมันสูงในช่วงนี้ไปก่อนเพราะอาหารเหล่านี้อาจทำให้อาการของคุณทรุดลงได้

ให้ติดต่อแพทย์ทันทีที่อาการของคุณไม่ดีขึ้นหลังเริ่มมีอาการไม่กี่วันหรืออาการต่าง ๆ ทรุดลงรุนแรง

การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

หากคุณประสบกับภาวะอาหารเป็นพิษคุณไม่ควรเตรียมอาหารให้ผู้อื่นและควรเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ อย่างเช่นผู้สูงอายุหรือเด็กเล็กให้มากที่สุด

ควรหยุดงานหรือลาเรียนเป็นเวลาอย่างน้อย 48 ชั่วโมงหลังจากเริ่มมีท้องร่วงครั้งแรก

หากคนใกล้ชิดกับคุณมีภาวะอาหารเป็นพิษ คุณควร:

  • พยายามดูแลให้ทุกคนในครัวเรือนเดียวกัน (รวมไปถึงตัวคุณเอง) ล้างมือด้วยสบู่และน้ำอุ่นเป็นประจำ โดยเฉพาะหลังเข้าห้องน้ำและก่อนเตรียมอาหาร
  • ทำความสะอาดพื้นผิว ฝารองนั่งชักโครก ที่กดชักโครก อ่างล้างหน้า และก๊อกน้ำบ่อย ๆ
  • จัดเตรียมผ้าเช็ดหน้าและตัวให้กับทุกคนแยกต่างหาก
  • ซักเสื้อผ้าของผู้ติดเชื้อในน้ำร้อน

ผงน้ำตาลเกลือแร่ (ORS)

ผงน้ำตาลเกลือแร่ หรือ Oral rehydration solution (ORS) มีไว้เพื่อผู้ที่อ่อนไหวต่อผลของภาวะขาดน้ำอย่างผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะสุขภาพอื่น ๆ อยู่ก่อน โดย ORS จะวางจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป คุณสามารถเตรียมยาตัวนี้ได้ด้วยการละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ในน้ำดื่มเพื่อชดเชยเกลือ กลูโคส และแร่ธาตุสำคัญของร่างกายอื่น ๆ ที่เสียไปจากภาวะขาดน้ำ

หากคุณมีปัญหาที่ไต ORS บางประเภทอาจไม่เหมาะสม ดังนั้นคุณควรสอบถามกับเภสัชกรก่อนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผงน้ำตาลเกลือแร่ทุกครั้ง

การรักษาเพิ่มเติม

หากอาการของภาวะอาหารเป็นพิษเกิดขึ้นรุนแรงหรือเรื้อรัง หรือคุณอ่อนไหวต่อการติดเชื้อร้ายแรงต่าง ๆ คุณอาจจำต้องเข้ารับการรักษาเพิ่มเติม

จะมีการทดสอบอุจจาระเพื่อหาว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการ และจะมีการใช้ยาปฏิชีวนะหากผลการตรวจแสดงให้เห็นการติดเชื้อแบคทีเรีย

หากคุณมีอาการอาเจียนรุนแรง แพทย์อาจจ่ายยาต้ายอาเจียนแก่คุณ

ในบางกรณีคุณอาจต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นเวลาไม่กี่วันเพื่อให้แพทย์สอดส่องอาการและป้อนของเหลวผ่านสายสวนเส้นเลือด

การป้องกันภาวะอาหารเป็นพิษ

วิธีป้องกันภาวะอาหารเป็นพิษที่ดีที่สุดคือการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลและความสะอาดระหว่างการจัดเก็บ การจัดเตรียม และการหยิบจับอาหาร

คุณควรระมัดระวังเรื่องของข้อมูลวันหมดอายุและการจัดเก็บอาหารแต่ละชนิดตามความเหมาะสมที่ผู้ผลิตแนะนำ ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้มีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากอาหารบางประเภทอาจมีรูปร่างและกลิ่นที่ไม่เปลี่ยนแปลงแม้จะเลยวันหมดอายุไปแล้ว

การทำความสะอาด

คุณควรเตรียมอาหารให้ทั่วถึง ปรุงให้สุกสนิทจริง ๆ โดยเฉพาะเนื้อและอาหารทะเลเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียอันตรายที่อาจมีอยู่ทั้งหมด

ต้องให้มั่นใจว่าอาหารสุกไปจนถึงตรงกลาง ในการตรวจสอบว่าเนื้อที่คุณปรุงสุกตรงกลางหรือไม่นั้น ให้เสียบมีดลงไปยังตำแหน่งของชิ้นเนื้อที่หนาหรือลึกที่สุด หากเนื้อนั้นสุกแล้ว ของเหลวที่ไหลออกมาจะมีสีใสหรือสีเนื้อไม่มีสีชมพูหรือแดง เนื้อบางประเภทอย่างสเต็กและข้อต่อเนื้อแกะหรือวัวอาจต้องเสิร์ฟแบบแรร์ (หรือตรงกลางชิ้นเนื้อไม่สุก) ซึ่งอย่างน้อยก็ควรต้องทำให้ภายนอกของเนื้อสุกอย่างทั่วถึง

เมื่อทำการอุ่นอาหารใหม่ ต้องให้แน่ใจว่าความร้อนได้กระจายเข้าไปในอาหารทุกส่วนรวมไปถึงตรงกลางด้วย และห้ามอุ่นอาหารซ้ำมากกว่าหนึ่งครั้ง

การแช่เย็น

อาหารบางประเภทต้องถูกเก็บในอุณหภูมิที่พอเหมาะเพื่อป้องกันการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียอันตราย โดยคุณสามารถตรวจสอบคำแนะนำของอาหารแต่ละชนิดได้จากฉลากผู้ผลิต

หากอาหารต้องถูกแช่เย็น ควรปรับให้ตู้เย็นของคุณมีอุณหภูมิที่ระหว่าง 0 – 5 องศาเซลเซียส

หากอาหารที่ต้องถูกแช่เย็นถูกทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง จะทำให้เชื้อแบคทีเรียเติบโตและเพิ่มจำนวนจนไปถึงระดับอันตรายได้

สำหรับการเก็บอาหารปรุงแล้วที่กินเหลือ ควรทำให้เย็นอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่ชั่วโมงและใส่เข้าไปในตู้เย็นหรือช่องแช่แข็ง

การปนเปื้อนข้าม

การปนเปื้อนข้ามคือการที่เชื้อแบคทีเรียส่งผ่านจากอาหารหนึ่งประเภท (มักเป็นอาหารดิบ) ไปสู่อาหารอีกหนึ่งประเภท ซึ่งเกิดขึ้นเมื่ออาหารหนึ่งสัมผัสหรือหยดลงอาหารอีกประเภท หรือเมื่อแบคทีเรียบนมือของคุณ บนสิ่งของ อุปกรณ์ประกอบอาหาร หรือช้อนส้อมสัมผัสกับอาหาร

ในการป้องกันการปนเปื้อนข้ามนั้นคุณควร: ล้างมือหลังหยิบจับอาหารดิบทุกครั้ง เก็บอาหารดิบกับอาหารที่พร้อมรับประทานแยกจากกัน เก็บเนื้อดิบในบรรจุภัณฑ์ที่ผนึกมิดชิดที่ชั้นล่างสุดของตู้เย็นเพื่อไม่ให้น้ำจากเนื้อดิบหยดลงอาหารอื่น ใช้เขียงแยกระหว่างของดิบกับของสุก หรือล้างเขียงก่อนเตรียมอาหารแต่ละประเภททุกครั้ง ทำความสะอาดมีดหรือเครื่องครัวอื่น ๆ ให้สะอาดหลังใช้กับอาหารดิบ

ห้ามล้างเนื้อดิบเพราะแบคทีเรียอันตรายสามารถถูกกำจัดได้จากการปรุงอาหารให้สุกเท่านั้น การล้างน้ำอาจยิ่งทำให้แบคทีเรียกระจายไปทั่วห้องครัวของคุณได้


26 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Food poisoning. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/food-poisoning/)
Food Poisoning Symptoms | Food Safety. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/foodsafety/symptoms.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)