กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

แพ้ถั่วเหลือง อาการแพ้ที่คนเอเชียมักเสี่ยงมากที่สุด

มาดูกัน อาหารอะไรบ้างผู้ป่วยภูมิแพ้ถั่วเหลืองต้องหลีกเลี่ยง
เผยแพร่ครั้งแรก 18 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 12 มี.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
แพ้ถั่วเหลือง อาการแพ้ที่คนเอเชียมักเสี่ยงมากที่สุด

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ผู้ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียต้องระมัดระวังถั่วเหลืองเป็นพิเศษ เพราะอาหารเอเชียมักจะมีส่วนผสมของถั่วเหลืองเป็นส่วนมาก
  • แม้อาหารส่วนมากจะมีการแจ้งที่ฉลากผลิตภัณฑ์ว่า "มีส่วนผสมของถั่วเหลือง" แต่ก็ยังมีผลิตภัณฑ์บางส่วนที่ไม่แจ้งรายละเอียดในขั้นตอนการผลิต เช่น อาหารที่ถูกผลิตโดยถั่วเหลืองที่แปรรูปแล้ว 
  • อาการแพ้ถั่วเหลืองร้ายแรงถึงขั้นทำให้ช็อกได้ ผู้ที่แพ้ถั่วเหลืองจึงต้องระมัดระวังเรื่องการรับประทานอาหารให้ดี
  • การป้องกันอาการแพ้ถั่วเหลืองที่ดีที่สุดคือ การหลีกเลี่ยงอาหารและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลืองทุกชนิด
  • ทั้งนี้เพื่อความมั่นใจและไม่ทำให้อาการแพ้รุนแรง คุณจึงควรเข้ารับการตรวจภูมิแพ้อาหารเพื่อให้ทราบว่า ตนเองแพ้อาหารอะไรบ้าง (ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ได้ที่นี่)

หลายคนคงทราบว่า ถั่วเหลืองเป็นหนึ่งในอาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ง่าย แต่อาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะหลีกเลี่ยงการรับประทานถั่วเหลือง 

เนื่องจากถั่วเหลืองจัดเป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญของอาหารหลายชนิดในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงอาหารไทยด้วย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เราสามารถหาอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นถั่วเหลืองได้ตั้งแต่อาหารสำเร็จรูปไปจนถึงอาหารปรุงใหม่ของเอเชียหลายเมนู และเพราะถั่วเหลืองจัดเป็นวัตถุดิบสำคัญของอาหารเอเชียหลายชนิด 

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีผู้คนจำนวนมากเกิดอาการแพ้ถั่วเหลืองขึ้น เพราะไม่รู้มาก่อนว่า ในอาหารที่ตนเองรับประทานอยู่นั้น มีส่วนผสมของถั่วเหลืองอยู่ด้วย

กฎหมายเกี่ยวกับฉลากผลิตภัณฑ์

แต่นับว่าโชคดีที่เรายังมีกฎหมาย ว่าด้วยเรื่อง "การติดฉลากส่วนผสมสำหรับผู้แพ้อาหาร (Food Allergan Labeling & Consumer Protection Act: FALCPA)" 

กฎหมายนี้บังคับให้ผู้ประกอบการต้องระบุส่วนผสมเกี่ยวกับถั่วเหลืองของอาหารนั้นๆ ไว้ในฉลากด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย 

อย่างไรก็ตาม กฎหมายนั้นก็ยังมีช่องโหว่อยู่เพราะยังมีข้อยกเว้นว่า หากผลิตภัณฑ์นั้นมีส่วนผสมของถั่วเหลืองที่แปรรูปไปแล้ว หรือมีส่วนผสมของเลซิตินในถั่วเหลือง 

ผู้ประกอบการก็ไม่จำเป็นต้องติดฉลากว่า ผลิตภัณฑ์นั้นมีส่วนผสมของถั่วเหลืองด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ถั่วเหลืองยังเป็นส่วนผสมที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรด้วย เช่น ขี้ผึ้ง ในไก่สด หรือไก่แช่แข็งที่แปรรูปเป็นซุปไก่ได้ 

นอกจากนี้ยังมีฉลากอาหารบางยี่ห้อที่มีส่วนผสมของถั่วเหลืองอยู่ แต่ผู้ประกอบการไม่ได้สนใจที่จะใส่ข้อมูลลงไป เพราะคิดว่าไม่จำเป็น เช่น

  • เป็นอาหารที่ผลิตโดยใช้อุปกรณ์ร่วมกับถั่วเหลือง
  • ผลิตในสิ่งแวดล้อมที่มีการผลิตถั่วเหลือง

ชื่ออื่นๆ ของถั่วเหลือง

นอกจากชื่อถั่วเหลือง หรือ “Soybean” ที่ทุกคนรู้จักทั่วไป ยังมีชื่อเรียกอื่นๆ ของถั่วเหลือง หรือาหารที่มีส่วนผสมของถั่วเหลืองที่คุณควรรู้อีก เช่น

  • เต้าหู้ (Bean curd)
  • ถั่วงอกถั่วเหลือง (Soy Bean Sprouts)
  • ถั่วแระญี่ปุ่น หรืออีfามามี (Edamame)
  • ผงถั่วเหลืองคั่วบด หรือคินาโกะ (Kinako)
  • ซอสถั่วเหลืองหมัก หรือซอสมิโสะ (Miso)
  • ถั่วเน่าญี่ปุ่น หรือนัตโตะ (Natto)
  • นิมาเมะ (Nimame) หรือ ถั่วเหลืองปรุงรส
  • กากถั่วเหลือง หรือโอการะ (Okara)
  • ซอสถั่วเหลืองโชยุ (Shoyu)
  • ซอสถั่วเหลือง (Soy Sauce)
  • ต้นถั่วเหลือง หรือโซยะ (Soya)
  • ซอสถั่วเหลืองทามาริ (Tamari)
  • อาหารหมักจากถั่วเมล็ดแห้ง (Tempeh)
  • เต้าหู้โทฟุ (Tofu)
  • ฟองเต้าหู้ หรือยูบะ (Yuba)

อาหารที่มักจะมีส่วนผสมของถั่วเหลือง

รายการอาหารต่อไปนี้มักจะมีถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบ ผู้ที่แพ้อาหารประเภทถั่วเหลืองต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะบางครั้งคุณจะไม่สามารถขอดูส่วนผสมทั้งหมดได้

  • อาหารเอเชีย เช่น ในประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น จีน ไทย และอื่นๆ
  • ขนมอบและส่วนผสมของขนมอบ
  • ซุปก้อน
  • ลูกอม
  • ธัญพืชซีเรียล
  • ไก่ที่ผ่านการแปรรูปร่วมกับซุปไก่
  • ซุปไก่
  • ช็อกโกแลต
  • เนื้อสัตว์
  • ธัญพืชอัดแท่ง
  • ผลิตภัณฑ์ที่เลียนแบบผลิตภัณฑ์จากนม เช่น นมถั่วเหลือง ไอศกรีมสำหรับผู้ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ (Vegan Ice cream)
  • นมสำหรับทารก
  • เนยเทียม
  • มายองเนส
  • ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ที่แปรรูป เช่น แฮมเบอร์เกอร์ ไส้กรอก
  • อาหารเสริมอัดเม็ด วิตามินเสริมอัดเม็ด
  • เนยถั่ว และผลิตภัณฑ์ทดแทนเนยถั่ว
  • ผงโปรตีน
  • ซอสน้ำเกรวี่ และน้ำซุป
  • น้ำผักปั่น
  • ซุปผัก
  • อาหารมังสวิรัติที่มีการเลียนแบบเนื้อสัตว์

ข้อควรระวังเกี่ยวกับการับประทานนมถั่วเหลือง

หลายคนมักเข้าใจผิดว่า หากแพ้นมวัวก็แสดงว่า แพ้น้ำตาลแลคโตส (Lactose) และให้หันไปรับประทานนมถั่วเหลืองแทน แต่ความจริงแล้ว คุณอาจแพ้โปรตีนนมวัวต่างหากซึ่งโปรตีนนมวัวก็เป็นส่วนผสมอยู่ในนมถั่วเหลืองเช่นกัน

ดังนั้นหากมีอาการแพ้นมวัว ให้ปรึกษาแพทย์ว่า สามารถรับประทานนมอะไรได้บ้าง จะเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด และควรเข้ารับการทดสอบภูมิแพ้อาหาร เพื่อให้ทราบว่ายังมีถั่วชนิดอื่นๆ ที่แพ้อีกหรือไม่

อาการของผู้แพ้ถั่ว้หลืองและถั่วอื่นๆ 

อาการต่อไปนี้ไม่ใช่แค่ในผู้ที่แพ้ถั่วเหลืองเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงถั่วชนิดอื่นๆ ด้วย ได้แก่

  • ปวดท้อง
  • ท้องเสีย
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • หายใจลำบาก หรือหายใจไม่ออก
  • คันปาก
  • ผื่นขึ้นตามผิวหนัง
  • ใบหน้า แขน ขาบวม
  • จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ
  • ช็อกจากการแพ้ เป็นอาการที่มักจะพบเสมอในผู้ป่วยที่ภูมิแพ้ถั่ว

วิธีป้องกันอาการแพ้ถั่วเหลือง

  • วิธีที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันอาการแพ้ถั่วเหลืองคือ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของถั่วเหลืองทุกชนิด
  • เวลาไปรับประทานอาหารนอกบ้านให้สอบถามทางร้านให้แน่ใจก่อนว่า "อาหารที่ต้องการสั่งมีส่วนผสมของถั่วเหลืองหรือไม่"
  • หากมีลูก หรือเด็กเล็กในบ้านที่แพ้ถั่วเหลือง ให้แจ้งทางโรงเรียนเกี่ยวกับอาการแพ้ ประเภทอาหารที่เด็กสามารถรับประทานได้ด้วย 
  • ระมัดระวังทุกครั้งที่ปรุงอาหาร เพื่อหลีกเลี่ยงวัตถุดิบ ซอส หรือส่วนผสมอื่นๆ ที่มีส่วนผสมของถั่วเหลือง

อาการแพ้ถั่วเหลืองแม้จะรุนแรงแต่สามารถป้องกันได้ เพียงต้องใส่ใจ เคร่งครัด และมีวินัยกับตนเองเสมอ ไม่หวั่นไหวกับอาหารที่มีส่วนผสมของถั่วเหลืองถึงแม้ว่าจะมีกลิ่น หน้าตา น่ารับประทานอย่างไร 

ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัพเดทแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Types of food allergy: Soy allergy. (n.d.) (http://acaai.org/allergies/types/food-allergies/types-food-allergy/soy-allergy), 9 March 2020.
Soybeans and soy lecithin. (2017) (https://farrp.unl.edu/soy-lecithin), 9 March 2020.
Soybean Allergy? Non-Food Soybean Products To Avoid. Verywell Health (https://www.verywellhealth.com/non-food-soybean-products-1324500), 9 March 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป