ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไต HD
เขียนโดย
ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไต HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

เลี่ยงได้เลี่ยง 7 สาเหตุโรคไต

พฤติกรรมที่ควรลด ละ เลี่ยง เพื่อให้สุขภาพไตที่ดี ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไต หรือ ไตวายเรื้อรัง
เผยแพร่ครั้งแรก 10 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 8 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 20 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เลี่ยงได้เลี่ยง 7 สาเหตุโรคไต

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคไต หมายถึง โรคที่ไตไม่สามารถขับของเสียและน้ำออกจากร่างกายด้วยการปัสสาวะได้ ส่งผลให้ของเสียและน้ำค้างอยู่ในเลือด ไตวายเรื้อรังบางสาเหตุอาจปรับเปลี่ยนหรือหลีกเลี่ยงได้ 
  • สาเหตุของโรคไตที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น การกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ การกินยาสมุนไพรอย่างไม่ระมัดระวัง เพราะอาจส่งผลต่อเลือดที่มาเลี้ยงไต
  • การดื่มน้ำน้อย ทำให้ปริมาณเลือดในร่างกายลดลงและส่งผลต่อไต การกินอาหารไขมันสูง อาจทำให้ไขมันไปสะสมที่ไต การกินอาหารเค็มจัด ทำให้ไตทำงานหนัก
  • การสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้ไตทำงานหนักขึ้นจากการพยายามขับแอลกอฮอล์ออก สารในบุหรี่เองก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตด้วย 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจไต

สาเหตุโรคไตมีหลากหลาย มีทั้งสิ่งที่ปรับเปลี่ยนได้และปรับเปลี่ยนไม่ได้ อย่างไรก็ตาม คนทั่วไปควรรู้ถึงสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดไตวายเรื้อรัง ซึ่งหากสามารถลด ละ เลี่ยง สาเหตุ หรือ ปัจจัยนั้นได้ เชื่อได้ว่าโอกาสที่จะปลอดภัยจากการเป็นไตวายเรื้อรังก็เป็นเรื่องที่มีความเป็นไปได้สูงทีเดียว

โรคไตคืออะไร?

โดยทั่วไป “โรคไต” หรือ “ไตวายเรื้อรัง” หมายถึง โรคที่ไตไม่สามารถขับของเสียและน้ำออกจากร่างกายด้วยการปัสสาวะได้ ส่งผลให้ของเสียและน้ำค้างอยู่ในเลือด 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

กรณีที่ผู้มีความเสี่ยงสูงของการเกิดโรคไตมีสาเหตุหรือปัจจัยส่งเสริมการเกิดโรคไตที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น เคยมีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคไตมาก่อน หรือเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่ส่งผลต่อการทำงานของไต เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจประเมินสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อเฝ้าระวังอาการเตือนของการเกิดไตวายเรื้อรัง เช่น มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ มีปริมาณของเสียคั่งในเลือดในระยะเริ่มต้น เป็นต้น

แต่สำหรับผู้ที่มีสาเหตุหรือปัจจัยส่งเสริมของการเกิดไตวายเรื้อรังจากสาเหตุที่ปรับเปลี่ยนได้ เช่น มีพฤติกรรมการนิยมรับประทานอาหารบางอย่าง ไม่ออกกำลังกาย ฯลฯ หากสำรวจตนเองและพบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดไตวายเรื้อรัง อย่าเพิ่งตกใจ เพราะหากคุณหลีกเลี่ยงหรือควบคุมปัจจัยเหล่านี้ได้ ก็อาจส่งผลให้ไม่เป็นไตวายเรื้อรัง หรือในผู้ที่เริ่มเป็นไตวายเรื้อรังระยะแรกๆ การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงจะสามารถชะลอการเสื่อมของไตไม่ให้เข้าสู่ไตวายเรื้อรังในระยะที่รุนแรงเพิ่มขึ้นได้

7 สาเหตุโรคไต มีอะไรบ้าง?

สาเหตุหรือปัจจัยส่งเสริมของการเกิดไตวายเรื้อรังที่สามารถปรับเปลี่ยนได้มีหลายประการ โดยส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนโดยทั่วไป ในที่นี่ จะกล่าวถึง 7 สาเหตุโรคไต ที่หากไม่ลด ละ เลี่ยง อาจนำไปสู่การเกิดไตวายเรื้อรังได้ ดังนี้

  1. กลั้นปัสสาวะบ่อยๆ สาเหตุโรคไตข้อนี้ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ โดยเฉพาะเพศหญิงและผู้สูงอายุ หากมีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะแบบเรื้อรัง จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำหน้าที่ของไตลดลง
  2. รับประทานยาหรือสมุนไพรอย่างไม่ระมัดระวัง เนื่องจากยาและสมุนไพรหลายชนิดส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดมาเลี้ยงไต หรือยาบางชนิดส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดที่ไต เช่น ยาแก้ปวดกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-Steroidal Anti-inflammatory Drugs (NSAIDs)) สำหรับการรับประทานยาสมุนไพรบางชนิด แม้จะมีการศึกษาพบว่าสามารถป้องกันการเกิดโรคไตได้ แต่หากรับประทานในช่วงเวลาหรือปริมาณที่ไม่เหมาะสม เช่น มีอาการไตวายเรื้อรังในระยะเริ่มต้นแล้ว แล้วรับประทานยาชนิดนี้ซ้ำ หรือ ร่างกายมีการตอบสนองต่อยาสมุนไพรนั้นๆ แตกต่างจากคนอื่น ก็อาจทำให้เกิดอันตรายต่อไตได้ ดังนั้น การรับประทานยา ไม่ว่าจะเป็นยาแผนปัจจุบันหรือสมุนไพร ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรทุกครั้ง
  3. ดื่มน้ำน้อย สาเหตุโรคไตข้อนี้ส่งผลให้ปริมาณเลือดในร่างกายลดลง ปริมาณเลือดที่ไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไต ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีความอ่อนไหว หากมีปริมาณเลือดไปเลี้ยงลดลงแม้เพียงเล็กน้อย จะส่งผลต่อการทำงานของไตอย่างรวดเร็ว
  4. รับประทานอาหารไขมันสูง สาเหตุโรคไตข้อนี้ส่งผลให้เกิดการสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือดทั่วร่างกาย สิ่งที่เป็นอันตราย คือ การมีไขมันสะสมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ สมอง และไต เพราะจะส่งผลให้เกิดการตีบแคบของหลอดเลือด มีปริมาณเลือดไหลเวียนมาที่อวัยวะนั้นลดลง และส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะนั้นๆ รวมถึงไต
  5. รับประทานอาหารรสเค็มจัด เนื่องจากอาหารรสจัดมีการใช้เครื่องปรุงแต่ละชนิดในปริมาณมาก เพื่อทำให้เกิดรสชาติที่เข้มข้น และแน่นอน เครื่องปรุงเหล่านั้นจะขาดเกลือหรือเกลือโซเดียม ไม่ได้ เกลือโซเดียมจะกระตุ้นให้ไตทำงานหนักขึ้น ส่งผลให้เพิ่มปริมาณเลือดไหลเวียนในร่างกาย ทำให้ไตทำงานลดลง
  6. สูบบุหรี่ สารในบุหรี่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือด หากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตมีการเปลี่ยนแปลง ย่อมส่งผลต่อปริมาณเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงไต ทำให้ไตทำหน้าที่ลดลงได้ นอกจากนี้ สารในบุหรี่อีกหลายตัวยังส่งผลต่อกระบวนการเผาผลาญของร่างกาย ส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังที่เป็นความผิดปกติจากการเผาผลาญ (Metabolic syndrome) เช่น เบาหวาน ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตเช่นกัน
  7. ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ สาเหตุโรคไตข้อนี้จะทำให้ร่างกายมีการสูญเสียน้ำมากขึ้น เนื่องจากแอลกอฮอล์เป็นตัวเร่งให้ร่างกายขับน้ำเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้ไตเสียหน้าที่จาก 2 สาเหตุ ได้แก่ เกิดการขาดน้ำ และไตทำหน้าที่มากกว่าปกติ

จากทั้ง 7 สาเหตุโรคไตข้างต้น เห็นได้ว่า ส่วนใหญ่เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเป็นปกติในการดำเนินชีวิตของแต่ละคน หลายครั้งผู้ปฏิบัติพฤติกรรมเหล่านี้อาจไม่ทันคิดว่าจะมีผลเสียร้ายแรง จนทำให้เกิดไตวายเรื้อรังได้ หรืออาจคิดว่าเป็นสิ่งที่ทำมาเป็นปกติจนชิน ไม่สามารถเลิกไป แต่แท้จริงแล้ว ไม่ว่าพฤติกรรมใด เคยทำมานานขนาดไหน ก็สามารถลด ละ เลี่ยงได้ หากผู้ปฏิบัติมีความตั้งใจอย่างจริง ซึ่งจะส่งผลดีต่อการลดโอกาสเกิดไตวายเรื้อรังได้

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจไต จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2555). คู่มือ การจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น. กรุงเทพฯ: ยูเนียนอุลตร้าไวโอเร็ต จำกัด.
มณีรัตน์ จิรัปปภา. (2557). การชะลอไตเสื่อมจากวัยผู้ใหญ่ถึงวัยสูงอายุ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 20(2): 5-16.
กล้าเผชิญ โชคบำรุง. (2555). แบบประเมินระดับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเสื่อม. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 35(1): 91-97.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)