กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.เพ็ญพิไล สุตันทวงษ์
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.เพ็ญพิไล สุตันทวงษ์

แผลที่อวัยวะเพศหญิง

แผลที่อวัยวะเพศหญิง เกิดจากอะไร รักษาได้อย่างไรบ้าง?
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 16 พ.ค. 2023 ตรวจสอบความถูกต้อง 10 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
แผลที่อวัยวะเพศหญิง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • แผลที่อวัยวะเพศหญิงไม่ได้เกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เท่านั้น แต่อาจเกิดจากผิวหนังอักเสบ ปฏิกิริยาที่มีต่อน้ำหอม น้ำยาซักผ้า การเกา การติดเชื้อ หรือเกิดจากขนคุด บางรายอาจมีอาการคัน เจ็บ แต่บางรายก็อาจไม่แสดงอาการใดๆ เลย
  • หากมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แล้วไม่ได้รักษาอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมาได้ เช่น อุ้งเชิงกรานอักเสบ มีบุตรยาก มีแผลเป็นที่ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงการท้องนอกมดลูก
  • รูปแบบการรักษาจะขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดแผล อาจมีการใช้ยาทาและยากินเพื่อรักษาแผลและบรรเทาอาการปวด ส่วนจะหายเร็ว หรือช้า ขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรงของโรค
  • วิธีป้องกันแผลที่อวัยวะเพศหญิงที่ดีที่สุดคือ การหมั่นรักษาความสะอาด มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย หมั่นสังเกตตนเองหากมีความผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์ทันที
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 

แผลที่บริเวณอวัยวะเพศหญิงหมายถึง การพบตุ่มและแผลที่ภายใน หรือรอบๆ ช่องคลอด บางครั้งอาจมีอาการคัน เจ็บ หรือทำให้มีสารคัดหลั่งออกมาได้ แต่บางครั้งแผลเหล่านี้ก็อาจไม่มีอาการอะไรแสดงออกมาเลย 

ตุ่ม หรือแผลที่บริเวณอวัยวะเพศหญิง บางครั้งก็อาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุได้และหายไปได้เองโดยไม่ต้องรักษา แต่บางครั้งก็อาจเกิดจากความผิดปกติของผิวหนัง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตาม ส่วนมากแผลที่บริเวณอวัยวะเพศหญิงมักเป็นอาการจากการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ทำไมควรรีบไปพบแพทย์ เมื่อมีแผลที่อวัยวะเพศ

ผู้ป่วยที่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มักจะเขินอาย หรือกลัวที่จะไปพบแพทย์ แต่สำหรับโรคกลุ่มนี้ ผู้ป่วยทุกคนควรไปพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม และแนะนำให้พาคู่นอนไปตรวจรักษาด้วย

เนื่องจากผู้หญิงที่อายุยังน้อยเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพในระยะยาวจากการติดเชื้อที่ไม่ได้รับการรักษาได้ และหากมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกันอย่างถูกต้องก็อาจมีการแพร่เชื้อไปถึงผู้อื่น หรือคู่นอนได้

ในการตรวจแผลที่บริเวณอวัยวะเพศนั้น แพทย์จะตรวจแผลที่เกิดขึ้นเพื่อหาสาเหตุ แนวทางการรักษา เพื่อรวบคุมโรค และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายได้ 

นอกจากนี้การไปพบแพทย์ยังสามารถช่วยยืนยันได้ด้วยว่า "อาการทุกอย่างเป็นปกติ แผลนั้นอาจแค่เกิดจากการอุดตัน หรือเป็นตุ่มน้ำที่สามารถรักษาได้ง่าย" เพื่อความสบายใจของตัวผู้ป่วยเอง

อาการที่เกิดกับอวัยวะเพศหญิงเมื่อมีแผล

แผลที่บริเวณอวัยวะเพศนั้นอาจจะมีขนาดเล็ก แดง คัน เป็นตุ่ม หรือตุ่มน้ำก็ได้ แผลยังอาจมีการเปลี่ยนแปลง เช่น มีสะเก็ด มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งอาจเกิดร่วมกับอาการเหล่านี้ก็ได้ เช่น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • คัน
  • ปวดบริเวณตำแหน่งที่เป็นแผล
  • ปวดที่อุ้งเชิงกราน
  • ปวดเรื้อรัง
  • มีเลือดออก
  • ปัสสาวะแสบขัด
  • ไข้
  • ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบโต

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยทั่วไปนั้นมักจะเกี่ยวข้องกับอาการต่างๆ เหล่านี้ด้วย เช่น เจ็บเวลาที่มีเพศสัมพันธ์ เจ็บเวลาที่ปัสสาวะ ตกขาวมีกลิ่นเหม็น หรือตกขาวมีปริมาณมากขึ้น

สาเหตุของการเกิดแผลที่อวัยวะเพศหญิง

แผลที่อวัยวะเพศนั้นไม่ได้เกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพียงอย่างเดียว แต่อาจเกิดจากผิวหนังอักเสบ ปฏิกิริยาที่มีต่อน้ำหอม หรือน้ำยาซักผ้า ถุงน้ำและแผลที่เกิดจากการเกาและการติดเชื้อ หรือเกิดจากขนคุดก็ได้

นอกจากนี้แผลที่อวัยวะเพศยังเกิดได้จากโรคเรื้อรังทางผิวหนังบางโรคที่อาจทำให้เกิดอาการคัน แสบ และเจ็บ ตามมาได้ เช่น

  • การอักเสบที่แคมและช่องคลอด
  • โรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสสารเคมี น้ำยาซักผ้า และน้ำหอม
  • โรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสกับสารที่แพ้
  • ถุงน้ำ
  • ขนคุด
  • มะเร็งผิวหนัง

สาเหตุที่พบบ่อยซึ่งทำให้เกิดแผลที่อวัยวะเพศหญิงก็คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งสามารถติดได้จาก

  • การมีเพศสัมพันธ์ทางปาก 
  • ทางช่องคลอด
  • ทางทวารหนัก 
  • การใช้อุปกรณ์ทางเพศร่วมกัน 

ตัวอย่างโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดแผลที่อวัยวะเพศหญิงประกอบด้วย

  • โรคเริมที่อวัยวะเพศ มีลักษณะเป็นแผลพุพองตื้นๆ มีตุ่มน้ำเล็กๆหลายแผลในบริเวณเดียวกัน
  • หูดที่อวัยวะเพศ
  • หูดข้าวสุก (Molluscum contagiosum) ซึ่งเป็นการติดเชื้อไวรัสที่ผิวหนังชั้นนอก มีลักษณะเริ่มจากเป็นจุดเล็กๆสีแดง และอาจมีตุ่มที่มีสีขาวด้านใน บางครั้งอาจมีรอยบุ๋มอยู่ตรงกลาง คล้ายสิวแต่ไม่มีการอักเสบ เมื่อบีบออกจะพบสารสีขาวคล้ายเมล็ดข้าวสุกอยู่ภายใน
  • ฝีมะม่วง (Lymphogranuloma Venerum) ระยะแรกจะพบตุ่มนูนหรือแผลตื้น ร่วมกับมีการอักเสบของท่อปัสสาวะ ต่อมาในระยะที่สองจะพบต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณขาหนีบโตอักเสบมากจนกลายเป็นฝีและแตกออกได้
  • โรคแผลริมอ่อน(Chancroid) เริ่มแรกแผลมีลักษณะเป็นผื่นราบหรือมีตุ่มนูน จากนั้นเกิดเป็นแผลหนอง หลังจากตุ่มหนองแตกออกจะกลายเป็นแผลที่มีขอบแผลหนา ไม่เรียบ ก้นแผลลึกเซาะออกทางด้านข้าง
  • โรคซิฟิลิส (Syphilis) ในระยะแรกแผลจะมีลักษณะเรียบสะอาด มีขอบแข็ง ไม่เจ็บ มักพบเป็นแผลเดี่ยวๆ หายได้เองใน 1-2 สัปดาห์ ในระยะที่สองมักเกิดหลังจากระยะแรก 6 สัปดาห์ ถึง 6 เดือน แผลที่อวัยวะเพศจะเป็นรอยนูนขึ้น อาจพบได้มากกว่าหนึ่งแผล ร่วมกับมีผื่นขึ้นตามตัว ฝ่ามือฝ่าเท้า มีไข้ อ่อนเพลีย ส่วนในระยะที่สามมักไม่พบรอยแผลบริเวณอวัยวะเพศแล้วแต่มีการติดเชื้อในกระเสเลือด

การวินิจฉัยแผลที่อวัยวะเพศหญิง

การตรวจร่างกายจะสามารถระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลได้ แพทย์อาจจะมีการตรวจภายในและซักประวัติอื่นๆ ก่อนที่จะส่งตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือด เพาะเชื้อจากแผลเพื่อหาสาเหตุ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ทั้งนี้การเพาะเชื้อนั้นจะเก็บตัวอย่างจากบริเวณที่เป็นแผลและนำไปตรวจเพื่อดูว่า มีเชื้อแบคทีเรียอยู่ที่แผลหรือไม่ เมื่อสามารถระบุสาเหตุได้แล้ว แพทย์จะสามารถวางแผนการรักษาต่อไปได้

อย่างไรก็ตาม หากมีความเขินอาย หรือยังไม่มีเวลาไปพบแพทย์ด้วยตนเอง ปัจจุบันมีบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์เกี่ยวกับสุขภาพผู้หญิง เช่น โรคเริมที่อวัยวะเพศ โรคหูดหงอนไก่ ซึ่งสามารถโทรคุยแบบไม่เห้นหน้า หรือจะเลือกเป็นแบบวิดีโอคอลก็ได้ 

