กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

อาการท้องอืดและการผายลม (Flatulence)

อาการท้องอืดและการผายลม เกิดจากการสะสมของแก๊สในกระเพาะอาหาร โดยทั่วไปไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย แต่หากเกิดมากกว่า 20 ครั้งต่อวัน อาจเป็นสัญญาณถึงความผิดปกติ
เผยแพร่ครั้งแรก 4 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ส.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 18 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการท้องอืดและการผายลม (Flatulence)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการท้องอืดและการผายลม หมายถึง การปลดปล่อยแก๊สจากระบบทางเดินอาหารผ่านทางทวารหนัก โดยเกิดขึ้นเมื่อมีการสะสมของแก๊สภายในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นกระบวนการตามปกติของร่างกาย
  • หากไม่ได้รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป และไม่ได้กลืนอากาศมากเกินไป อาการท้องอืดและการผายลมมากกว่า 20 ครั้งต่อวัน อาจมีสาเหตุมาจากท้องผูก กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ การแพ้อาหารบางชนิด ลำไส้ใหญ่เป็นแผล
  • หากมีอาการท้องอืดและการผายลมมากกว่า 20 ครั้งต่อวัน โดยไม่ทราบสาเหตุ หรือพบอาการเหล่านี้ร่วมด้วย เช่น ท้องบวม ปวดท้อง อาเจียน มีแก๊สตลอดเวลาและมีอาการรุนแรง น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ สามารถไปพบแพทย์เพื่อขอรับการวินิจฉัยได้
  • เปลี่ยนไปรับประทานคาร์โบไฮเดรตประเภทอื่นที่ย่อยง่าย ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอจะช่วยกระตุ้นการย่อยอาหาร ทำให้ลำไส้ได้ขยับ ช่วยป้องกันอาการท้องอืดและการผายลมได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้อาหาร

อาการท้องอืดและการผายลม หมายถึง การปลดปล่อยแก๊สจากระบบทางเดินอาหารผ่านทางทวารหนัก โดยเกิดขึ้นเมื่อมีการสะสมของแก๊สภายในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นกระบวนการตามปกติของร่างกาย 

ปกติแล้ว ร่างกายมนุษย์จะสะสมแก๊สผ่าน 2 วิธีการหลัก ซึ่งจะทำให้เกิดอาการท้องอืดและการผายลม ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  1. การกลืนอากาศลงไปเมื่อรับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่ม ทำให้ออกซิเจนและไนโตรเจนเข้าไปสะสมในทางเดินอาหาร โดยสาเหตุที่อาจทำให้มีการกลืนอากาศมากกว่าปกติ ได้แก่ การเคี้ยวหมากฝรั่ง การสูบบุหรี่ การดื่มน้ำอัดลม และการรับประทานอาหารอย่างรีบร้อนเกินไป
  2. เกิดขึ้นระหว่างการย่อยอาหาร ซึ่งจะทำให้เกิดแก๊สสะสมขึ้น เช่น ไฮโดรเจน มีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ หากรับประทานถั่ว กะหล่ำปลี ลูกเกด บร็อคโคลี แอปเปิ้ล และอาหารที่มีน้ำตาลฟรุกโทสมาก ก็จะยิ่งเพิ่มแก๊สในระบบทางเดินอาหาร และอาจทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ด้วย

สาเหตุของอาการท้องอืดและการผายลม

หากไม่ได้รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต หรือน้ำตาลมากเกินไป และไม่ได้กลืนอากาศมากเกินไปด้วย อาการท้องอืดและการผายลมที่เกิดขึ้นมากกว่า 20 ครั้งต่อวัน อาจมีสาเหตุมาจากโรคบางอย่างได้ เช่น

เมื่อไรที่ต้องไปพบแพทย์

หากมีอาการท้องอืดและการผายลมมากกว่า 20 ครั้งต่อวัน โดยไม่ทราบสาเหตุ หรือพบอาการเหล่านี้ร่วมด้วย สามารถไปพบแพทย์เพื่อขอรับการวินิจฉัยได้

  • ท้องบวม
  • ปวดท้อง
  • มีแก๊สตลอดเวลาและมีอาการรุนแรง
  • อาเจียน
  • ท้องเสีย
  • ท้องผูก
  • น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • แสบร้อนกลางอก
  • มีเลือดในอุจจาระ

การมีอาการท้องอืดและการผายลมมากเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาได้ เช่น ทำให้ขาดความมั่นใจในตนเอง มีปัญหาในการเข้าสังคม 

หากอาการที่เกิดขึ้นรบกวนชีวิตประจำวันมากๆ เข้า ก็อาจส่งผลต่ออารมณ์สภาพจิตใจได้เช่นกัน ดังนั้นถ้าเริ่มรู้สึกว่า ปัญหาท้องอืดและการผายลมมากนี้ส่งผลเชิงลบต่อชีวิตแนะนำให้ไปพบแพทย์

การรักษาอาการท้องอืดและการผายลมด้วยตนเอง

  • ปรับเปลี่ยนอาหารที่รับประทาน ถ้าอาหารที่รับประทานอยู่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยยากให้เปลี่ยนไปรับประทานคาร์โบไฮเดรตประเภทอื่นที่ย่อยง่ายกว่า เช่น มันฝรั่ง ข้าว กล้วย
  • จดบันทึกรายการอาหารที่รับประทาน การจดบันทึกจะช่วยวิเคราะห์ได้ว่า อะไรคือปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการท้องอืดและการผายลมมากกว่าปกติ
  • แบ่งรับประทานอาหารเป็นมื้อเล็กๆ พยายามแบ่งการรับประทานอาหารเป็นมื้อเล็ก 5-6 มื้อต่อวัน เพื่อช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานง่ายขึ้น
  • เคี้ยวอาหารอย่างถูกวิธี เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้มีอากาศที่ถูกกลืนลงไปมากกว่าปกติ และควรหลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่ง หรือการสูบบุหรี่ การพูดคุยระหว่างรับประทานอาหาร 
  • การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ จะช่วยกระตุ้นการย่อยอาหาร ทำให้ลำไส้ได้ขยับ ช่วยป้องกันอาการท้องอืดและการผายลมได้

การรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการท้องอืดและการผายลม

  • การใช้ยาเม็ดถ่านจะช่วยดูดซับแก๊สในระบบทางเดินอาหาร 
  • การใช้ยาลดกรด 
  • การรับประทานอาหารเสริมบางชนิด เช่น Alpha-Galactosidase สามารถบรรเทาอาการชั่วคราวได้

อาการท้องอืดและอาการผายลมบ่อย แม้ไม่ใช่โรค หรือความผิดปกติที่รุนแรง แต่อาจรบกวนคุณภาพชีวิตได้ รวมทั้งอาจเป็นสัญญาณของโรคบางโรคได้ จึงควรหมั่นสังเกตตนเองว่า อยู่ในข่ายนี้หรือไม่

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้อาหาร จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Kati Blake, What Causes Flatulence? (https://www.healthline.com/symptom/flatulence), 3 December 2020.
NHS, Flatulence (https://www.nhs.uk/conditions/flatulence/), 3 December 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)