FOMO! Fear of Missing Out! โรคยุคใหม่ของคนกลัวตกกระแส

เคยได้ยินไหม? โรคกลัวการตกกระแส หรือในภาษาอังกฤษเรียกกันว่า Fear of Missing Out!
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ส.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
FOMO! Fear of Missing Out! โรคยุคใหม่ของคนกลัวตกกระแส

เคยได้ยินไหม? โรคกลัวการตกกระแส หรือในภาษาอังกฤษเรียกกันว่า Fear of Missing Out! ซึ่งต้นเหตุหลักของโรคยุคใหม่นี้ น่าจะมาจาก “อินเทอร์เน็ต” ซึ่งเข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบัน 

โรคกลัวตกกระแสคืออะไร?

โรคกลัวตกกระแส (Fear of missing out) คืออาการวิตกกังวลจนกลุ้มใจ เมื่อพลาดข้อมูลข่าวสารดังๆ ที่คนอื่นรู้กันแล้ว บางคนอาจเสียเวลาไปกับการใช้โทรศัพท์มือถือมากมายในแต่ละวัน ทำให้เสพติดข่าวสารสำคัญ และกลัวการตกแสโดยไม่รู้ตัว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โรคกลัวตกกระแสเกิดจากอะไร?

ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตทำให้เราทุกคนเข้าถึงข่าวสาร สาระความรู้ ความบันเทิง ความสนุกสนาน และอื่นๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ส่งผลให้หลายคนรู้สึกเสพติดกับการได้รับข้อมูลข่าวสารที่มีเข้ามาอย่างไม่ขาดสายผ่านอินเทอร์เน็ตนี้โดยไม่รู้ตัว บางคนอาจคาดไม่ถึงว่าพฤติกรรมที่ตนเองทำเป็นประจำ จัดเป็นโรคอย่างหนึ่งที่กำลังกลายเป็น “โรคยุคใหม่” อยู่ในขณะนี้ 

อาการของโรคกลัวตกกระแส

แน่นอนว่า โรคนี้เกี่ยวพันกับพฤติกรรมการจับโทรศัพท์มือถือของคุณ งานวิจัยหลาย ๆ ชิ้นมีผลสรุปออกมาว่า คนไทยใช้เวลาอยู่หน้าจอโทรศัพท์โดยเฉลี่ยประมาณ 7-8 ชั่วโมง หรือคุณอาจลองคำนวณความถี่ในการสัมผัสโทรศัพท์มือถือของตัวคุณเองก็ได้ว่า ในหนึ่งวัน คุณหยิบเจ้าจอสี่เหลี่ยมขึ้นมาดูกี่ครั้ง เรียกได้ว่า ไม่ว่าคุณจะทำกิจกรรมใดๆ ก็ตาม คุณไม่สามารถอยู่ห่างมันได้เกินครึ่งชั่วโมง ซึ่งพฤติกรรมของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันออกไป 

  • ติดนิสัยต้องตอบข้อความของเพื่อน แฟน หรือคู่สนทนาทันทีทันใดเสมอๆ
  • คอยจับจ้องอยู่แต่เพียงยอดไลค์หรือยอดติดตามในสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์คต่าง ๆ 
  • เสพติดการเข้าไปไถ่หน้า feed บนเฟสบุ๊ค อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ตลอดเวลา 
  • รู้สึกภาคภูมิใจและรู้สึกอยู่เหนือผู้อื่นเมื่อได้รับรู้ เกาะติด และอัพเดทข่าวสารเป็นคนแรกๆ
  • บางคนไม่สามารถออกจากบ้านโดยปราศจากมือถือ (แต่ในกรณีติดต่องานผ่านโทรศัพท์มือถือ อาจนับเป็นกรณีพิเศษ) 
  • ชอบแสดงความคิดเห็นในทุกปมปัญหา ข่าวร้อนทั้งหลายแหล 

วิธีแก้โรคกลัวตกกระแส

  1. อย่าหลอกตัวเอง: ปกติแล้ว หากใครได้ยินคำว่า “โรค” ก็ล้วนแล้วแต่ไม่อยากเป็นกันทั้งนั้น ยิ่งเป็นโรคที่เกี่ยวโยงกับพฤติกรรมความประพฤติของตนเองแล้วล่ะก็ ยิ่งมักจะปฏิเสธทันควันเสมอ ๆ ซึ่ง FOMO ไม่ใช่โรคร้ายแรงที่มีอันตรายถึงชีวิต แต่เป็นอาการหนึ่งที่ส่งผลเสียต่ออารมณ์ จิตใจ และสภาพร่างกายในบางครา หลัก ๆ แล้ว มันจะทำให้คุณมีคุณภาพชีวิตและปริมาณความสุขลดน้อยถอยลงก็เท่านั้น หากคุณรู้ว่าคุณมีอาการตั้งแต่เนิ่น ๆ คุณจะได้แก้ไขและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ทันท่วงทีอย่างไรล่ะ
  2. ตีมือตัวเองทุกครั้งที่จะจับมือถือ: ก่อนจับเจ้าจอสี่เหลี่ยมทุกครั้ง ให้ตั้งสติแล้วคิดเสมอว่า คุณกำลังจะจับมันเพื่อทำงาน หรือคุณกำลังจะจับมันเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใด และให้มีสติลองคำนวณการใช้คร่าว ๆ ดูว่า ความถี่ในการเหลือบมองเจ้ามือถือของคุณนั้นมีมากเกินไปหรือไม่ เพราะความจริงแล้ว คุณทั้งหลายควรละสายตาจากมัน (นาน ๆ) เสียบ้าง นอกจากจะเพื่อสุขภาพสายตาที่ดีแล้ว ยังเพื่อสุขภาพจิตที่ดีขึ้นอีกด้วย กล่าวคือ ไม่เสพติดข่าวดราม่าให้ปวดเศียรเวียนกบาลนั่นเอง
  3. ปิดโทรศัพท์มือถือให้เป็น: นอกจากบางคนจะไม่สามารถละสายตาจากจอโทรศัพท์ได้แล้ว บางคนยังถึงขั้นไม่สามารถข่มใจปิดเครื่องได้อีกด้วย ลองเถิด...ลองปิดเครื่องเสียบ้าง ให้มันได้พักหายใจ รวมถึงให้ตัวคุณได้พักกายและใจ เพื่อให้มีสติและสมาธิมากขึ้น
  4. หากิจกรรมงานอดิเรกอื่น ๆ: งานอดิเรกและกิจกรรมคลายเครียดบนโลกใบนี้ยังมีอีกมากมายหลากหลายอย่าง หาได้มีแต่ในโทรศัพท์มือถือไม่ ฉะนั้น ลองถามตัวเองดูสิว่า นอกจากการไถ่หน้าจอเพื่อติดตามข่าวสารบนโซเชียลเน็ตเวิร์ค การเล่นเกมออกไลน์ หรือการแชทตอบข้อความอย่างเอาจริงเอาจังแล้ว ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ นอกจอสี่เหลี่ยมที่คุณชื่นชอบอีกบ้างไหม อย่ารีบตอบว่า “ไม่!” เสียก่อนล่ะ ลองค่อย ๆ นึกดูว่า ยังมีสิ่งอื่นใดอีกบ้างที่ทำให้คุณมีความสุข เช่น ทำอาหาร ฟังเพลง ดูภาพยนตร์ เดินเล่น ออกกำลังกาย นั่งพูดคุยกับคนในครอบครัว หรือการเก็บกวาดเช็ดถู จัดห้องของตน เป็นต้น
  5. การนอนคือยาวิเศษ: ช่วงก่อนนอน เป็นช่วงเวลาที่หลาย ๆ คนตั้งใจอย่างเต็มที่ว่าจะใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อเสพข่าวสารบางข่าวที่ตกหล่น หรือตามตอบแชททุกคนที่เราค้างคาเอาไว้ และอื่น ๆ ชนิดที่ว่า ก่อนนอนนี่ล่ะ เวลาทองของการเล่นมือถือโดยที่ไม่มีใครรบกวน แต่รู้ไหมว่า พฤติกรรมเช่นนี้ถือเป็นความผิดมหันต์! เพราะเมื่อใดก็ตามที่คุณตั้งเป้าหมายเช่นนั้น เวลานอน 7-8 ชั่วโมงที่เหมาะสมต่อวันของคุณจะเหลือเพียง 4-5 ชั่วโมง หรือในบางรายอาจซ้ำรายไปกว่านั้น คือ เผลอไถ่เจ้าหน้าจอสี่เหลี่ยมจนโต้รุ่งไปเสียได้ ฉะนั้น คุณควรตระหนักเอาไว้ว่า การนอนคือช่วงเวลาที่ร่างกายสามารถพักฟื้นได้ดีที่สุด ความเหนื่อยล้า ความเจ็บป่วย และความอ่อนเพลียต่าง ๆ จะได้รับการเยียวยา

Fear of Missing Out ไม่ใช่โรคที่น่ากลัวหรืออันตรายร้ายแรง แต่เป็นโรคที่ค่อย ๆ กัดกินอารมณ์ที่สดใส จิตใจที่เบิกบาน และความเป็นตัวคุณอย่างช้า ๆ เราไม่อยากให้คุณถูกครอบงำด้วยสื่อโซเชียลฯและข่าวสารต่าง ๆ (ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของผู้อื่น) จนบางครั้งหลงลืมความสุขเล็ก ๆ ที่เกิดได้จากตัวคุณเอง...เชื่อเถอะ ลองหาเวลาที่เป็นของคุณและครอบครัว ลองหา “พื้นที่ส่วนตัว” ของคุณอันเป็นพื้นที่แห่งความสุข...ที่ปราศจากความวุ่นวายของผู้อื่น


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What Does FOMO Mean and How Do I Deal With It?. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/how-to-cope-with-fomo-4174664)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)