การดูแลตนเองเมื่อเป็นแผลที่อวัยวะเพศหญิง

หากมีแผลเกิดขึ้นที่อวัยวะเพศ คุณควรรีบไปพบแพทย์ทันที นอกจากนี้ยังสามารถดูแลตนเองเบื้องต้นได้ด้วยการนั่งแช่น้ำอุ่นเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด โดยอาจจะเติมน้ำเกลือ หรือเบกกิ้งโซดาลงไปในน้ำเล็กน้อย

ทำความสะอาดแผล และบริเวณอวัยวะเพศอย่างเหมาะสม และงดมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะหายดี

การรักษาแผลที่อวัยวะเพศหญิง

รูปแบบการรักษาที่จำเพาะนั้นจะขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดแผล อาจมีการใช้ยาทาและยากินเพื่อรักษาแผลและบรรเทาอาการปวด ส่วนมากแพทย์จะสั่งจ่ายยาดังต่อไปนี้

แผลที่อวัยวะเพศซึ่งเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น ถุงน้ำที่ไม่ใช่มะเร็งนั้นไม่จำเป็นต้องรักษาก็ได้ แต่หากผู้ป่วยรู้สึกรำคาญก็อาจให้แพทย์ช่วยตัดออกได้

การป้องกันแผลที่อวัยวะเพศหญิง

การมีเพศสัมพันธ์แบบปลอดภัยโดยใช้ถุงยางอนามัยกับคู่นอนทุกคน จะสามารถหยุดการแพร่กระจายโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่อาจทำให้เกิดแผลที่อวัยวะเพศได้ 

ผู้หญิงที่ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ควรบอกคู่นอนของตนเอง และแนะนำให้คู่นอนมาตรวจรักษาเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำและแพร่กระจายเชื้อไปสู่คู่นอนคนอื่นๆ อีก 

นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นั้น ควรงดมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะรักษาเสร็จสิ้น

ส่วนแผลที่อวัยวะเพศที่เกิดจากโรคผิวหนัง หรืออาการแพ้นั้นมักจะป้องกันได้ยากกว่า นอกจากต้องงดมีเพศสัมพันธ์แล้ว ยังควรหลีกเลี่ยงสารที่ทำให้ระคายเคือง เช่น สบู่ น้ำหอมที่มีกลิ่นแรง  

ส่วนการเกิดถุงน้ำและขนคุดนั้นสามารถทำให้อัตราการเกิดลดลงได้ด้วยการทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวให้ดี หลีกเลี่ยงการโกนบริเวณที่บวม แดง หรือมีการติดเชื้อ

ผลลัพธ์ระยะยาวจากแผล

ผลลัพธ์ในระยะยาวของแผลที่อวัยวะเพศผู้หญิงนั้นจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่แล้วแผลนั้นมักจะรักษาให้หายได้ แต่แผลที่เกิดจากโรคเริม หรือโรคผิวหนังเรื้อรังอาจจะกลับมาเป็นซ้ำได้อีก หากร่างกายอ่อนแอ หรือได้รับปัจจัยกระตุ้น

ส่วนผลลัพธ์ในการรักษาแผลจะได้ผลดีขนาดไหนนั้น ยังขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและระยะของโรค

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้รักษานั้นสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงต่อผู้หญิงได้ เช่น อุ้งเชิงกรานอักเสบ  มีบุตรยาก มีแผลเป็นที่ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ 

นอกจากนี้แผลที่อวัยวะเพศหญิงยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการท้องนอกมดลูกซึ่งเป็นภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้ 

ด้วยเหตุนี้คุณจึงควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการรักษาโรคเหล่านี้ในระยะยาวเพื่อควบคุมอาการ ป้องกันภาวะแทรกซ้อน และหลีกเลี่ยงการเกิดอาการซ้ำขึ้นอีก หรือเพื่อป้องกันไม่ให้โรคเหล่านี้เกิดขึ้นตั้งแต่แรก 

ทันทีที่รู้ว่า ตนเองมีแผลที่อวัยวะเพศ ถึงแม้จะเป็นแผลเล็กๆ ที่ไม่น่าลุกลามใหญ่โตได้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบว่า แผลเกิดจากอะไร มีการติดเชื้อหรือไม่ เพื่อที่จะได้หาทางรักษาต่อไปและไม่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้น

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

บทความแนะนำ


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Gomes CM, Genital ulcers in women (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17625773), 18 พฤษภาคม 2563.
วีรวิชญ์ พรวัฒนไกรเลิศ, Update in sexually transmitted disease (https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php?option=com_content&view=article&id=1111:update-in-sexually-transmitted-diseases&catid=45&Itemid=561), 18 พฤษภาคม 2563.
นางพเยาว์ เอนกลาภ, โรคซิฟิลิส (https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=883), 17 พฤษภาคม 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป