กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์

การมีลูกถือเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุดในชีวิตของผู้หญิงหลายๆ คน แต่ไม่ว่าคุณจะวางแผนรองรับการตั้งครรภ์ไว้ดีแค่ไหน แต่ก็อาจจะไม่ได้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายของคุณ ดังนั้นการเรียนรู้สิ่งที่จะเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ว่ามีอะไรบ้าง จะช่วยให้คุณเตรียมพร้อมรับมือกับอีกหลายเดือนข้างหน้าที่กำลังจะมาถึง

การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

การตั้งครรภ์จะแตกต่างกันในผู้หญิงแต่ละราย ผู้หญิงบางรายมีสุขภาพแข็งแรงดีและรู้สึกมีชีวิตชีวาในช่วงสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ แต่บางคนก็รู้สึกทุกข์ทรมาน ต่อไปนี้คือการเปลี่ยนแปลงที่จะพบได้ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ และสัญญาณเตือนอะไรบ้างที่ต้องปรึกษาแพทย์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เลือดออกทางช่องคลอด

ประมาณ 25% ของหญิงตั้งครรภ์มีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อยในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ (3 เดือนแรก) โดยเลือดที่ออกเพียงเล็กน้อยในช่วงแรกของการตั้งครรภ์นี้อาจเป็นสัญญาณของไข่ที่ปฏิสนธิแล้วมีการฝังตัวที่มดลูก อย่างไรก็ตามถ้าคุณมีเลือดออกปริมาณมาก ปวดเกร็งช่องท้อง ให้ปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเป็นสัญญาณของการแท้ง หรือการท้องนอกมดลูก

เจ็บคัดตึงเต้านม

อาการเจ็บคัดตึงเต้านมถือเป็นสัญญาณอย่างหนึ่งในช่วงแรกๆ ของการตั้งครรภ์ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งจะเป็นการเตรียมท่อน้ำนมสำหรับให้นมลูก ซึ่งอาจมีอาการตลอดช่วงระยะเวลาของไตรมาสแรก การใส่ยกทรงที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจะช่วยให้คุณรู้สึกสบายตัวมากขึ้น คุณสามารถกลับไปใช้ยกทรงแบบเดิมได้ภายหลังลูกหย่านมแล้ว

ท้องผูก

ระหว่างการตั้งครรภ์  การบีบตัวของกล้ามเนื้อเพื่อดันให้อาหารไปยังลำไส้ทำงานช้าลง อันเนื่องมาจากระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สูงขึ้น นอกจากนี้การได้รับธาตุเหล็กเพิ่มจากวิตามินเสริมระหว่างตั้งครรภ์จะทำให้มีอาการท้องผูกและเกิดแก๊สขึ้น ทำให้มีอาการท้องอืดระหว่างตั้งครรภ์ได้ การรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูงและดื่มน้ำมากๆ การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมจะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าว

ถ้าอาการท้องผูกเป็นมากจนรบกวนคุณ ให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาระบายอ่อนๆ ที่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยระหว่างตั้งครรภ์

ตกขาว

คุณสามารถพบตกขาวคล้ายนมได้ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามถ้าตกขาวมีกลิ่นเหม็น มีสีเหลือง หรือมีมากผิดปกติ ให้ปรึกษาแพทย์

อ่อนเพลีย

ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารก ซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าปกติ ดังนั้นแนะนำงีบหลับหรือพักผ่อนเมื่อคุณต้องการตลอดวัน นอกจากนี้ต้องมั่นใจว่าคุณได้รับธาตุเหล็กเพียงพอ เพราะการได้รับธาตุเหล็กน้อยเกินไปจะทำให้มีภาวะโลหิตจาง ซึ่งจะทำให้มีอาการอ่อนเพลียมากขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อยากอาหารหรือไม่ชอบอาหารบางชนิด

การรับรสอาหารสามารถเปลี่ยนไประหว่างตั้งครรภ์ได้ พบว่ามากกว่า 60% ของหญิงตั้งครรภ์รู้สึกอยากอาหาร และมากกว่าครึ่งหนึ่งเคยมีอาการไม่ชอบอาหารบางชนิด ความรู้สึกอยากอาหารมากกว่าปกติในช่วงนี้ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ปริมาณพลังงานเหมาะสม

ปัสสาวะบ่อย

แม้ว่าทารกในครรภ์จะตัวเล็ก แต่มดลูกจะมีการขยายขนาดขึ้นตลอดเวลา ทำให้มีแรงกดไปที่กระเพาะปัสสาวะ ดังนั้นสุดท้ายแล้วคุณจะรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย แต่อย่าหยุดดื่มน้ำ เพราะคุณยังต้องการน้ำ แต่ให้ลดปริมาณคาเฟอีน เพราะคาเฟอีนจะกระตุ้นกระเพาะปัสสาวะได้ โดยเฉพาะช่วงเวลาก่อนนอน เมื่อคุณรู้สึกปวดปัสสาวะ ให้ไปปัสสาวะให้เร็วที่สุด ไม่ต้องกลั้นไว้

แสบร้อนกลางอก

ระหว่างการตั้งครรภ์ร่างกายจะมีการผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมากขึ้น ทำให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อเรียบ รวมถึงกล้ามเนื้อหูรูดที่หลอดอาหารส่วนล่าง ซึ่งปกติจะมีหน้าที่ช่วยให้อาหารและกรดยังคงถูกเก็บไว้ในกระเพาะอาหาร เมื่อกล้ามเนื้อนี้คลายตัวลงจะทำให้กรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารขึ้นมาได้ ทำให้มีอาการแสบร้อนกลางอกขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการนี้ ให้รับประทานอาหารให้บ่อยครั้ง แต่ปริมาณน้อยลง ไม่นอนราบลงทันทีภายหลังรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง รสเผ็ด และผลไม้ที่เป็นกรด เช่น มะนาว  คุณสามารถทดลองนอนหมอนสูงขึ้นได้

อารมณ์แปรปรวน

อาการอ่อนเพลีย และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายจะทำให้คุณมีอารมณ์แปรปรวน อาจรู้สึกเบื่อหน่าย หวาดกลัว หรืออื่นๆ ในช่วงนี้ สามารถร้องไห้ได้ เพื่อให้อาการดีขึ้น แต่ถ้าคุณรู้สึกแย่ หวาดกลัว หรืออื่นๆ ควรหาผู้รับฟังที่เข้าใจ ที่ไม่ใช่สามีคุณ แต่ควรเป็นเพื่อนหรือบุคคลอื่นในครอบครัว

คลื่นไส้

อาการคลื่นไส้ พบได้มากถึง 85% ของหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งอาจมีอาการตลอดช่วงไตรมาสแรก ในหญิงตั้งครรภ์บางรายอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย  ในขณะที่บางรายอาจไม่สามารถเริ่มต้นทำกิจกรรมในวันนั้นได้เลยถ้ายังไม่ได้อาเจียนก่อน โดยส่วนใหญ่อาการจะเป็นมากช่วงเช้า จึงเรียกว่า morning sickness หรือเรียกอีกอย่างว่า อาการแพ้ท้อง ในการบรรเทาอาการคลื่นไส้ ให้ลองรับประทานแครกเกอร์ หรือดื่มน้ำผลไม้ใส เช่น น้ำแอปเปิ้ล หรือน้ำขิง เพื่อบรรเทาอาการ คุณอาจต้องทำแบบนี้ก่อนลุกจากเตียง หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้รู้สึกไม่สบายท้อง โดยทั่วไปอาการคลื่นไส้ไม่ได้เป็นสิ่งที่ต้องกังวล แต่ถ้ามันยังคงมีอยู่หรือมีอาการรุนแรง จะส่งผลต่อปริมาณสารอาหารที่จะไปสู่ทารก ดังนั้นให้ปรึกษาแพทย์หากคุณไม่สามารถหยุดอาเจียนได้

น้ำหนักเพิ่ม

การตั้งครรภ์ถือเป็นช่วงเวลาเพียงไม่กี่ช่วงที่น้ำหนักตัวเพิ่มในช่วงนี้ถือเป็นข่าวดีสำหรับผู้หญิง แต่ก็ไม่ควรเพิ่มมากเกินไป ในช่วงไตรมาสแรก คุณควรมีน้ำหนักเพิ่มประมาณ 1.4-2.7 กิโลกรัม (แพทย์อาจแนะนำตัวเลขน้ำหนักที่ควรเพิ่มเป็นตัวเลขอื่นได้ ถ้าก่อนตั้งครรภ์คุณมีน้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐานหรือมีน้ำหนักสูงเกินกว่ามาตรฐาน) แม้ว่าในร่างกายของคุณจะมีทารกอยู่ด้วย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องรับประทานอาหารปริมาณมากสำหรับสองคน จริงๆ แล้ว คุณต้องการพลังงานเพิ่มเพียง 150 แคลอรี่ต่อวัน เท่านั้น ระหว่างช่วงไตรมาสแรกนี้  และให้พลังงานที่ได้รับนั้นเป็นพลังงานจากอาหารที่เป็นประโยชน์ กล่าวคือ ให้เพิ่มผัก ผลไม้ นม ขนมปังธัญพืชไม่ขัดสี เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เป็นส่วนประกอบของมื้ออาหารของคุณ

อาการเตือน!

อาการบางชนิดที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ถือเป็นสัญญาณอันตราย หากมีอาการดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ให้รีบไปพบแพทย์ทันที โดยไม่ต้องรอไปพบตามนัด ได้แก่

  • ปวดท้องรุนแรง
  • มีเลือดออกจากช่องคลอดมาก
  • เวียนศีรษะรุนแรง
  • น้ำหนักตัวเพิ่มอย่างรวดเร็ว หรือน้ำหนักตัวเพิ่มน้อยเกินไป

ที่มา : https://www.webmd.com/baby/guide/first-trimester-of-pregnancy#1


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
First Trimester of Pregnancy: What to Expect, Baby Development. WebMD. (https://www.webmd.com/baby/guide/first-trimester-of-pregnancy#1)
The First Trimester of Pregnancy. Healthline. (https://www.healthline.com/health/pregnancy/first-trimester)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม