วิธีปฐมพยาบาล ผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษ

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เมื่อผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษ การได้รับการปฐมพยาบาลแก้ไขอย่างทันท่วงที จะทำให้ผู้ป่วยรอดพ้นจากอันตรายได้ ตรงกันข้ามถ้าให้ความช่วยเหลือช้าไป ก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

a12.gif สารพิษ ในที่นี้หมายถึง สารที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายคนเราแล้ว ทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย หรืออาจทำให้เสียชีวิตได้ ผู้ที่จะให้ความช่วยเหลือในระยะแรกไม่จำเป็นต้องเป็นแพทย์เสมอไป แต่ควรจะเป็นผู้ที่มีความรู้ตามสมควรเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลผู้ได้รับสารพิษ ไม่เช่นนั้นแทนที่จะเป็นการช่วยเหลือ กลับกลายเป็นการทำให้เกิดความยุ่งยากในการปฐมพยาบาลรักษาต่อไป

a12.gif การให้การช่วยเหลือระยะแรก มีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้มีการดูดซึมสารพิษเข้าสู่ร่างกาย จนกระทั่งถึงขั้นที่เป็นอันตราย หรือมีจำนวนมากเกินกว่าจะทำการแก้ไขได้ ซึ่งก็สามารถทำได้โดยวิธีการที่ทำให้การดูดซึมลดน้อยลง และการขจัดสารพิษออกจากร่างกาย สำหรับการจะทำอย่างไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าเป็นสารพิษที่ได้รับชนิดใด ซึ่งพอจะแยกกล่าได้คร่าว ๆ ดังนี้

1. สารพิษที่ได้รับโดยวิธีรับประทานเข้าไป

        ลดการดูดซึม สามารถทำได้โดยการให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ 1 หรือ 2 แก้ว หรืออาจจะใช้น้ำนมแทนน้ำก็ได้ และถ้ามีผงถ่านก็อาจจะให้ผู้ป่วยรับประทานผงถ่านผสมน้ำโดยในผู้ใหญ่ให้ประมาณ 50-100 กรัม ในเด็กให้ 25 กรัม


 
        การทำให้ผู้ป่วยอาเจียน โดยให้ยากระตุ้นให้อาเจียน (Syrup of Ipecae) ในผู้ใหญ่รับประทานประมาณ 30 มิลลิลิตร ในเด็กลดขนาดลงครึ่งหนึ่ง ถ้าไม่อาเจียนอาจห้ำได้อีกครั้ง
 
*ข้อควรระวังในการทำให้ผู้ป่วยอาเจียนคือ ควรจัดให้ศีรษะผู้ป่วยอยู่ต่ำ ๆ
เพื่อระวังไม่ให้ผู้ป่วยเกิดอาการสำลักสูดเอาเศษอาหารเข้าทางเดินหายใจซึ่งจะเป็นอันตรายได้*

 
ข้อห้าม ในการทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษอาเจียนคือ
  • สารพิษชนิดที่เป็นพวกกรดหรือด่าง
  • สารพิษชนิดที่เป็นพวกน้ำมันเบนซิน, น้ำมันก๊าด หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำมันปิโตรเลียม
  • ผู้ป่วยที่ประวัติว่าชัก เพราะว่าการกระตุ้นให้อาเจียนอาจทำให้ผู้ป่วยชักได้
กรณีที่ไม่มียากระตุ้นให้อาเจียน อาจใช้ไข่ขาว หรือใช้มือกระตุ้น บริเวณคอให้ผู้ป่วยอาเจียน ซึ่งการใช้มือล้วงควรทำให้ด้วยความระมัดระวัง

       การล้างท้อง ซึ่งในขั้นตอนนี้คงจะต้องทำในที่มีเครื่องเมือพอเพียง เช่น ที่โรงพยาบาล วิธีการทำจะไม่ขอกล่าวในที่นี้

       การให้ยาระบาย เพื่อขจัดสารที่ไม่ถูกดูดซึม ให้ออกมาจากร่างกายโดยเร็ว

2. สารพิษที่ได้รับทางผิวหนัง

a12.gif การให้ความช่วยเหลือ สามารถทำได้โดยถอดเสื้อผ้าหรือสิ่งปกคลุมออก แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด

3. สารพิษที่เป็นสารเคมีเข้าตา

a12.gif การช่วยเหลือก็ทำคล้าย ๆ สารพิษที่ได้รับทางผิวหนังคือ ใช้น้ำสะอาดล้างออกให้เร็วและมากที่สุดเท่าที่มากได้ แล้วจึงนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล

4. สารพิษที่ได้รับจากการสูดดมเข้าไป

a12.gif พาผู้ป่วยออกพ้นจากบริเวณที่มีสารพิษโดยเร็ว ให้ไปอยู่ในที่มีอากาศบริสุทธิ์ และถ้ามีออกซิเจนให้ผู้ป่วยก็ยิ่งดี

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)