กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

กรดโฟลิค (Folic Acid)

ทำความรู้จักประโยชน์ของกรดโฟลิค วิตามินที่เหมาะสำหรับทุกเพศ ทุกวัย
เผยแพร่ครั้งแรก 10 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 19 ก.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
กรดโฟลิค (Folic Acid)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • กรดโฟลิค เป็นวิตามินบี 9 ที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้ร่างกายได้ โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ เพราะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้ร่างกายทารกได้
  • กรดโฟลิคมีส่วนสำคัญในการสร้าง และแบ่งเซลล์ตัวอ่อนของทารก รวมถึงช่วยเสริมความแข็งแรงของระบบไหลเวียนเลือด ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวในกระดูกสันหลังของทารกเพียงพอ หญิงตั้งครรภ์จึงควรรับประทานกรดโฟลิคมากกว่ากลุ่มคนปกติ
  • นอกจากประโยชน์ในหญิงตั้งครรภ์ กรดโฟลิคยังช่วยบำรุงผิวพรรณให้ดูดีขึ้น ป้องกันการเกิดพยาธิในลำไส้ ป้องกันแผลร้อนใน รักษาโรคโลหิตจาง
  • คุณสามารถพบกรดโฟลิคได้ในพืชผักใบเขียว ถั่ว แป้งไรย์ไม่ขัดสี หรืออาจรับประทานในรูปของวิตามินเม็ดก็ได้
  • ยังไม่พบว่า การรับประทานกรดโฟลิคนั้นเป็นอันตราย เพราะเป็นวิตามินละลายน้ำได้ และกรดโฟลิคยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงได้ แต่ก็ควรใช้ควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และไปตรวจสุขภาพกับแพทย์ด้วย (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัยได้ที่นี่)

กรดโฟลิค เป็นหนึ่งในกลุ่มวิตามินบี 9 ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตรนั้นจำเป็นต้องรับประทานกรดโฟลิคมากกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่า เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงของทารก 

นิยามของกรดโฟลิค

กรดโฟลิค (Folic acid) หรือมีอีกชื่อเรียกว่า "โฟเลต" หรือ "โฟลาซิน" หรือวิตามินบี 9 เป็นหนึ่งในตระกูลวิตามินบีที่ละลายในน้ำได้ คนทั่วไปรู้จักกันในชื่อวิตามินบีซี (Bc) หรือวิตามินเอ็ม มีหน่วยวัดเป็นไมโครกรัม (มคก.)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กรดโฟลิคนั้นจำเป็นต่อร่างกายมาก เพราะมีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง กรดนิวคลิอิก (กรดไรโบนิวคลีอิก และกรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก) ช่วยให้กระบวนการเผาผลาญโปรตีนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีความจำเป็นต่อการแบ่งตัวของเซลล์ กระบวนการใช้น้ำตาล และกรดอะมิโน

ปริมาณที่แนะนำต่อวันในการรับประทานกรดโฟลิค

  • คนทั่วไป ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวัน คือ 180-200 ไมโครกรัม
  • หญิงตั้งครรภ์ ควรเพิ่มขนาดที่รับประทานต่อวันเป็น 2 เท่า คือ 360-400 ไมโครกรัม
  • หญิงให้นมบุตร ควรรับประทาน 280 ไมโครกรัมในช่วงหกเดือนแรก และ 260 ไมโครกรัมในช่วง 6 เดือนหลัง

เหตุผลที่กรดโฟลิคจำเป็นต่อหญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร

กรดโฟลิคเป็นวิตามินที่มีส่วนในการสร้างตัวอ่อน แบ่งเซลล์ร่างกาย รวมถึงซ่อมแซมพันธุกรรม สร้างเม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาวในไขกระดูกสันหลังของทารกในครรภ์ 

แต่เพราะในระหว่างตั้งครรภ์ ร่างกายของหญิงตั้งครรภ์จะดูดซึมอาหารได้น้อยกว่าปกติ จึงทำให้หญิงตั้งครรภ์ต้องรับกรดโฟลิคมากกว่าปกติ เพื่อให้ตัวแม่ และทารกในครรภ์ได้รับวิตามินชนิดนี้เพียงพอ

นอกจากนี้ หากหญิงตั้งครรภ์รับประทานกรดโฟลิคในประมาณที่เหมาะสมตั้งแต่ช่วงระหว่างที่มีการปฏิสนธิ และช่วงแรกของการตั้งครรภ์ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคท่อระบบประสาทผิดปกติ เช่น โรคความผิดปกติที่ส่วนโค้งของกระดูกสันหลังแต่กำเนิด (Spina Bifida) ของเด็กในครรภ์ 

ดังนั้นผู้หญิงที่กำลังวางแผนมีบุตร ควรรับประทานกรดโฟลิคเพิ่มเป็น 2 เท่าก่อนการตั้งครรภ์ 1-3 เดือน และหลังจากตั้งครรภ์ 3 เดือน ส่วนหญิงวัยเจริญพันธุ์ ควรรับประทานกรดโฟลิคประมาณ 5 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์

10 ประโยชน์ของกรดโฟลิคที่ควรรู้

  • ลดระดับกรดอะมิโนโฮโมซิสเทอีน (Homocysteine) ในเลือด และลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ
  • ป้องกันการพิการแต่กำเนิดในทารก
  • ช่วยในการสร้างน้ำนมของมารดาหลังคลอด
  • ช่วยป้องกันพยาธิในลำไส้ และอาหารเป็นพิษ
  • ช่วยให้ผิวพรรณแลดูสุขภาพดี
  • ช่วยชะลอให้ผมขาวช้าลงได้ เมื่อรับประทานร่วมกับกรดแพนโทเทนิก (Pantothenic acid) และกรดพารา-อะมิโนเบนโซอิก (Para-aminobenzoic  Acid: PAB) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พาบา (PABA)
  • ช่วยให้เจริญอาหาร
  • ช่วยป้องกันแผลร้อนใน
  • ช่วยรักษาภาวะซีด หรือโลหิตจาง

เมื่อร่างกายขาดกรดโฟลิคจะทำให้เกิดโรคอะไรได้บ้าง

เมื่อร่างกายขาดกรดโฟลิคจะทำให้เป็นโรคโลหิตจางแบบแมโครไซติก หรือแบบเม็ดเลือดแดงขนาดใหญ่ผิดปกติ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ส่วนในหญิงตั้งครรภ์ที่รับกรดโฟลิคไม่เพียงพอ มีความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะพิการทางสมอง หรือที่ระบบประสาทส่วนกลาง หรือกะโหลกปิดไม่สนิทได้ รวมถึงระบบไหลเวียนเลือดของเด็กจะทำงานไม่สมบูรณ์ สามารถลุกลามกลายเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคเบาหวานได้

ศัตรูของกรดโฟลิค

คุณควรระมัดระวังสาร หรือปัจจัยที่ทำลายกรดโฟลิคได้ เช่น 

  • ยาในกลุ่มซัลฟา (Sulfonamides) เช่น ยากันชัก ยาต้านเชื้อไวรัส HIV ยากลุ่มเพนนิซิลิน
  • แสงแดด 
  • ฮอร์โมนเอสโตรเจน 
  • กระบวนการแปรรูปอาหาร โดยเฉพาะการต้ม 
  • ความร้อน

แหล่งอาหารที่พบกรดโฟลิค

ผักที่มีใบสีเขียวเข้ม เช่น ผักคะน้า ผักบุ้ง อะโวคาโด แครอท ทอร์ทูลายีสต์ (ยีสต์สกัดชนิดหนึ่ง) ตับ ไข่แดง แคนตาลูป อาร์ติโชก แอปริคอต ฟักทอง ถั่ว แป้งไรย์ไม่ผ่านการขัดสี

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

  • โดยทั่วไปกรดโฟลิคจะมีจำหน่ายในขนาด 400 ไมโครกรัม และ 800 ไมโครกรัม
  • บางครั้งในวิตามินบีรวมจะมีกรดโฟลิคอยู่ 400 ไมโครกรัม แต่ส่วนมากจะมีขนาด 100 ไมโครกรัม (สามารถดูได้ที่ฉลาก)

รับประทานกรดโฟลิคในปริมาณที่มากเกินไป อันตรายต่อร่างกายหรือไม่

ปัจจุบันยังไม่พบอันตรายจากการรับประทานกรดโฟลิคมากเกินไป เนื่องจากกรดโฟลิคเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ไม่เก็บสะสมในร่างกาย เมื่อร่างกายได้รับในปริมาณมากเกินไปก็จะขับออกมาทางปัสสาวะนั่นเอง

แต่ในบางรายอาจพบผลข้างเคียงจากการรับประทานกรดโฟลิค เช่น อาการแพ้ (มีผดผื่น, หายใจลำบาก, ลิ้น ปาก ลำคอ หรือใบหน้าบวม) เวียนศีรษะ ไม่อยากอาหาร นอนไม่หลับ หรือมีภาวะซึมเศร้า หากอาการไม่ดีขึ้นจะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทันที

หากคุณกำลังรับประทานยาต้านมะเร็งบางชนิด หรือยาเฟโนโทอิน (Phenytoin) การรับประทานกรดโฟลิคในปริมาณมากอาจส่งผลกระทบต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือทำให้เกิดอาการชักได้ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนรับประทานวิตามิน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อแนะนำในการรับประทานกรดโฟลิค

  • ทุกๆ คนควรรับประทานกรดโฟลิค และวิตามินบี 6 ในปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน ขนาดที่แนะนำ คือ กรดโฟลิค 400 ไมโครกรัม และวิตามินบี 6 2-10 ไมโครกรัม จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจวายเฉียบพลันได้ถึง 42%
  • ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำควรรับประทานกรดโฟลิคเพิ่มขึ้น
  • การรับประทานวิตามินซีในปริมาณสูงจะเพิ่มการขับกรดโฟลิคออกจากร่างกาย ดังนั้นผู้ที่รับประทานวิตามินซีมากกว่า 2 กรัมต่อวัน ควรรับประทานกรดโฟลิคเพิ่มควบคู่ไปด้วย
  • หากกำลังรับประทานยากันชัก ไดแลนติน (Dilantin) ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides) ฟีโนบาร์บิทอล (Phenobarbital) หรือแอสไพริน (Aspirin) แนะนำให้รับประทานกรดโฟลิคเพิ่ม
  • การรับประทานกรดโฟลิค 1-5 มิลลิกรัมทุกวัน ในระยะเวลาหนึ่ง ช่วยแก้ปัญหาสีผิวไม่สม่ำเสมอได้
  • ผู้ที่กำลังป่วย หรือร่างกายกำลังต่อสู้กับโรคภัยอยู่ ควรรับประทานกรดโฟลิคเพิ่ม เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงขึ้น

การรับประทานกรดโฟลิคจากแหล่งอาหารธรรมชาติย่อมมีประโยชน์กว่าผลิตภัณฑ์อาหารเสริม 

เพราะจะได้รับวิตามิน หรือแร่ธาตุอื่นๆ เพิ่มด้วย แต่หากคุณจำเป็นต้องรับประทานกรดโฟลิคจากผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อน โดยเฉพาะถ้าคุณกำลังป่วยเป็นโรค หรือกำลังรับประทานยารักษาอื่นๆ อยู่ 

เพราะกรดโฟลิคอาจส่งผลกระทบต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพื่อที่แพทย์จะได้จัดขนาดของวิตามินที่เหมาะสมให้กับคุณ

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Folic Acid. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/folicacid.html)
Why do I need folic acid in pregnancy? NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/common-health-questions/pregnancy/why-do-i-need-folic-acid-in-pregnancy/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป