รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับยา Zoloft

รวมคำถามน่าสนใจ และข้อมูลเพิ่มเติมที่ควรรู้เกี่ยวกับยา Zoloft
เผยแพร่ครั้งแรก 13 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับยา Zoloft

ยาโซลอฟท์คืออะไร

ยาโซลอฟท์ (Zoloftเป็นชื่อทางการค้าของยาเซอร์ทราลีน (Sertraline) ซึ่งเป็นยาต้านโรคซึมเศร้าชนิดหนึ่งที่กำลังแพร่หลายในการรักษาผู้ป่วยด้านจิตเวช ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคตื่นตระหนก โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติทางจิตใจจากเหตุการณ์รุนแรง 

ซึ่งถึงแม้ว่ายาโซลอฟท์จะสามารถรักษาอาการทางจิตเวชได้ดี แต่ก็มีผลข้างเคียงบางอย่าง รวมถึงวิธีการใช้ยาที่ผู้ป่วยหลายคนยังอาจสงสัยเกี่ยวกับยาตัวนี้ เราจึงรวบรวมคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับยาโซลอฟท์พร้อมคำตอบมาเพื่อไขข้อกระจ่างเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หรือหากคุณต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับยาโซลอฟท์ รวมถึงข้อควรระวัง ผลข้างเคียง รวมไปถึงยากลุ่มอื่นๆ ที่ต้องระมัดระวังในการรับประทานร่วมกับยาโซลอฟท์ คุณสามารถเข้าไปอ่านข้อมูลได้ที่นี่ ด้วยเช่นกัน

1. ระหว่างที่รับประทานยาโซลอฟท์ จะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือไม่

คำตอบ: ใช่ เพราะภาวะน้ำหนักตัวขึ้น และความอยากอาหารที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยในยากลุ่มเอเอสอาร์ไอเอส (Selective Serotonin Reuptake Inhibitors: SSRIs) ซึ่งยาโซลอฟท์นั้นจัดเป็นยาที่อยู่ในกลุ่มยานี้ แต่หากผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการ หรือหากผู้ป่วยมีความกังวลเกี่ยวกับน้ำหนักตัวที่มากขึ้นจนรู้สึกกังวล ก็สามารถไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางออกเกี่ยวกับปัญหานี้ได้ และในทางกลับกัน ผู้ป่วยที่รับประทานยาโซลอฟท์บางท่านก็อาจมีผลข้างเคียงเป็นน้ำหนักตัวที่ลดลง รวมถึงมีอาการเบื่ออาหารได้ด้วยเช่นกัน

2. จะลดน้ำหนักได้อย่างไรในระหว่างที่รับประทานยาโซลอฟท์

คำตอบ: วิธีการลดน้ำหนักที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยาโซลอฟท์คือ การรับประทานอาหารที่เหมาะสม และมีการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ โดยอาหารที่รับประทานนั้นควรเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งประกอบไปด้วย ผัก ผลไม้ ธัญพืช ในปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกาย นอกจากนี้ผู้ป่วยยังต้องจำกัดอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาล น้ำมัน ไขมัน รวมทั้งอาหารปรุงแต่ง และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย

3. หากไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใดๆ หลังจากรับประทานยาเป็นเวลานาน ผู้ป่วยสามารถหยุดรับประทานยาได้หรือไม่

คำตอบ: บางครั้งผู้ป่วยอาจไม่ได้ตระหนักถึงผลการใช้ยาว่า ยาทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น เห็นได้จากผู้ป่วยหลายคนที่หยุดยาไปเอง หลังจากนั้นก็จะพบว่าที่แท้ยาโซลอฟท์ทำให้อาการป่วยของตนดีขึ้นจริง เพียงแต่ผู้ป่วยไม่ได้สังเกตตนเองมากพอเท่านั้น 

แต่อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยรู้สึกว่ายาโซลอฟท์ไม่ได้ทำให้อาการป่วยดีขึ้น ผู้ป่วยอาจพิจารณาลองปรับปริมาณยา หรือเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่นในการรักษาแทน แต่สิ่งสำคัญก็คือ ผู้ป่วยห้ามหยุดยาหรือเปลี่ยนปริมาณยาเองเป็นอันขาด เพราะการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการใช้ยาทุกชนิด ควรอยู่ภายใต้การพิจารณาจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ และควรมีการพูดคุยปรึกษากันก่อนหยุดยา หรือเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่น

4. ยาโซลอฟท์ทำให้ผมร่วงได้หรือไม่

คำตอบ: ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยในการรับประทานยาโซลอฟท์จะได้แก่ อาการวิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ความต้องการทางเพศลดลง คลื่นไส้ ท้องเสีย ปากคอแห้ง แต่สำหรับอาการผมร่วงนั้น ถือว่าเป็นผลข้างเคียงที่พบได้ไม่บ่อยในผู้ป่วยที่รับประทานยาโซลอฟท์ ดังนั้น หากผู้ป่วยมีอาการผมร่วงในระหว่างใช้ยาอย่างเห็นได้ชัด ก็ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาการดังกล่าวเพื่อที่แพทย์จะได้พิจารณาการใช้ยาแบบใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงการรักษาต่อไป 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แต่สิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยจะต้องเตรียมไปให้แพทย์ประกอบการวินิจฉัยก็คือ ข้อมูลเกี่ยวกับยาชนิดอื่นที่รับประทานร่วมกับยาโซลอฟท์ อาหารเสริม วิตามิน ผลิตภัณฑ์สมุนไพร หรือแม้แต่อาหารที่รับประทานในแต่ละวันก็เป็นอีกข้อมูลสำคัญที่ต้องเตรียมไปเช่นกัน เพราะเป็นไปได้ว่าอาการผมร่วงที่เกิดขึ้น อาจเกิดมาจากสารอาหารบางอย่างที่ผู้ป่วยรับประทานเข้าไป โดยไม่รู้ตัวว่าจะเกิดผลข้างเคียงก็ได้

5. การดื่มไวน์จะทำให้เกิดอาการซึมเศร้ามากขึ้นหรือไม่

คำถามนี้เกิดจากผู้ป่วยท่านหนึ่งมีอาการนอนไม่หลับระหว่างที่รับประทานยาโซลอฟท์ จึงหันไปพึ่งการดื่มไวน์เพื่อให้อาการดีขึ้น และมีข้อสงสัยว่าการดื่มไวน์ร่วมกับการประทานยาด้วย จะทำให้มีอาการซึมเศร้ามากขึ้นหรือไม่

คำตอบ: การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะส่งผลทำให้ประสิทธิภาพของสมาธิลดลง และยังทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้ นอกจากนี้ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังมีผลกระทบต่อการออฤทธิ์ของยาโซลอฟท์ด้วย ซึ่งได้แก่ อาการวิงเวียนศีรษะ ง่วงซึม คลื่นไส้และอาเจียน กระเพาะอาหารอักเสบ รวมทั้งอาจมีอาการประสาทหลอนได้ หากผู้ป่วยมีความกังวลเกี่ยวกับอาการนอนไม่หลับ ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีช่วยเหลือ และควรงดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปก่อนในระหว่างที่รับประทานยาโซลอฟท์ 

6. การรับประทานยาโซลอฟท์ จะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์อย่างไร

คำตอบ: ยาโซลอฟท์เป็นยาที่มีความปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์ในระดับซี (Pregnancy Category C) ซึ่งหมายถึง ตัวยามีโอกาสที่จะสร้างความผิดปกติต่อทารกในครรภ์ได้ แต่ทั้งนี้ การใช้ยาจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ว่าควรมีการจ่ายยาโซลอฟท์ในผู้ป่วยหญิงที่ตั้งครรภ์หรือไม่ หากแพทย์เห็นว่ายามีประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากกว่าความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ ผู้ป่วยก็อาจรับประทานยาได้

ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นกับทารกได้นั้น หากผู้ป่วยหญิงมีครรภ์อยู่ในไตรมาสที่ 3 และจำเป็นต้องใช้โซลอฟท์ประกอบการรักษาด้วย ผู้ป่วยอาจต้องนอนโรงพยาบาลและใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือมีการให้อาหารทางสายยาง อีกทั้งทารกที่ได้รับยาโซลอฟท์ในช่วงเวลานี้ ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะความดันเลือดในปอดสูงเมื่อเป็นทารกแรกเกิด ซึ่งภาวะนี้เป็นภาวะที่รุนแรง มีโอกาสที่เด็กจะเสียชีวิตได้สูงมาก ดังนั้น ส่วนมากแพทย์จะมีการพิจารณาลดปริมาณยาโซลอฟท์ให้กับผู้ป่วยหญิงที่ตั้งครรภ์ หรือให้มีการหยุดยาชั่วคราวเมื่อผู้ป่วยตั้งครรภ์ถึงไตรมาสที่ 3 เพื่อป้องกันความปลอดภัยต่อทารกในครรภ์

7. การรับประทานยาโซลอฟท์มีความปลอดภัยระหว่างให้นมบุตรหรือไม่

คำตอบ: ตัวยาโซลอฟท์ยังมีความเสี่ยงน้อยต่อทารกที่ดื่มนมจากมารดาอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม หากคุณเป็นคุณแม่มือใหม่ที่ต้องรับประทานยาโซลอฟท์ร่วมด้วยในระหว่างให้นมลูกน้อย คุณควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้กับทารกเพื่อความมั่นใจ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

8. มีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อขากรรไกรหลังจากรับประทานยาโซลอฟท์ ถือเป็นผลข้างเคียงปกติจากการใช้ยาหรือไม่

คำถามนี้มาจากผู้ป่วยท่านหนึ่งที่แพทย์ได้ให้รับประทานยาโซลอฟท์ในปริมาณ 50 มิลลิกรัมเป็นเวลา 7 วัน แต่หลังจากรับประทานไปได้ 5 วันก็เกิดปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อขากรรไกร และมีอาการกัดฟันอยู่ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน จนตอนนี้ขากรรไกรของผู้ป่วยเริ่มค้างและมีแผลเกิดขึ้น อีกทั้งมีความต้องการทางเพศลดลงด้วย จึงอยากทราบว่าอาการที่เกิดขึ้นดังกล่าวเป็นผลข้างเคียงปกติจากการใช้ยาโซลอฟท์หรือไม่

คำตอบ: มีผู้ป่วยที่รับประทานยาโซลอฟท์บางรายที่เกิดอาการกัดฟัน และบดเคี้ยวฟันในเวลากลางคืนเกิดขึ้นเช่นกัน ซึ่งไม่ใช่แค่ในผู้ป่วยที่ใช้ยาโซลอฟท์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงผู้ป่วยที่ใช้ยาตัวอื่นในกลุ่มยาเอสเอสอาร์ไอเอสเช่นเดียวกัน ซึ่งอาการกัดฟันและบดเคี้ยวฟันดังกล่าว เป็นสาเหตุทำให้ฟันสึกกร่อนและเกิดอาการปวดได้ ผู้ป่วยควรเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น ซึ่งแพทย์อาจมีการเปลี่ยนยาให้ 

ส่วนผลข้างเคียงเกี่ยวกับความต้องการทางเพศที่ลดลงนั้น เป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยอยู่แล้วในผู้ป่วยที่ใช้ยาในกลุ่มยาเอสเอสอาร์ไอเอส

9. หากหยุดใช้ยาทันที จะเกิดอะไรขึ้น

คำตอบ: การหยุดใช้โซลอฟท์ทันทีโดยไม่ปรึกษาแพทย์ มีโอกาสจะทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ทันที ได้แก่

  • รู้สึกหงุดหงิด
  • อยู่นิ่งไม่ได้ 
  • วิงเวียนศีรษะ
  • การรับรู้ของประสาทสัมผัสผิดปกติ
  • มีอาการวิตกกังวล
  • รู้สึกสับสน ไม่มีสมาธิ
  • ปวดศีรษะ
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • นอนไม่หลับ

ซึ่งโดยส่วนมากอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น แต่ในผู้ป่วยบางรายก็อาจเป็นผลข้างเคียงที่เกิดในระยะยาวและมีอาการรุนแรงได้เช่นกัน ซึ่งการหยุดยาโซลอฟท์ที่ถูกต้อง ควรเป็นการลดปริมาณยาลงทีละน้อยภายใต้การพิจารณาของแพทย์ แต่ในกรณีที่ป่วยไม่สามารถทนต่ออาการซึมเศร้าที่ยังเกิดขึ้นหลังหยุดยาได้ แพทย์ก็จะพิจารณาให้กลับมาใช้ยาปริมาณเท่าเดิม จากนั้นจึงค่อยๆ ปรับลดปริมาณยาลงทีละน้อยอีกครั้ง


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Common Questions About the Pharmacologic Management of Depression in Adults. American Academy of Family Physicians (AAFP). (https://www.aafp.org/afp/2015/0715/p94.html)
10 Questions About Antidepressants, Answered. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/hs/major-depression-health-well-being/antidepressant-questions/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีหาอุปกรณ์คลุมศีรษะโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างการทำเคมีบำบัด
วิธีหาอุปกรณ์คลุมศีรษะโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างการทำเคมีบำบัด

วิกผม หมวกมีปีก หมวกไหมพรม และผ้าพันคอที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่ม
ฉันสามารถทำ CPR ได้หรือไม่หากฉันยังไม่ได้รับประกาศนียบัตรผ่านการอบรม
ฉันสามารถทำ CPR ได้หรือไม่หากฉันยังไม่ได้รับประกาศนียบัตรผ่านการอบรม

มันไม่เหมือนการขับรถหรอกนะ : คุณไม่จำเป็นต้องได้รับใบรับรองหรอก

อ่านเพิ่ม