กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง 5 อย่างในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง 5 อย่างในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น

มีงานวิจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนอาหารบางชนิดกับการลดลงของอาการของโรคสมาธิสั้น โดยอาหารที่แนะนำให้หลีกเลี่ยงได้แก่อาหารที่การแต่งสีและใส่สารกันบูด, มีปรอทมาก, มีน้ำตาล คาเฟอีน เป็นผลิตภัณฑ์จากนม อาหารที่มีกลูเตน และอาหารที่ไม่ออร์แกนิค ต่อไปนี้เราจะมาแนะนำอาหารยอดนิยมในเด็ก 5 อย่างที่จัดอยู่ในอาหารกลุ่มนี้ ลองพยายามกำจัดการรับประทานอาหารเหล่านี้ทีละอย่างประมาณ 2 สัปดาห์และดูว่าเด็กมีอาการดีขึ้นหรือไม่

ทั้งนี้ เด็กแต่ละคนมีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอาหารที่แตกต่างกัน ดังนั้น อาจจะต้องมีการลองผิดลองถูกในช่วงแรก เพื่อให้เด็กร่วมมือกับการเปลี่ยนอาหาร อาจลองใช้การเล่นเกมสนุก ๆ เช่น การสำรวจชั้นต่าง ๆ ของร้านขายของชำเพื่อหาอุปกรณ์มาทำอาหารที่ครอบครัวอาจจะไม่เคยรับประทานมาก่อน เป็นต้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาหาร 5 อย่าง ที่ควรหลีกเลี่ยง ในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น มีอะไรบ้าง

1. เค้กผสมและน้ำตาลไอซิ่งโรยหน้าเค้กสำเร็จรูป

อาหารที่ผ่านการแปรรูปและทำสำเร็จมาแล้ว เต็มไปด้วยสารปรุงต่างอาหารเช่นสารกันบูดและสี เค้กผสมสีเหลืองมีสีแดง 40 และสีเหลืองอยู่อีก 5 มีงานวิจัยที่พบว่าสีย้อมอาหารอาจกระตุ้นความตื่นตัว หรืออาการของโรคสมาธิสั้นในเด็กที่ไวต่ออาหารเหล่านี้ได้ การกำจัดอาหารที่มีการปรุงแต่งสีจึงเป็นทางเลือกในการรักษาที่ได้ผลในการลดอาการของโรคสมาธิสั้น

2. ลูกอม

แม้ว่าจะไม่มีการพูดถึงความเชื่อมโยงระหว่างการรับประทานน้ำตาลกับการกิจกรรมที่เพิ่มขึ้น แต่พ่อแม่หลายคนรู้สึกว่าน้ำตาลทำให้เด็กตื่นตัวมากขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดอย่างรวดเร็ว ซึ่งลูกอมมีทั้งน้ำตาลและสารแต่งสีและสารกันบูด ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมเช่นกัน

การเปลี่ยนจากการรับประทานลูกอมมาเป็นของทานเล่นที่ดีต่อสุขภาพเช่นผลไม้จึงถือเป็นสิ่งที่ดี

3. ช็อกโกแลต

เด็กที่ไวต่อสารแต่งสีอาจจะไวต่อคาเฟอีนและสารกันบูดในช็อกโกแลตได้เช่นกัน การจำกัดการรับประทานช็อกโกแลตจึงอาจลดอาการตื่นตัวที่มากเกินไปได้

4. ขนมปังและพาสต้าจากข้าวสาลี

มีการศึกษาหลายชิ้นที่แสดงว่าการรับประทานอาหารที่ไม่มีสารกลูเตนนั้น สามารถช่วยลดอาการของโรคสมาธิสั้นได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้นหากเป็นโรคซิลิแอคแต่ไม่ได้รักษา ก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม เช่น การเป็นโรคสมาธิสั้นได้ การรับประทานอาหารแบบไม่มีสารกลูเตน เป็นการกำจัดอาหารที่มีข้าวสาลี ข้าวไรย์ และข้าวบาร์เลย์เป็นส่วนประกอบ

5. นม

การกำจัดผลิตภัณฑ์จากนมโดยเฉพาะคาเซอีนในอาหารพบว่าช่วยลดอาการตื่นตัวและหุนหันพลันแล่นในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นได้ ลองจำกัดการรับประทานผลิตภัณฑ์จากนมทั้งหมดประมาณ 5-7 วันเพื่อดูว่าเด็กไวต่อผลิตภัณฑ์จากนมหรือไม่ ก่อนที่จะเริ่มนำอาหารเหล่านี้กลับเข้ามาช้า ๆ และเฝ้าติดตามอาการที่อาจเกิดขึ้น


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
nhs.uk, Treatment - Attention deficit hyperactivity disorder (ADHD) (https://www.nhs.uk/conditions/attention-deficit-hyperactivity-disorder-adhd/treatment/)
mayoclinic.org, ADHD diet: Do food additives cause hyperactivity? (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/adhd/expert-answers/adhd/faq-20058203)
webmd.com, ADHD Diet and Nutrition (https://www.webmd.com/add-adhd/adhd-diets#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ภาวะ LD เป็นแบบไหน? วิธีสังเกตพฤติกรรมภาวะ LD ของเด็ก
ภาวะ LD เป็นแบบไหน? วิธีสังเกตพฤติกรรมภาวะ LD ของเด็ก

ทำความเข้าใจภาวะ LD ภาวะที่ส่งผลต่อการเรียนของลูก และมารู้จัก LD ทั้ง 3 ด้าน รวมถึงวิธีสังเกตอาการและสัญญาณ เพื่อจะได้ให้การช่วยเหลือเด็กๆ ได้อย่างทันท่วงที

อ่านเพิ่ม
เด็กสมาธิสั้น
เด็กสมาธิสั้น

รู้จักสาเหตุ อาการ ของเด็กสมาธิสั้น ความผิดปกติที่เกิดจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม สมาธิสั้นไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่มีแนวทางปฏิบัติซึ่งทำให้เด็กอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ได้

อ่านเพิ่ม